วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

8.7 แนวทางการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้

0 comments
 

แนวทางการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ในการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขึ้นใช้เองโดยครูผู้สอนนั้น นับเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะครู ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ถึงความยากง่าย ความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การที่จะผลิตสื่อ ให้มีประสิทธิภาพ ต่อการเรียนรู้นั้นจะต้องมีกระบวนการผลิตที่มีขั้นตอนและมีระบบ เพื่อให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่าต่อการศึกษาสูงสุด ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรพิจารณาปัจจัยเพื่อการผลิตและพัฒนาสื่อดังต่อไปนี้
 
ปัจจัยทางด้านเนื้อหา
  1. สาระเนื้อหามีความซับซ้อน ผู้เรียนมีความเข้าใจแตกต่างกัน
  2. สาระเนื้อหาไม่สามารถอธิบายให้เกิดรูปธรรมได้
  3. สาระเนื้อหาวิชานั้นมีขั้นตอน มีกระบวนการที่ใช้เวลานาน
  4. สาระเนื้อหาวิชานั้นมีขั้นตอน มีกระบวนการที่ใช้เวลารวดเร็วเกินไป
  5. สาระเนื้อหาวิชานั้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนที่ผู้เรียนเมื่อเรียนรู้แล้ว มีความสามารถอะไรบ้าง
ปัจจัยทางด้านการผลิต
  1. เลือกประเภทหรือรูปแบบของสื่อที่จะผลิต : อาทิ ชุดการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิดีทัศน์
  2. ความพร้อมด้านสาระเนื้อหา
  3. ความพร้อมด้านเครื่องมือ และเทคโนโลยี
  4. ความพร้อมด้านผู้ผลิต/พัฒนา : อาทิ ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ นักวัดผล ช่างเทคนิค
  5. ความพร้อมด้านแผนการผลิต : ความเหมาะสมต่อวัยของการเรียนรู้ ลำดับขั้นตอนการสร้าง กระบวนการถ่ายทอดเนื้อหา การตรึงพฤติกรรม กิจกรรมการเรียนรู้
  6. ความพร้อมด้านงบประมาณ
ปัจจัยด้านการนำไปใช้งาน
  1. ความพร้อมของเครื่องมือ และเทคโนโลยีในการเรียนรู้
    อุปกรณ์ เครื่องมือที่นำมาใช้ประกอบการเรียนรู้
  2. ความพร้อมของสภาพแวดล้อม
    เสียง แสง
  3. ความพร้อมของผู้เรียนและครูผู้สอน
ปัจจัยทางด้านการเรียนรู้
  1. ลักษณะเฉพาะการเรียนรู้ของตัวสื่อ
    เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือควบคุมพฤติกรรม/ลำดับเนื้อหาโดยครูผู้สอน
  2. วิธีการใช้งาน
    ความ ยาก ง่าย การใช้ประกอบกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นของการใช้สื่อ
  3. กระบวนการเรียนรู้ การเข้าถึงและการถ่ายทอดเนื้อหา
  4. การซึมซับความรู้
  5. การตรึงพฤติกรรมต่อการเรียนรู้
นอกจากนี้ ครูผู้สอนควรจะได้ประเมินการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ว่า มีข้อบกพร่อง หรือส่วนใดที่ควรปรับปรุงแก้ไข เพื่อใจได้ดำเนินการวางแผนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
Readmore...

8.6 การใช้สื่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

0 comments
 

เพื่อให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอน ควรดำเนินการตามแนวทางดังนี้
1. เตรียมการก่อนใช้สื่อ
โดยศึกษารายละเอียดจากสื่อที่จะนำไปใช้กับผู้เรียนก่อนล่วงหน้า ซึ่งได้แก่การศึกษาเนื้อหาของสื่อว่าถูกต้อง เนื้อหาครบถ้วนตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ เนื้อหาสามารถที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงในชีวิตจริงของผู้เรียนได้มากน้อยเพียงใด ตลอดจนศึกษาวิธีการถ่ายทอด วิธีการใช้งานและองค์ประกอบทั้งหมดก่อนทำการใช้จริงๆ

2. จัดสภาพแวดล้อมในการใช้สื่อ
โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆอาทิ สถานที่จัดตั้ง หรือวางสื่อ ผลกระทบด้านแสงสว่าง ผลของเสียง ที่มีต่อผู้เรียน นอกจากนี้ หากต้องใช้ร่วมกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี ครูผู้สอนต้องเตรียมความพร้อมในด้านอุปกรณ์ ระบบ และวิธีการใช้สื่อให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการสอนจริง

3. เตรียมความพร้อมของผู้เรียน
ครูผู้สอนต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสื่อและเครื่องมือที่ใช้ร่วม ควรชี้แนะถึงสิ่งที่ผู้เรียนกำลังจะได้เรียนรู้ ตลอดจนบอก หรือกำหนดกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องทำ จึงจะเป็นส่วนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้

4. ใช้สื่อการเรียนรู้ตามวิธีการที่กำหนดไว้
ในขณะที่ดำเนินการใช้สื่อการเรียนรู้ ครูผู้สอนต้องสังเกตปฎิกริยาของผู้เรียน ว่าผู้เรียนมีการตอบสนองต่อการใช้สื่อนี้ อย่างไร อาทิ ความสนใจ ความตื่นตัวตั้งใจ การตรึงพฤติกรรมการเรียนรู้ ปฎิกริยาของผู้เรียนในเวลานั้น จะเป็นส่วนชี้วัดว่า สื่อการเรียนรู้และวิธีการนั้นมีความเหมาะสมกับผู้เรียนมากน้อยเพียงใด

5. ประเมินการใช้สื่อการเรียนรู้
ครูผู้สอนจะต้องเก็บผลการใช้สื่อ ต่อสภาพของการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีต่อวิธีการใช้สื่อการเรียนรู้ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ ว่ามีความเหมาะสมกับผุ้เรียนหรือไม่ อย่างไร โดยพิจารณาลักษณะทางกายภาพของสื่อและสาระเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามเป้าหมาย การประเมินจะช่วยในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดกาเรียนรู้ในครั้งต่อไปให้มีความเหมาะสม และสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
Readmore...

8.5 การเลือกใช้สื่อการศึกษาเพื่อการเรียนรู้

0 comments
 
ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อนำมาประกอบการจัดการศึกษา ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ตามสถานการณ์ ตามปัจจัยสภาพแวดล้อมต่อการเรียนรู้ ดังนั้นในการเลือกสื่อการศึกษานั้นจึงควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังนี้
 
  1. เลือกสื่อการศึกษาที่สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ของการเรียนการสอนเรื่องนั้นๆ
  2. เลือกสื่อการศึกษาที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนอง และพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น
  3. เลือกสื่อการศึกษาให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
  4. เลือกสื่อการศึกษาให้เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน สื่อการศึกษาที่จัดให้ผู้เรียนควรง่ายและอยู่ในขอบเขตความสามารถของผู้เรียน
  5. เลือกสื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ มีความสมบูรณ์ สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง
  6. เลือกสื่อการศึกษาที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อประหยัดเวลาและงบประมาณ
  7. เลือกสื่อการศึกษาที่พอจะหาได้โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ประหยัด และสามารถใช้ได้สะดวก
Readmore...

8.4 ประเภทของสื่อเพื่อ(การศึกษา) การเรียนรู้

0 comments
 
ประเภทของสื่อการศึกษา(การเรียนรู้)
สื่อการศึกษาแบ่งเป็นประเภทหลักๆ ได้ 4 ลักษณะ ดังนี้
(1) ตามช่องทางการส่งและรับสาร
(2) ตามโครงสร้างความคิด
(3) ตามโครงสร้างของสื่อ
(4) ตามชนิดของสื่อ

ประเภทตามช่องทางการส่งและรับสาร
 
สื่อการศึกษาที่แบ่งประเภทตามช่องทางการส่งและรับสาร มี 3 ประเภท ได้แก่
  1. สื่อโสตทัศน์
    ได้แก่ สื่อกราฟฟิก วัสดุลายเส้น และ แผ่นป้ายต่างๆ สื่อสามมิติประเภทหุ่นจำลอง และสื่อเสียง เช่น เทปเสียง เป็นต้น
  2. สื่อมวลชน
    ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์
  3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
    ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุสื่อสาร โทรทัศน์ ปฏิสัมพันธ์ ระบบประชุมทางไกล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ อินเตอร์เนต เป็นต้น

ประเภทสื่อการศึกษาตามโครงสร้างความคิด การแบ่งประเภทของสื่อการศึกษาตามโครงสร้างความคิด มี 2 ลักษณะ คือ
1. แบ่งตามลักษณะของประสบการณ์
2. แบ่งตามลักษณะการคิดของคน
1. การแบ่งประเภทสื่อการศึกษาตามลักษณะประสบการณ์
 
 
เอ็ดการ์ เดล เป็นคนแบ่งไว้มี 10 ประเภท (Dale, 1949) เริ่มแรกทีเดียวเขาแบ่งออกเป็น 11 ประเภท แต่ตอนหลังได้ปรับปรุงโดยรวมภาพยนตร์กับโทรทัศน์เป็นประเภทเดียวกัน จึงเหลือเป็น 10 ประเภท เรียกว่า “กรวยแห่งประสบการณ์” (Cone of Experiences) ตามลำดับจากรูปธรรมไปหานามธรรม ดังต่อไปนี้
  1. ประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนเจตนารับเป็นสื่อของจริง
    ได้แก่ วัตถุ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์จริงที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสื่อที่มีความจำเป็นต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เสนอปัญหา ขั้นการทดลอง และรวบรวมข้อมูล เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งขึ้นจากสถานการณ์การเรียนการสอน
  2. ประสบการณ์จากสถานการณ์จำลองและหุ่นจำลอง
    สื่อประเภทสถานการณ์จำลองหรือหุ่นจำลองนี้ สามารถเน้นประเด็นที่ต้องการหรือกำจัดส่วนเกินที่ไม่ต้องการจากของจริงได้ มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในกรณีที่ของจริงหายากมีราคาแพง มีอันตรายมาก ใหญ่โตเกินไป เล็กเกินไป สลับซับซ้อนเกินไป ฯลฯ
  3. ประสบการณ์นาฏการที่ผู้เรียนได้รับรู้การแสดงด้วยตนเองหรือการชมการแสดง
    เป็นสถานการณ์จำลองที่ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์และกระบวนการบางอย่างได้ดี
  4. ประสบการณ์จากการทดลองสาธิต
    เป็นประสบการณ์ที่ได้จากสื่อ ซึ่งอาจจะเป็นสถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์จริง แต่เป็นสื่อที่มีจำนวนน้อย จึงสาธิตให้ดูเป็นกลุ่ม เป็นประสบการณ์ที่จะต้องรับรู้พร้อม ๆ กัน เหมาะสำหรับการทดลองสาธิตให้ผู้เรียนสังเกตและรวบรวมข้อมูลพร้อมกันหลายคน
  5. ประสบการณ์ทัศนศึกษา
    เป็นประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการเรียนการสอนที่เป็นวัตถุ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์จริง แต่แทนที่จะเป็นการนำสื่อเข้ามาหาผู้เรียน ก็เป็นการนำผู้เรียนไปยังแหล่งของสื่อ เหมาะสำหรับการนำเข้าสู่ปัญหาหรือการสรุปบทเรียน เป็นการยืนยันข้อสรุปที่ได้จากการเรียนในห้องเรียน
  6. ประสบการณ์ที่ได้จากนิทรรศการ
    สื่อที่ให้ประสบการณ์ในลักษณะนี้อาจจะเป็นทั้งของจริงและสิ่งจำลองต่างๆ แต่จัดเรียงไว้ในรูปที่จะใช้ข้อมูลหรือเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของผู้จัด เหมาะสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนหรือขั้นการสรุปบทเรียน
  7. ประสบการณ์จากภาพยนตร์หรือโทรทัศน์
    เป็นประสบการณ์ที่ได้จากภาพและเสียงที่พยายามทำให้เหมือนกับประสบการณ์ตรงโดยเทคนิคการถ่ายทำ เหมาะสำหรับการเสนอเนื้อหา เสนอข้อมูลหรือการสรุปบทเรียน
  8. ประสบการณ์จากภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง
    สื่อประเภทนี้ให้ประสบการณ์ที่เป็นรายละเอียดในประเด็นที่ต้องการเน้นได้ โดยเทคนิคการถ่ายภาพ การอัดขยายและการบันทึกตัดต่อในกรณีที่เป็นเทปเสียง
  9. ประสบการณ์จากสื่อทัศนสัญลักษณ์
    ได้แก่ ภาพเขียนภาพลายเส้น วัสดุกราฟฟิกต่างๆ ที่สามารถเน้นโดยใช้รูปลักษณะและสีทำให้เกิดความสนใจในประเด็นที่ต้องการจะเน้น
  10. ประสบการณ์พจนสัญลักษณ์
    ได้แก่ สัญลักษณ์ สูตร ภาษา ตำราต่างๆ เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการนำเสนอเนื้อหา มโนมติ หลักการ ทฤษฎีหรือกฎบางอย่างได้ดี



2. การแบ่งประเภทสื่อการศึกษาตามลักษณะสื่อในกระแสความคิดของคน(ผู้เรียน)
การแบ่งประเภทของสื่อการศึกษาตามลักษณะสื่อในกระแสความคิดของผู้เรียนนี้ แบ่งตามทฤษฎีโครงสร้างของความคิด (Cognitive Structure) ของบรูเนอร์ (Bruner, 1966) ซึ่งอธิบายไว้ว่า คนเราจะเกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมได้โดยสิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ ปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ เร้าให้เกิดสื่อหรือสิ่งแทนในการะแสความคิดด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสามด้าน ได้แก่ ด้านกระทำ ด้านภาพ หรือด้านสัญลักษณ์ ดังนั้น สื่อในที่นี้จึงหมายถึงสื่อที่เป็นวัตถุหรือสถานการณ์กับสื่อที่เป็นลักษณะของความคิด ซึ่งอาจเทียบกับสื่อที่แบ่งประเภทตามแบบของ เอ็ดการ์ เดล ได้ดังนี้
  1. สื่อประเภทที่ก่อให้เกิดการกระทำ
    การเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้ ได้แก่ สื่อของจริง สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง นาฏการ การทดลองสาธิต และการศึกษานอกสถานที่
  2. สื่อประเภทที่ก่อให้เกิดภาพนึก
    ได้แก่ สื่อนิทรรศการ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ภาพนิ่ง วิทยุ และแผ่นเสียง
  3. สื่อประเภทที่ก่อให้เกิดการคิดนึกเป็นสัญลักษณ์
    ได้แก่ สื่อทัศนสัญลักษณ์และภาษา
นอกจากนี้ บรูเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งนำไปสู่การค้นพบและการแก้ปัญหา เรียกว่า การเรียนรู้โดยการค้นพบ (Discovery approach) ผู้เรียนจะประมวลข้อมูลข่าวสารจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจะรับรู้สิ่งที่ตนเองเลือก หรือสิ่งที่ใส่ใจ การเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้เกิดการค้นพบเนื่องจากผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้สำรวจสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบ โดยมีแนวคิดที่เป็นพื้นฐาน ดังนี้
1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
2. ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่ กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
 


สรุปได้ว่า บรูเนอร์ กล่าวว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ หรือการรู้คิด โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acting, Imagine และ Symbolizing ซึ่งอยู่ในขั้นพัฒนาการทางปัญญาคือ Enactive, Iconic และ Symbolic representation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต มิใช่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น บรูเนอร์เห็นด้วยกับ Piaget ที่ว่า มนุษย์เรามีโครงสร้างทางสติปัญญา(Cognitive structure) มาตั้งแต่เกิด ในวัยเด็กจะมีโครงสร้างทางสติปัญญาที่ไม่ซับซ้อน เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างทางสติปัญญาขยายและซับซ้อนเพิ่มขึ้น หน้าที่ของครูคือ การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเอื้อต่อการขยายโครงสร้างทางสติปัญญาของผู้เรียน


ประเภทของสื่อการศึกษาตามลักษณะโครงสร้างของสื่อ
ประเภทของสื่อการศึกษาตามลักษณะโครงสร้างของสื่อ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มเครื่องมือ-อุปกรณ์(hardware) และ กลุ่มโปรแกรม (software)
 
กลุ่มเครื่องมือ-อุปกรณ์(hardware)
ความหมายของฮาร์ดแวร์ตามพจนานุกรม หมายถึง เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เป็นโลหะและวัตถุเนื้อแข็ง อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ตลอดทั้งชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านี้ ความหมายของฮาร์ดแวร์ในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องกลไกและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่าฮาร์ดแวร์เป็นผลิตผลจากการประยุกต์ทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยวัสดุสิ้นเปลือง เครื่องมือและอุปกรณ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
  1. วัสดุ หมายถึง สิ่งที่ใช้งานร่วมกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาดำเนินกิจกรรมทางการศึกษา ซึ่งมีทั้งวัสดุพื้นฐาน ( กระดาษ หมึก สี แผ่นใส เป็นต้น) และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ ( CD-Rom DVD ฟีล์ม เทปเสียง/ภาพ)
  2. เครื่องมือ หมายถึง สิ่งของที่ใช้สร้างงานประกอบในกิจกรรมทางการศึกษา ทั้งที่ใช้ร่วมกับวัสดุ หรืออุปกรณ์
    ถ้าเป็นด้านเทคโนโลยีจะหมายถึง ชุดเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์, Flash memory, ไมโครโฟน, ลำโพง, จอภาพสัมผัส (Touch screen) เป็นต้น
    ถ้าเป็นเครื่องมือพื้นฐานจะหมายถึง ปากกา ดินสอ มีด คัตเตอร์ เป็นต้น
  3. อุปกรณ์
    ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษา อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ, เครื่องพิมพ์, เครื่องscanner, กล้องถ่ายภาพยนตร์หรือวิดีโอ, กล้องถ่ายภาพ analog/digital, เครื่องฉายภาพ video projector, visualizer, เครื่องบันทึกเสียงทั้งแบบ analog/digital, เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์....... เป็นต้น (ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์ในหลายรายการ ของกลุ่มนี้ได้มาถึงจุดสุดท้าย โดยได้มีพัฒนาการเปลี่ยนรูปแบบไป อาทิ เครื่องฉายสไลด์ ถูกแทนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ผนวกรวมกับเครื่องฉายภาพ video projector หรือ เครื่องฉายภาพทึบแสงถูกแทนที่ด้วย เทคโนโลยีของ visualizer เป็นต้น)

แต่ในความหมายหลักของคำว่า hardware ส่วนใหญ่จะหมายถึง ประเภทของอุปกรณ์(3)
 
กลุ่มโปรแกรม (software)
ซอฟต์แวร์เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในกลุ่มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จากการที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นประกอบจาก ชิ้นส่วน อุปกรณ์ และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ การที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามความต้องการนั้น จะต้องมีคำสั่งหรือภาษาสำเร็จรูปของเครื่องกำหนด ระบุหน้าที่จึงจะสั่งเครื่องคอมพิเตอร์ให้ทำงานหรือประมวลผลตามต้องการได้ วิธีการที่สร้างชุดคำสั่งหรือโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ และผลผลิตที่ได้เป็นโปรแกรมต่างๆ นี้เรียกว่าซอฟต์แวร์ นอกจากนี้ นักการศึกษา ยังได้ให้ความหมายของคำว่าซอฟต์แวร์ หมายถึง ลำดับขั้นตอน ระบบกระบวนการ โปรแกรมและวิธีการเก็บรวบรวม จัดแจง และการเสนอสารสนเทศทางการศึกษา ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น วัสดุสำเร็จรูป กิจกรรมและเกม และวิธีการ
 
 
 
ประเภทของสื่อการเรียนรู้ตามชนิดของสื่อ
 
สื่อการศึกษาที่แบ่งประเภทตามช่องทางการส่งและรับสาร มี 4 ประเภท ได้แก่
  1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึงสื่อการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองการเรียนรู้ตามหลักสูตร หรือสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วไป ได้แก่ หนังสือ- แบบเรียน คู่มือครู ชุดวิชา หนังสือประกอบการสอน หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านเพิ่มเติม แผนการสอน ใบงาน แบบฝึกหัดกิจกรรม หนังสือพิมพ์ วารสาร แผ่นพับ โปสเตอร์ เป็นต้น
  2. สื่อบุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และทักษะต่างๆ ให้กับผู้เรียน เช่น ครู ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน(แพทย์ พยาบาล นักกฎหมาย) ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์เฉพาะเรื่องหรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เป็นต้น
  3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม หมายถึงสื่อที่ผลิตหรือพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยี เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ แผ่นรายการเสียงหรือวิดีทัศน์รูปแบบ VCD/DVD แถบบันทึกเสียงหรือวิดีทัศน์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมหรือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ e-learning และ อินเทอรืเน็ต นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโทรศัพท์ที่กำลังพัฒนาไปสู่การศึกษาผ่านโทรศัพท์ที่เรียกว่า M-learning เป็นต้น
  4. สื่อกิจกรรม หมายถึงสื่อประเภทวิธีการที่ใช้ในการฝึกทักษะ ฝึกปฎิบัติ ซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฎิบัติ และการประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น สถานการณ์จำลอง บทบาทสมมุติ ทัศนศึกษา เกม การทำโครงงาน การจัดนิทรรศการ การสาธิต เป็นต้น
Readmore...

8.3 คุณลักษณะและความสำคัญของสื่อ(การศึกษา) การเรียนรู้

0 comments
 
คุณลักษณะของสื่อการเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมการสร้างความรู้ของผู้เรียน ช่วยส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มุ่งเน้นการพัฒนาการคิดของผู้เรียน เป็นสื่อที่หลากหลาย ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ ตลอดจนสิ่งที่มีตามธรรมชาติ เป็นสื่อที่อยู่ตามแหล่งความรู้ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยพัฒนาการร่วมทำงานเป็นทีม


การเรียนการสอนในยุคปัจจุบันไม่สามารถจะจำกัดเฉพาะ แต่ในห้องเรียนอีกต่อไปแล้ว พฤติกรรมทางการเรียนรู้และการจัดสถานการณ์ เพื่อให้เกิดกระบวนการทางการเรียนรู้ อาจจัดขึ้นในที่ใดๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และโอกาสเครื่องมืออย่างสำคัญ ที่จะช่วยให้การจัดสถานการณ์ทางการเรียนรู้มีประสิทธิผลที่จำเป็น ได้แก่สื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา หากขาดสิ่งดังกล่าวนี้แล้ว การจัดสถานการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ย่อมจะขีดวงจำกัดเข้ามาเป็นอย่างมาก สื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น สามารถสร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอันมาก อาจกล่าวได้ว่า โดยปกติจากขอบเขตจำกัด ทั้งเวลาและสถานที่ ถ้าหากว่ามีอุปกรณ์และเครื่องมือพร้อม ก็จะช่วยขจัดข้อจำกัดดังกล่าวได้

ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้
  1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและสร้างความคิดรวบยอดในเรื่อง ที่เรียนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
  2. ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นสิ่งที่กำลังเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
  3. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
  4. สร้างสภาพแวดล้อมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่แปลกใหม่
  5. ส่งเสริมการมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้เรียน
  6. เกื้อหนุนผู้เรียนที่มีความสนใจและความสามารถในการเรียน รู้ที่แตกต่างกันให้สามารถเรียนรู้ได้ทัดเทียมกัน
  7. ช่วยเชื่อมโยงสิ่งที่ไกลตัวผู้เรียนให้เข้ามาสู่การเรียนรุ้ของผู้เรียน
  8. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
  9. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ในหลายมิติจากสื่อที่หลาหลาย
  10. ช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเชิงเนื้อหา กระบวนการ และความรู้เชิงประจักษ์ ส่งเสริมให้เกิดทักษะ ได้แก่ ทักษะการคิด ทักษะการสื่อสาร
Readmore...

8.2 บทบาทของสื่อการเรียนรู้

0 comments
 
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีความมุ่งหมายที่จะให้การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาให้ประชากรชาวไทย มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังนั้นในการจัดการศึกษาจึงถือว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง พัฒนาตนเองได้


กระบวนการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
สื่อการเรียนรู้นับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื่องจากสื่อเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ ทำหน้าที่ ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก เพิ่มพูนประสบการณ์ สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทางความคิด ได้แก่ การคิดไตร่ตรอง การคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดจนสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมให้แก่ผู้เรียน (กรมวิชาการ, 2545 : 6) ดังนั้นสถานศึกษาจึงควรให้ความสำคัญในการใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ต่อผู้เรียนอย่างจริงจัง นอกจากนี้ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กล่าวถึงการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยระบุให้สถานศึกษา มีหน้าที่ จัดทำสาระของหลักสูตรเกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชน และสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นในการจัดทำสื่อการเรียนรู้จึงเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาด้วย เนื้อหาสาระใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ย่อมเป็นแนวทางและทิศทางสำคัญในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

บทบาทของสื่อ
  1. เป็นเวทีในการขยายข่อบข่ายประสบการ การเรียนรู้
  2. ทำหน้าที่เป็นเวทีในการเรียนรู้และสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน
  3. ทำหน้าที่เป็นแหล่งข่าวที่ทันสมัย
  4. เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับครูในการดำเนินการวิจัย การสอน และการพัฒนาผู้เรียน
  5. ช่วยให้ครูเอาชนะปัญหา และความยากลำบากในการสอนหรือการนำเสนอเรื่องราวแก่ผู้เรียน
  6. เป็นแหล่งสำคัญที่ครูผู้สอนและผู้เรียนได้ร่วมมือกันผลิตเพื่อวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
  7. เป็นสิ่งตรึงพฤติกรรมในการเรียนรู้ได้คงทน
  8. เป็นสิ่งที่พัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดต่อเนื่อง
  9. เป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เรียนมึความตั้งใจ
  10. ปรับปรุง ส่งเสริม ประสิทธิภาพของสื่ออื่นๆให้ดีขึ้น
Readmore...

8.1 ความหมายของสื่อเพื่อ(การศึกษา) การเรียนรู้

0 comments
 
ความหมายของสื่อ


เมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium") "สื่อ" (Media) เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า "medium" แปลว่า "ระหว่าง" หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุ ข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์

คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำใหชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"


นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้

Heinich และคณะ (1996)  Heinich เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร

" A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

ความหมายของสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
ความหมายของสื่อการสอน ได้มีนักวิชาการ และนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของ “ สื่อการสอน” ไว้หลายท่าน พอสรุปได้ ดังนี้


เชอร์ส (Shores. 1960 : 1) กล่าวว่า สื่อการสอนเป็นเครื่องมือช่วยสื่อความหมายใด ๆ ก็ตามที่จัดโดยครูและนักเรียน เพื่อเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ทรัพยากรจากชุมชน เป็นต้น

ฮาส และแพคเกอร์ (Hass and PacKer. 1964 : 11) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ ทัศนะคติ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งไปยังผู้เรียน หรือเป็นเครื่องมือประกอบการสอน ที่เราสามารถได้ยินและมองเห็นได้เท่า ๆ กัน

บราวน์ และคนอื่น ๆ (Brown and other. 1964 : 584) กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เฉพาะที่เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์ เป็นต้น

เกอร์ลัช และอีลี (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 :141 : อ้างอิงมาจาก Gerlach and Ely.) ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน คือ บุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น

ไฮนิคส์ โมเลนดาและรัสเซล (Heinich, Molenda and Russel. 1985 : 5) ให้ทัศนะเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นสไลด์โทรทัศน์วิทยุเทปบันทึกเสียงภาพถ่ายวัสดุฉาย และวัตถุสิ่งตีพิมพ์ซึ่งเป็นพาหนะในการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ เมื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอน หรือส่งเนื้อหาความรู้ไปยังผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า สื่อการสอน

เปรื่อง กุมุท (2519 : 1) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างดี

วาสนา ชาวหา(2522:59)กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึงสิ่งใดๆก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้การเรียนการสอนเป็นไป ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 4) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ชม ภูมิภาค (2526 : 5) กล่าวว่า สื่อการสอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการสอน เป็นพาหนะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529 : 112) ให้ความหมายของสื่อการสอนว่า คือวัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ใช้ไม่ผุพังง่าย) วิธีการ (กิจกรรม เกม การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พิมพ์พรรณ เทพสุมาธานนท์ (2531 : 29) กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับให้การสอนของครูกับผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้เป็นอย่างดี

สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึงวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

"สื่อการเรียนการสอน" (Instruction Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามที่บรรจุเนื้อหา หรือสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เนื้อหา หรือ สาระนั้น ๆ
Readmore...

7.10 การจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้

0 comments
 


ปัจจัยพื้นฐานคือการสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสมรรถนะและจำนวนเพียงต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลา จะเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติมคือ

1. ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ปัจจัยที่จะผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า คือการที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์และจากสื่อ Electronic เช่น จาก Web Sites เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการทำโครงงานอิสระสนองความสนใจ เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกปฏิบัติจาก Software สำเร็จรูป เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2. ครูและผู้เรียนจัดทำแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็นตัวเสริมที่สำคัญ ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครูและผู้เรียน ควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับหลักสูตร หรือสนองความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็น Software ชื่อของ Web Sites รวมถึงการลงทุนจัดซื้อ Software จากแหล่งจำหน่าย การจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญจัดทำ หรือร่วมจัดทำพัฒนาสาระ เนื้อหาขึ้นมาเองโดยครูและนักเรียน

 

3. สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ( Learning Resources Center ) เป็นตัวชี้วัดสำคัญประการหนึ่งของศักยภาพของสถานศึกษา ที่จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครูและผู้เรียน ปกติมักนิยมจัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด จนเกิดคำศัพท์ว่า ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E – Library) จะมีคุณประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษา ค้นคว้า วิทยาการสาขาต่างๆ ทั้งในลักษณะสื่อสำเร็จรูปที่จัดเก็บอยู่ในรูปไฟล์ข้อมูล หรือแผ่น CD – Rom (DVD) หรือ รายชื่อของ Web Sites ต่างๆ ซึ่งควรจัดทำระบบ Catalog และดัชนีรายการให้สะดวกต่อการสืบค้น

 

4. ส่งเสริม สนับสนุน การให้บริการทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
สถานศึกษาควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษา ด้วยการระดมแนวคิด รวมถึงการแสวงหา Resources ต่างๆ มีหน่วยงานกลางรองรับการบริหาร จัดการ เพื่อให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศในด้านต่างๆ เช่น แนะนำSoftwareสำหรับใช้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ แนะนำเทคนิคการพัฒนาสื่อที่น่าสนใจ แนะนำWeb Sitesใหม่ๆ พร้อมสาระเนื้อหาโดยย่อ จัดทำคลังข้อมูลความรู้ Knowledge Bank เพื่อการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ผ่านสื่อต่างๆ หรือผ่านเครือข่ายภายใน หรือแนะนำในการประชุมของคณะครู หรือสื่อทางไกลอื่นๆ นอกจากนี้การรวบรวมผลงานของครูและนักเรียน ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Best Practices จะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับครูและนักเรียนในสถานศึกษาอื่นๆ ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
Readmore...

7.9 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

0 comments
 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่


1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การ จำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญ และจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ

สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns), นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology), ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง, ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี


นอกจากนี้ปัจจัยอื่นๆที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้นสรุปได้ดังนี้ คือ
1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาท และความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ
Readmore...

7.8 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการจัดการศึกษาของไทย

0 comments
 
 
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาท ในการพัฒนาในเกือบทุกๆด้าน ไม่ว่าในด้านธุรกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านการทหารและความมั่นคง ด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร ดังจะเห็นได้ว่า หน่วยงานธุรกิจส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหาร การจัดการในองค์กร อีกทั้งเพิ่มระดับความสำคัญมากขึ้นในแต่ละปี มีการจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งไว้ เพื่อการจัดการกับข้อมูลสารสนเทศเป็นการเฉพาะ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อวางกลยุทธ์หาความได้เปรียบในตลาดโดยรวม อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิต รวมถึงใช้เป็นช่องทาง สำหรับเผยแพร่สารสนเทศขององค์กรมากขึ้นด้วย
ในส่วนของการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็มีบทบาทที่สำคัญในส่วนของการเป็นทั้งเครื่องมือหลัก และเครื่องมือสนับสนุนที่ต้องจัดหา และนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เป็นไปตามลักษณะการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ การกำหนดทิศทางและนโยบายการจัดการศึกษาไทย จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานในอนาคต ซึ่งเราจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการผลิต นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ เหล่านี้ล้วนมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีการเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอน และปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี จะต้องประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานด้านช่องทางและสื่อ ดังต่อไปนี้
  
  1. เทคโนโลยีโทรคมนาคม (E-communication) 
    เทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่สำคัญได้แก่ การสื่อสารผ่านดาวเทียม เครือข่ายความถี่การสื่อสาร เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง เครือข่ายคอมพิวเตอร์



  2. ระบบการสอนผ่านจอภาพ (On -Screen Interactive Instruction)
    ระบบการสอนผ่านจอภาพที่สำคัญได้แก่ การสอนด้วยคอมพิวเตอร์ การสอนด้วยโทรทัศน์ปฏิสัมพันธ์ การสอนด้วยการประชุมทางไกล การสอนด้วยเครือข่ายโลก




  3. ระบบสื่อตามต้องการ (Media On Demand)
    เช่น สัญญาณภาพตามต้องการ เสียงตามต้องการ บทเรียนตามต้องการ เป็นต้น










  4. ระบบฐานความรู้ (Knowledge-Based System)
    เป็นระบบที่พัฒนาต่อยอดมาจากระบบฐานข้อมูล ซึ่งรวบรวม และจัดเรียงเนื้อหาข้อมูลตามลำดับที่มีกฎเกณฑ์ตายตัวโดยใช้คำไข (Key word) เป็นตัวค้นและตัวเรียกข้อมูล ส่วนฐานความรู้จะจัดข้อมูลไว้หลากหลาย เช่น ตามประเภทของหลักสูตร ตามกลุ่มอายุของผู้ใช้ ตามประเภทของวัตถุประสงค์ของการใช้ เป็นต้น การทำงานของฐานความรู้จะต้องทำงานประสานกันอย่างน้อย 3 ระบบได้แก่ ระบบสื่อสาร ระบบสารสนเทศ และระบบเหตุผล เพื่อให้สามารถค้นหาและเรียกข้อมูล หรือความรู้ที่ตอบสนองตรงกับอายุ ตามความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน
และหากจะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในลักษณะที่ชัดเจนที่สุดนั้น จะอยู่ในรูปลักษณ์ของสื่อต่างๆ ที่รวมเรียกว่า สื่อการศึกษา ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในวงการศึกษาแล้วว่าสื่อการศึกษา โดยเฉพาะสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้กลไกการจัดการศึกษา การเรียนรู้ สามารถส่งผลโดยตรงให้กับผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว ได้อย่างกว้างขวางและเป็นผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ได้มากที่สุด อาจจะสรุปได้ว่าสื่อการศึกษา สามารถส่งผลต่อการเรียนรู้และการศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้
  1. ด้านคุณภาพการเรียนรู้ สื่อการศึกษาจะสามารถช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
  2. ในด้านเวลาผู้เรียนผ่านสื่อสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น
  3. การตรึงพฤติกรรมการเรียนรู้ สื่อการศึกษาสามารถสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจได้เป็นอย่างดี
  4. การมีส่วนร่วมการเรียน ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
  5. ความทรงจำต่อสาระเนื้อหา การเรียนรู้จากสื่อการศึกษาจะทำให้ผู้เรียนจำได้นาน เรียนรู้ได้เร็วและดีขึ้น
  6. ความเข้าใจในสาระ ผู้เรียนมีประสบการณ์ความเข้าใจจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม
  7. สื่อการศึกษาสามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆได้ เช่น
  • ทำสิ่งที่ซับซ้อนหรือมีหลากหลายมุมมองให้ดูง่ายขึ้น
  • ทำสิ่งที่อยู่ในลักษณะนามธรรมสร้างให้เกิดรูปร่างเป็นรูปธรรม
  • ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
  • ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้ดูเร็วขึ้น
  • ทำสิ่งที่มีขนาดใหญ่มากให้ลดขนาดหรือย่อขนาดลง
  • ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
  • นำข้อมูลย้อนเวลาจากอดีตนำมาศึกษาเรียนรู้ได้
  • นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลึกลับมาวิเคราะห์ศึกษาได้
Readmore...

7.7 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

0 comments
 
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้ (จอห์น ไนซ์บิตต์ อ้างถึงใน ยืน ภู่วรวรรณ)

ประการที่หนึ่ง
เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ

ประการที่สอง
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์

ประการที่สาม
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว

ประการที่สี่
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง

ประการที่ห้า
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา

ประการที่หก
เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น


ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มี 5 ประการ (Souter 1999: 409) ได้แก่

ประการแรก
การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

ประการที่สอง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก

ประการที่สาม

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง

ประการที่สี่

เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น

ประการที่ห้า

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก

กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของกระบวนการจัดการศึกษา ในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อความสำเร็จของการจัดการศึกษา
Readmore...

7.6 องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

0 comments
 
ในส่วนขององค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้หากพิจารณาได้ใน 2 ลักษณะ คือ
1. องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงเทคโนโลยี
2. องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงระบบ

1.องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงเทคโนโลยี
จะประกอบด้วยเทคโนโลยี 2 สาขาหลัก คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

  1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  2. คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)
  3. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
  4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อ สื่อสาร รับ-ส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น


2.องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงระบบ
จะพบว่าระบบสารสนเทศจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่างที่จะนำพาให้ระบบสารสนเทศทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มี 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคคลากร ระเบียบปฏิบัติการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึงเครื่อง(ระบบ)คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

  1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input)
  2. เป็นส่วนสำหรับสร้างข้อมูลอักขระ(ตัวเลข ตัวอักษร คำสั่ง) ผ่านแป้นพิมพ์หรือ Keyboard กำหนดคำสั่งสำเร็จรูปผ่านเมาส์ หรือประมวลแปลผลจากภาพเป็นข้อมูลด้วย Scanner หรือการอ่านรหัสข้อมูลแถบเส้นด้วย Bar Code Reader เป็นต้น
  3. อุปกรณ์แสดงข้อมูล (Output)
    เป็นส่วนแสดงผลข้อมูล ที่จะปรากฎในรูปที่มองเห็นผ่านจอภาพ (Monitor) หรือในรูปของเอกสารผ่านเครื่องพิมพ์ (Printer) หรือถูกส่งผ่านอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ อาทิ เครื่อง projector
  4. หน่วยประมวลผลกลาง
    หรือที่เรียกว่า CPU (Central Processing Units) มีหน้าที่รับข้อมูลจากส่วนอินพุตเข้ามาประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การย้าย การปรับปรุงข้อมูลตามคำสั่ง แลัวส่งผลที่ได้ออกไปยังส่วนของเอาท์พุตตามที่กำหนดไว้
  5. หน่วยความจำหลัก
    มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่ใช้ในการทำงาน ข้อมูลนี้ มีทั้งข้อมูลที่ถูกติดตั้งเป็นข้อมูลระบบ ข้อมูลแลำคำสั่งโปรแกรมทำงานด้านต่างๆ และข้อมูลผลลัพธ์จากการประมวลผล จากการคำนวน ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกนำเข้าจากอุปกรณ์รับข้อมูลภายนอก หรือจากการทำงานประมวลผลจากโปรแกรมภายในเครื่อง หน่วยความจำหลักที่รู้จักกันดี จะรู้จักในชื่อของ harddisk
  6. หน่วยความจำสำรอง
    หรือที่รู้จักในชื่อของ RAM ซึ่งย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลซึ่ง RAM นี้ จะต้องมีไฟเข้าเลี้ยงภายใน Module ของ RAM ตลอดเวลา ลักษณะจะเป็นแผงวงจร หรือ Circuit Board ขนาดเล็กที่เรียกว่า IC
    ปัจจุบันเทคโนโลยีของหน่วยความจำมี 2 แบบ คือ
    5.1) หน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM
    5.2) หน่วยความจำแบบ Rambus

2.2 ซอฟต์แวร์ (Software)

หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นับได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงาน การกำหนดคำสั่งให้ชิ้นส่วน อุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
  1. Operating System
    หรือจะเรียกรวมว่า ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows ระบบปฏิบัติการ UNIX ระบบปฏิบัติการ Linux เป็นต้น
  2. Application
    หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้ และเพื่อใช้สนับสนุนการจัดการทั่วไป (Word Processing, Spreadsheet.) ด้านการเชื่อมโยงการสื่อสาร (web browser หรือ Messenger หรือ e-mail) หรือเป็นโปรแกรมพิเศษที่ถูกเขียนหรือพัฒนาขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านหนึ่งๆ ตามลักษณะความต้องการ(โปรแกรมจัดการร้านค้า โปรแกรมควบคุมสินค้า หรือ โปรแกรม Karaoke)

  
2.3 ข้อมูล(Data)
คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงาน และการปฏิบัติการทึ่ต้องเก็บรวบรวมไว้เพื่อใช้ประกอบการอ้างอิง การตัดสินใจและการปฏิบัติงาน ข้อมูลจะมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบมีแบบแผนมาตรฐาน เพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
ข้อมูล (DATA) คือข้อมูลต่าง ๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลคำนวณ หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้กลายเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ปัจจุบันเราถือกันว่าข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์
ชนิดของข้อมูล (Types of Data)
เราสามารถแบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้ (Alter 1996 : 151-152, Stair and Reynolds 2001 : 5)
  1. ข้อมูลที่เป็นอักขระ (Alphanumeric Data)
    ได้แก่ ตัวเลข (Numbers) ตัวอักษร (Letters) เครื่องหมาย (Sign) และ สัญลักษณ์ (Symbol)
  2. ข้อมูลที่เป็นภาพ (Image Data)
    ได้แก่ ภาพกราฟิก (Graphic Images) และรูปภาพ (Pictures)
  3. ข้อมูลที่เป็นเสียง (Audio Data)
    ได้แก่ เสียง (Sounds) เสียงรบกวน/เสียงแทรก (Noise) และเสียงที่มีระดับ (Tones) ต่างๆ เช่น เสียงสูง เสียงต่ำ เป็นต้น
  4. ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
    ได้แก่ ภาพยนตร์ (Moving Images or Pictures) และ วีดิทัศน์ (Video)
    นอกจากนั้นยังพบว่ามีข้อมูลในลักษณะของกลิ่น (Scent) และข้อมูลในลักษณะที่มีการประสมประสานกัน เช่น มีการนำเอาข้อมูลทั้ง 4 ชนิดมารวมกันเรียกว่า สื่อประสม (Multimedia) แต่ถ้ามีการประสมข้อมูลที่เป็นกลิ่นเข้าไปด้วย เราเรียกว่า Multi-scented
  
2.4 บุคลากร (People)
ก็คือ กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด มีตั้งแต่ระดับผู้ใช้งานทั่วไป ผู้บริหารองค์กร หน่วยงาน ผู้พัฒนาและวิเคราะห์ระบบ ผู้ควบคุมระบบ และนักเขียนโปรแกรม ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ ซึ่งสามารถจำแนกคร่าว ๆ ได้ 3 กลุ่มดังนี้
  1. Analysis
    หรือ นักวิเคราะห์ระบบ ทำหน้าที่วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของระบบในองค์กรเพื่อนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  2. Programmer
    หรือนักพัฒนาโปรแกรม ( คนเขียนโปรแกรม ) ทำหน้าที่สร้าง พัฒนาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์
  3. User
    หรือเรียกว่าผู้ใช้งานโปรแกรม
ในแต่ละองค์กรหากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะเข้าถึง เพื่อการใช้งานระบบ สารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคล ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงาน ได้เองตามต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์การที่มีความซับซ้อนมากอาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขา คอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน
2.5 ระเบียบปฎิบัติการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน(Procedure)
เป็นระเบียบวิธีการเข้าถึงข้อมูลของเครื่อง ข้อมูลส่วนรวม การใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติงานในแต่ละโปรแกรม) การใช้งาน(ข้อมูล)เครือข่าย การดูแลรักษา การปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วย พรบ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องมีความรู้ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อพัฒนาการความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คำอธิบายคำว่า ระบบ หมายถึง ส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นโดยองค์ประกอบเหล่านั้น สามารถทำงานได้อย่างอิสระ แต่มีปฏิสัมพันธ์ในการดำเนินงาน เพื่อแก้ปัญหาหรือช่วยให้การทำงานนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สารสนเทศ สามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคน ซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน (wiki)
Readmore...

7.5 ลักษณะเฉพาะของสารสนเทสเพื่อการเรียนรู้

0 comments
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน จัดการ และใช้ง่านร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

 
อิทธิพลของตัวแปรภายนอกจะมีผลต่อความเชื่อ ทัศนคติ และความสนใจที่จะใช้เทคโนโลยี หรือ คอมพิวเตอร์ (Davis et al. 1989, Legris et al. 2003). ความเชื่อในขั้นต้น 2 อย่างที่ส่งผลต่อการนำระบบมาใช้คือ การรับรู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับ จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นระบบที่ง่ายต่อการใช้งาน สามารถแบ่งเบาภาระงานได้ สะดวกสบายขึ้น (Davis 1989,Davis et al. 1989, Igbaria and Tan 1997).

 
แนวคิดดังกล่าวถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง เป็นแบบแผนในการตัดสินใจที่ประสบผลสำเร็จ ในการพยากรณ์การยอมรับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของแต่ละบุคคล ในเรื่องของประโยชน์ที่เขาจะได้รับ และการใช้งานที่ง่ายจะก่อให้เกิดพฤติกรรมในการสนใจที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้มีการนำมาใช้และยอมรับในเทคโนโลยี (Davis 1989, Davis et al. 1989, Adams et al. 1992, Venkatesh and Davis 1996). เพราะความมีประโยชน์จะเป็นตัวกำหนดการรับรู้ในระดับบุคคล คือ แต่ละคนก็จะรับรู้ได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของเขาได้อย่างไรบ้าง ส่วนความง่ายในการใช้ จะเป็นตัวกำหนดการรับรู้ในแง่ของปริมาณหรือความสำเร็จที่จะได้รับว่าตรงกับที่ต้องการหรือไม่ งานจะสำเร็จตรงตามที่คาดไว้หรือไม่ (Davis 1989,Davis et al.1989, Venkatesh and Davis 1996).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 ได้บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรา 81 ที่เน้นให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมให้ประชาชน เกิดความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งเป็นที่มาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ คือ (1) ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทย (2) ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อความเข้มแข็งของคนไทย (3) ปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ยุคโลกาภิวัฒน์ (4) ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคมไทย โดยเฉพาะการปฏิรูปการเรียนรู้ตามข้อ (3) และ (4) จะเป็นไปได้นั้นจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยียุคสังคมข่าวสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อหลัก

 
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี (Characteristics of Information)
สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ (Alter 1996 : 170-175, Stair and Reynolds 2001 : 6-7, จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ 2544 : 12-15, ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล 2545 : 41-42 และทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ 2545 : 12-15)

  1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
  2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตาม ความต้องการของผู้ใช้
  3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
  4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
  5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
  6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
  7. ต้องมีความยึดหยุ่น (Flexible) สามารถในไปใช้ในหลาย ๆ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
  8. สารสนเทศที่ดีต้องมีรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
  9. สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับความต้องการ (Relevant/Precision) ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
  10. สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น เป็นสารสนเทศที่ได้มาจากกรรมวิธีรวบรวมที่น่าเชื่อ ถือ หรือแหล่ง (Source) ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
  11. สารสนเทศที่ดีควรมีความปลอดภัย (Secure) ในการเข้าถึงของผู้ไม่มีสิทธิใช้สารสนเทศ
  12. สารสนเทศที่ดีควรง่าย (Simple) ไม่สลับซับซ้อน มีรายละเอียดที่เหมาะสม (ไม่มากเกินความจำเป็น)
  13. สารสนเทศที่ดีต้องมีความแตกต่าง หรือประหลาด (Surprise) จากข้อมูลชนิดอื่น ๆ
  14. สารสนเทศที่ดีต้องทันเวลา (Just in Time : JIT) หรือทันต่อความต้องการ (Timely) ของผู้ใช้ หรือสามารถส่ง ถึงผู้รับได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
  15. สารสนเทศที่ดีต้องเป็นปัจจุบัน (Up to Date) หรือมีความทันสมัย ใหม่อยู่เสมอ มิเช่นนั้นจะไม่ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
  16. สารสนเทศที่ดีต้องสามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable) หรือตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่ง ได้ว่ามีความถูกต้อง

 
นอกจากนั้นสารสนเทศมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากสินค้าประเภทอื่น ๆ 4 ประการคือ ใช้ไม่หมด ไม่สามารถ ถ่ายโอนได้ แบ่งแยกไม่ได้ และสะสมเพิ่มพูนได้ (ประภาวดี สืบสนธ์ 2543 : 12-13) หรืออาจสรุปได้ว่าสารสนเทศ ที่ดีต้องมีคุณลักษณะครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเวลา (ทันเวลา และทันสมัย) ด้านเนื้อหา (ถูกต้อง สมบูรณ์ ยึดหยุ่น น่าเชื่อถือ ตรงกับ ความต้องการ และตรวจสอบได้) ด้านรูปแบบ (ชัดเจน กะทัดรัด ง่าย รูปแบบการนำเสนอ ประหยัด แปลก) และด้าน กระบวนการ (เข้าถึงได้ และปลอดภัย)

 
เหตุผล 5 อันดับแรกของความสำเร็จ
  • ผู้ใช้มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • ได้รับการสนับสนุนการจัดการจากผู้บริหารระดับสูง
  • กำหนดความต้องการที่ชัดเจน
  • การวางแผนอย่างเหมาะสม
  • การคาดหวังที่สามารถเป็นจริงได้
เหตุผล 5 อันดับแรกของความล้มเหลว
  • ขาดบุคลากรในการให้ข้อมูล
  • กำหนดความต้องการที่ไม่สมบูรณ์
  • มีการเปลี่ยนความต้องการ
  • ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง
  • เทคโนโลยีที่ขาดประสิทธิภาพ
Readmore...
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

7.4 นิยาม ความหมาย และความสำคัญ : สารสนเทศการศึกษา

0 comments
 
ความหมายของสารสนเทศ 
  • สารสนเทศ อ่านว่า สาระ-สน-เทศ
  • สาร หรือ สาระ เป็นคำประกอบหน้าคำ แปลว่า สำคัญ
  • สนเทศ หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก
  • สารสนเทศ จึงหมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
  • สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information
  • คำว่า Information นั้น พจนานุกรมเวบสเตอร์ ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า
  • สารสนเทศ เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ จึงได้มีการประมวลความหมายของสารสนเทศไว้ใกล้เคียงกัน
  • สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า
  • สารสนเทศ คือข้อมูลที่ได้รับการประมวลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อผู้รับ และมีทั้งคุณค่าอันแท้จริง หรือที่คาดการณ์ว่าจะมีสำหรับการดำเนินงานหรือการตัดสินใจในปัจจุบันและอนาคต
  • สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบมาคำนวณทางสถิติ หรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที
  • สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีการปรับเปลี่ยน (Convert) ด้วยการจัดรูปแบบ (Formatting) การกลั่นกรอง (Filtering) และการสรุป (Summarizing) ให้เป็นผลลัพธ์ที่มี รูปแบบ (เช่น ข้อความ เสียง รูปภาพ หรือวีดิทัศน์) และเนื้อหาที่ตรงกับ ความต้องการ และเหมาะสมต่อการนำไปใช้ (Alter 1996 : 29, 65, 714)
  • สารสนเทศ คือ ตัวแทนของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล (Process) การจัดการ (Organized) และการผสมผสาน (Integrated) ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Post 1997 : 7)
  • สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีความหมาย (Meaningful) หรือเป็นประโยชน์ (Useful) สำหรับบางคนที่จะใช้ช่วยในการปฏิบัติงานและการจัดการองค์การ (Nickerson 1998 : 11)
  • สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีความหมาย (Schultheis and Sumner 1998 : 39)
  • สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีความหมายเฉพาะภายใต้บริบท (Context) ที่เกี่ยวข้อง (Haag, Cummings and Dawkins 2000 : 20)

สารสนเทศ (information)[จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี]
เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการ และการจัดการข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
 
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
 
สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล
 
 
 โดยสรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียง สัญลักษณ์ หรืออื่นๆ ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยวิธีการที่ เรียกว่า กรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data Manipulation) และผลที่ได้อาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของสื่อประเภทต่าง เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ สื่อเชิงแสงประเภท ซีดีรอม ดีวีดี และเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ
Readmore...

7.3 นิยาม ความหมาย และความสำคัญ : เทคโนโลยีสารสนเทศ

0 comments
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ


จากความหมายของคำว่า เทคโนโลยี และ สารสนเทศ เมื่อนำมารวมกันจะเกิดคำใหม่ที่เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล รวมถึงการเผยแพร่สารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ IT

เทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากการรวมตัวของ2 องค์ประกอบหลัก คือ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร(เทคโนโลยีเครือข่าย และเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล) เข้าด้วยกัน

เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์


โดยเฉพาะเทคโนโลยีในระบบดิจิตอลซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการเริ่มต้นมาจากทรานซิสเตอร์ (Transistor) สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) จนถึงวงจรรวมสารกึ่งตัวนำขนาดใหญ่มาก (Very large scale integration (VLSI) semiconductors) หรือที่รู้จักในชื่อของ IC(integrated circuit) หรือ microcircuit หรือ microchip หรือ silicon chip หรือ chip
พัฒนาการนั้นส่งผลให้มีการเพิ่มอัตราส่วนของราคา และคุณภาพรวมทั้งขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงแต่มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น โดยอัตราส่วนของราคาและคุณภาพ (Performance and Price Ratio) ดังกล่าวโดยเฉลี่ยแล้วจะมีการเพิ่มขึ้นทุกๆ 18 เดือน ส่งผลให้สถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture) เปลี่ยนจาก host-based time sharing ไปยัง networked client-server systems เช่นเดียวกับที่ข้อจำกัดในการเก็บ (Storage) และการส่งผ่านข้อมูล (Transmission) ลดลงไปทุกขณะ


เทคโนโลยีการสื่อสาร  
  • เทคโนโลยีเครือข่าย
    โดยเฉพาะเครือข่าย Integrated services digital network : ISDN ที่วางมาตรฐานสำหรับการรวมเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายข้อมูลที่เคยแยกกัน บริการเสียงและข้อมูลจะถูกรวม (Integrated) บนเครือข่าย ISDN เนื่องจากทั้งเสียงและข้อมูลจะได้รับการแปลงเป็นดิจิตอลบิต (Digital Bit) เช่นเดียวกัน ส่งผลให้ข้อจำกัดในการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์หมดไป ผู้ใช้สามารถพูดคุยและส่งข้อมูลจำนวนมากบนสายเดียวกัน ประกอบกับการที่เครือข่ายดังกล่าวใช้เทคนิคการส่งผ่านข้อมูลและการสลับสายที่ก้าวหน้าที่เรียกว่า Asynchronous Transfer Mode : ATM จะส่งผลให้บริการสื่อมัลติมีเดียในระบบดิจิตอล (Digitized multi-media) ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     
  • เทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล (Telecommunications Transmission Technology)
    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาให้สามารถรองรับการส่งผ่านข้อมูลทั้ง ปริมาณของข้อมูล ความเร็ว การผนวกรวมช่องสัญญาณร่วมกัน เป็นพัฒนาการมาตั้งแต่เทคโนโลยีสัญญาณคลื่นความถี่ เทคโนโลยีไมโครเวฟ เทคโนโลยีดาวเทียม จนมาถึงเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้วนำแสง ล้วนแต่ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเคเบิลใยแก้วนำแสงหนึ่งใยแก้ว สามารถส่งผ่านสัญญานคู่การสื่อสารโทรศัพท์จำนวน 30,000คู่สัญญาณได้พร้อมกันในเวลาเพียงแค่ 0.1 mm in diameter ซึ่งในสายเคเบิลเส้นหนึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยแก้วมากมาย
  
โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่ทันสมัยจะประกอบไปด้วยเครือข่ายหลัก 6 เครือข่าย ดังต่อไปนี้
  1. เครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน (Public Telephone Network)
  2. เครือข่ายการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular and other mobile communications networks)
  3. การแพร่สัญญาณโทรทัศน์ (Terrestrial broadcast television)
  4. เครือข่ายเคเบิลทีวี (Cable television networks)
  5. บริการดาวเทียมส่งตรงถึงบ้าน (Direct to home (DTH) satellite services)
  6. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)
  
นักวิชาการ ในสหรัฐฯ ได้ให้ความหมายของคำว่า “โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ” ใน “The National Information Infrastructure, Agenda for Action” (1993) ไว้ว่า
  1. เครือข่ายโทรคมนาคมนับพันที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ (Interconnected) และใช้ร่วมกันได้ (Interoperable)
  2. ระบบคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ โทรสาร โทรศัพท์ และเครื่องมือการสื่อสารอื่นๆ
  3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บริการสารสนเทศ (Information Services) และฐานข้อมูล (Databases) เช่น ห้องสมุด เป็นต้น
  4. บุคลากรที่ได้รับการอบรมที่สามารถสร้าง บำรุงรักษาและสามารถใช้ระบบที่กล่าวมาได้ โครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐจะเปรียบเสมือนรังผึ้ง ซึ่งถือเป็นต้นแบบของสังคมสารสนเทศในอนาคต
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
  1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพ, กล้องถ่ายภาพดิจิตอล, กล้องวีดีทัศน์ เป็นต้น
  2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะอยู่ในรูปสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น บัตรเอทีเอ็ม แผ่น CD / DVD, ม้วนเทปบันทึก, Flash memory , Harddisk เป็นต้น
  3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
  4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
  5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม เครื่องอัดสำเนาดิจิตอล
  6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล
สังคมสารสนเทศจะเป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ (Knowledge-based economy in the Information Society)

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีนั้นมีความสำคัญมากกว่าเทคโนโลยีอื่นใดที่มนุษย์ เคยคิดค้นขึ้น แม้โดยพื้นฐานแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศจะไม่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงอย่างเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ไม่ทำให้โลกร่ำรวยด้วยอาหารเหมือนเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร และไม่อาจทำให้มนุษย์มีชีวิตยืนยาวไม่เจ็บป่วยเหมือนเทคโนโลยีการแพทย์ แต่เทคโนโลยีทั้งหลายที่ระบุมานี้ล้วนแล้วแต่พัฒนาก้าวหน้ามาถึงระดับนี้ได้ เพราะมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นรากฐาน หากขาดซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว เทคโนโลยีต่าง ๆ จะไม่มีความก้าวหน้ามากดังที่เป็นในปัจจุบัน (ครรชิต มาลัยวงศ์: 4-5)
Readmore...

7.2 นิยาม ความหมาย และความสำคัญ : เทคโนโลยีการศึกษา

1 comments
 

ความหมาย
จากการศึกษาความหมายของคำว่า"เทคโนโลยี"จากบทที่ ผ่านมา ซึ่งได้ให้ความหมายไว้ว่า การนำเอาขบวนการ วิธีการและแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การขยายตัวทางวิทยาการทำให้เกิดเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้งานในสาขาต่างๆ อย่างหลากหลาย ซึ่งคำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยาการ” ดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มาใช้ในกระบวนการของการศึกษา (ควรศึกษารายละเอียดความหมายของคำว่าเทคโนโลยีในบทที่ 1 อีกครั้ง) นอกจากนี้ นักการศึกษายังได้ให้คำจำกัดความของคำว่าเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้หลากหลาย(อ้างอิงบทที่1) แต่โดยสรุปแล้วเทคโนโลยีจะมีความหมายไปอยู่ใน 2 ลักษณะ คือ
  1. เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพ และวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสต-ทัศนศึกษา
  2. เทคโนโลยีการศึกษามีความหมายโดยตรง ตามความหมายของเทคโนโลยี คือ ศาสตร์แห่งวิธีการ หรือการประยุกต์วิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา โดยคำว่า”วิทยาศาสตร์”ในที่นี้มุ่งเน้นที่วิชาพฤติกรรมศาสตร์ เพราะถือว่าพฤติกรรมศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น

เทคโนโลยีมีความหมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่องานปฏิบัติทั้งหลาย เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
ปกติเทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนนั้นจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
  1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology)
    ได้แก่ การเรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
  2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
  3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง (interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น
การเรียนรู้ในลักษณะที่ 2 และ 3 เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ที่มีคุณค่ามหาศาล ถ้าครูไม่หลงทางเสียก่อน

แนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ 
  1. การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา
    กระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือกระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ
    (1) การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus)
    (2) การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด (Concept)
    (3) การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ (Rule) ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive)
    (4) การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive)
    (5) การสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization) ระบบคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทางปัญญานี้ โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความคิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกการนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
     
  2. การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
    การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น เราสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme) ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สอนอาจจัดบัญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้ หรือแนะนำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้ที่ควรจะเป็น
Readmore...

test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand