วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

11.4 องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา

0 comments
 
องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
  1. บุคลากร(ครู)
    หมายถึง ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน ภูมิปัญญา หรือผู้ที่มีส่วนในการจัดกิจกรรมทางการศึกษา เป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการจัดการศึกษา
  2. ข้อมูล/ความรู้
    หมายถึงข้อมูล ความรู้ หรือประสบการณ์ต่างๆที่อยู่ในบุคลากร(ครู) สาระเนื้อหาการเรียนรู้ (ตาม)หลักสูตร สื่อ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้ ถูกนำมาบูรณาการเพื่อการเรียนรู้ และการเข้าถึง นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เทคโนโลยีและการสื่อสาร
    เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น การจัดการความรู้ มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสนับสนุนและเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง คือระบบสารสนเทศ ระบบการเรียนรู้ ระบบการสื่อสาร และระบบสนับสนุน กระบวนการ กระบวนการประกอบด้วยขั้นตอน การแสวงหา การสร้าง การเก็บและเรียกใช้ การถ่ายโอน
  4. วิธีการและกระบวนการ
    หมายถึงวิธีการบริหารและจัดการเพื่อนำมวลความรู้ จากแหล่งความรู้นำไปเผยแพร่ในระบบอย่างมีระบบและประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้สูงสุด

ประโยชน์ของการจัดการความรู้
เป้าหมายของการจัดการความรู้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นการจัดการเพื่อให้ ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนในการจัดกิจกรรมทางการศึกษาได้รับความรู้ความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน การจัดกิจกรรมทางการศึกาาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล สิ่งทำสำคัญอีกประการหนึ่งก็ คือ เป็นฐานองค์ความรู้หลักในการ พัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่โดยการถ่ายโอนความรู้ ประสบการณ์ในการทำงานของคนรุ่นเดิมไปสู่คนรุ่นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อประสิทธิภาพโดยรวมในการดำเนินกิจกรรมการศึกษาอย่างต่อเนื่อง


ในการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กรและสถานศึกษา มุ่งเน้นที่จะรวบรวมมวลสรรพสิ่งที่มีอยู่รอบตัว อยู่ในตัวของบุคลากรที่เป็นทั้งความรู้ ทั้งประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลหรือประสบการณ์ของกลุ่ม นำมาจัดสรร จัดลำดับเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ นำไปเผยแพร่ เพื่อสร้างประโยชน์โดยรวมในภาพลักษณ์ต่างๆดังนี้

  1. ปรับปรุงแนวคิด วิธีการในการดำเนินกิจกรรมการศึกษาให้มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. เพิ่มองค์ความรู้ นำไปสู่การพัฒนาสาระการเรียนรู้ ให้กับระบบการเรียนการสอน
  3. สร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้ ส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้อย่างเต็มที่
  4. เพิ่มคุณภาพและลดช่วงเวลาในการให้พัฒนาหลักสูตร สาระการเรียนรู้
  5. ลดค่าใช้จ่าย โดยตัดทอนขั้นตอนหรือกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน
  6. ให้ความสำคัญกับความรู้ของครู บุคลากรทางการศึกษา
  7. สร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้ ทักษะประสบการณ์และข้อมูล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
Knowledge resides in the users and not in the collection. ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้
(Y. Maholtra)

KM is a Journey, not a destination.

การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง
(Warick Holder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai)

A little knowledge that acts is worth more than much knowledge that is idle.

ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉย ๆ
(Kahlil Gibran)

Knowledge is a key asset, but it is often tacit and private.
ความรู้เป็นสินทรัพย์สำคัญ แต่บ่อยครั้งความรู้เป็นสิ่งฝังลึกและเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล

Knowledge is not what you know, but is what you do. ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ

Successful knowledge transfer involes neither computers nor documents but rather interactions between people. การถ่ายทอดความรู้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน
(Mason & Mitroff, 1973)

Shift from error avoidance to error detection and correction จงเปลี่ยนจากการหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ไปสู่การค้นหาความผิดพลาดและแก้ไข

อ้างอิง : กรมการปกครอง

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand