วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

11.8 ปัจจัยหลักในการจัดการฐานความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรูปแบบ e-learning

0 comments
 
ในการจัดฐานการเรียนรู้ออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรูปแบบ web-based learning หรือ e-learning ซึ่งปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นรูปแบบการศึกษาด้วยตัวเองที่มีความพร้อมและสมบูรณ์อีกวิธีการหนึ่ง แต่การจัดการศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และเพิ่มทางเลือกใหม่ในรูปแบบดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่สามารถที่จะกระทำได้ง่าย หากองค์กรหรือสถาบันการศึกษานั้นยังขาดปัจจัยหลักที่นำมาเกื้อหนุนกลไกของ web-based learning หรือ e-learning ให้ขับเคลื่อนไปได้อย่างสมบูรณ์ ปัจจัยหลักดังกล่าวอัน ได้แก่
  1. นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการจัดการศึกษาของชาติ
  2. วิสัยทัศน์ผู้บริหารการศึกษาทั้งในระดับเขตพื้นที่และสถานศึกษา
  3. ความรู้ความสามารถด้านการพัฒนาสื่อและ ITของครู/อาจารย์ที่มีผลต่อการเรียนรู้
  4. ความพร้อมด้านอุปกรณ์หลักและเครื่องมือสนับสนุน
  5. ความพร้อมและประสิทธิภาพที่ดีในด้านเทคโนโลยีเครือข่าย
  6. ความพร้อมด้านระบบปฎิบัติการ โปรแกรมที่ใช้สร้าง e-learning
  7. ความพร้อมของวิธีการบริหารและการจัดการเรียนรู้ e-learning ที่มีคุณภาพ
  8. การสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
 
e-learning มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำมาใช้ในทางธุรกิจการศึกษาเพิ่มคุณภาพส่งเสริมให้การ พัฒนาคนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เปิดโอกาสให้คนได้เรียนรู้มากขึ้น การใช้หลักสูตรและกระบวนการสอนที่เป็นมาตรฐาน มีวิชาหลากหลายให้เลือกและสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถเรียนได้ทุกทีทุกเวลา ในยุคปัจจุบันจะมีการใช้ทั้งในลักษณะของการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต หรือการใช้ในลักษณะ Stand Alone โดยมีเป้าหมายมในการค้นหาข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูล สารสนเทศ ซึ่ง E-Learning จะเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
  1. สื่อการเรียนการสอนแบบสื่อประสม (Multimedia)
    ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั้งคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้วิวัฒนาการขยายขีดความ สามารถที่จะนำเสนอเนื้อหาทั้งภาพและเสียงไปยังผู้เรียนได้รวดเร็วมากขึ้น ทำให้การเรียนแบบ e-learning บังเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สูงกว่าแต่เดิม เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจาก นั้นยังช่วยลดความซ้ำซ้อนเมื่อเนื้อหาของวิชาบางครั้งซับซ้อน และยุ่งยาก การใช้ E-Learning จึงทำให้ผู้เรียนสามารถทบทวนได้
  2. การใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน (Education Resource Sharing)
    เพื่อแบ่งปันข้อมูลและแลกเปลี่ยนความรู้ ทางวิชาการทุกแขนง ผู้เรียนสามารถ Download หรือ สั่งพิมพ์ได้ด้วย
  3. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning)
    ประเทศไทยได้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ครอบคลุมไปสู่ผู้ เรียนหรือกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นกว่าอดีต ดังจะเห็นได้จาก การมีระบบการเรียนการสอนผ่านทาง ไปรษณีย์ ผ่านทางวิทยุกระจายเสียง หรือผ่านทางโทรทัศน์ หรือแม้กระทั้งการเรียนการสอนผ่าน ทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบการเรียนการสอนในรูปแบบ E-Learning เป็นอีกทางเลือกที่ถือว่ามีส่วนในการสนับสนุน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ที่เหมาะสำหรับ "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand