วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

9.7 แนวทางการพัฒนาสื่อประเภทมัลติมีเดีย

0 comments
 

หากพูดถึงเรื่องสื่อมัลติมีเดีย ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า มัลติมีเดีย ของการใช้งานมีหลายความหมาย ในวงการศึกษา อาจหมายถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยสื่อที่หลากหลายประเภท หรืออาจจะหมายถึงการสร้างเนื้อหา สาระหลักสูตรเดียวกันแต่มีวิธีการเรียนรู้บนสื่อที่แตกต่างกัน

แต่หากมาดูความหมายทางสากล ก็จะหมายถึง สื่อที่มีองค์ประกอบของสื่ออื่นๆนำเข้ามาร่วมกันมากกว่า 2 ประเภทขึ้นไป ซึ่งสื่อที่มักจะใช้เป็นส่วนประกอบของมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความตัวอักษร(text), เสียง(Audio), ภาพนิ่ง(Still image), กราฟิก(graphic), ภาพเคลื่อนไหว(Animation), วิดีทัศน์(video) รวมถึง กระบวนการปฎิสัมพันธ์(interactive)

ขั้นตอนการพัฒนาสื่อประเภทมัลติมีเดีย
ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในแต่ละเนื้อหา ส่วนใหญ่จะยึดหลักการสร้างสื่อที่คล้ายคลึงกัน เริ่มตั้งแต่
การวิเคราะห์เนื้อหา (Analysis) ขั้นตอนนี้มีขั้นตอนสำคัญได้แก่ การสร้างแผนภูมิระดมสมอง (Brain Storm Chart) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาช่วยกันระดมหัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานั้น จากนั้นนำมาสรุป จัดกลุ่มหัวเรื่อง ให้สัมพันธ์กัน เพิ่มหรือตัดหัวเรื่องที่จำเป็น เราเรียกว่าแผนภูมิหัวเรื่องสัมพันธ์ (Concept Chart) โดยจัดลำดับก่อนหลัง ตามลักษณะลำดับการเรียนเนื้อหาเรื่องนั้น ๆ จะทำให้เห็นภาพลำดับของหัวเรื่องทั้งรายวิชา เรียกว่า แผนภูมิโครงข่ายเนื้อหา (Content Network Chart)

ในขั้นตอนการออกแบบการสอน (Design) จะต้องนำแผนภูมิโครงข่ายเนื้อหา มาจัดแบ่งเป็นหน่วยการเรียน (Module) พร้อมกำกับด้วยวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน

จากนั้นจะต้องออกแบบการสอนภายในของแต่ละหน่วยการเรียน (Module Presentation Chart) ตามหลักการสอนจริง โดยเลือกใช้เทคนิควิธีและสื่อมัลติมีเดียให้เหมาะสมในการนำเสนอเนื้อหาในหน่วยนั้น ๆ โดยเน้นเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้จริง

จากกระบวนการดังกล่าวสามารถแสดงออกเป็นขั้นตอนต่างๆ เป็นลำดับ โดยมีขั้นตอนทั้งหมด 7 ขั้นตอน (สุกรี รอดโพธ์ทอง 2538 : 25-33) ดังนี้
1. ขั้นการเตรียม (Preparation)
  • กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Determine Goals and Objectives)
    คือ การตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนจะสามารถใช้บทเรียนนี้เพื่อศึกษาในเรื่องใดและลักษณะใด กล่าวคือ เป็นบทเรียนหลักเป็นบทเรียนเสริม เป็นแบบฝึกหัดเพิ่มเติมหรือแบบทดสอบ รวมทั้งการนำเสนอเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการเรียน เราจะต้องทราบพื้นฐานของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเสียก่อน เพราะความรู้พื้นฐานของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียน
  • รวบรวมข้อมูล (Collect Resources)
    หมายถึง การเตรียมพร้อมทางด้านของเอกสารสนเทศ (Information) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
  • เนื้อหา (Meterials)
    ได้แก่
    ตำรา หนังสือ เอกสารทางวิชาการ หนังสืออ้างอิง สไลด์ภาพต่างๆ
    แบบสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้ หรือทดลองจากสภาพการณ์จำลองจากสถานการณ์จริง ซึ่งอาจจะหาไม่ได้หรืออยู่ไกลไม่สามารถนำเข้ามาในห้องเรียนได้ หรือมีสภาพอันตราย หรืออาจสิ้นเปลืองมากที่ต้องใช้ของจริงซ้ำ ๆ สามารถใช้สาธิตประกอบการสอนใช้เสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ซ่อมเสริมภายหลังการเรียนนอกห้องเรียน ที่ใด เวลาใด ก็ได้
  • การพัฒนาและออกแบบบทเรียน (Instructional Development)
    คือ หนังสือการออกแบบบทเรียน กระดาษวาดสตอรี่บอร์ด สื่อสำหรับการทำกราฟิก โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นต้น
  • สื่อในการนำเสนอบทเรียน (Instructional Development System)
    ได้แก่ การนำเอาคอมพิวเตอร์สื่อต่างๆ มาใช้งาน
  • เรียนรู้เนื้อหา (Learn Content)
    เช่น การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การอ่านหนังสือหรือเอกสาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน ถ้าไม่มีการเรียนรู้เนื้อหาเสียก่อนก็ไม่สามารถออกแบบบทเรียนที่มีประสิทธิภาพได้
  • สร้างความคิด (Generate Ideas)
    คือ การระดมสมองนั่นเอง การระดมสมองหมายถึง การกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นจำนวนมาก

2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction)
ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งในการกำหนดว่าบทเรียนจะออกมามีลักษณะใด
  • ทอนความคิด (Elimination of Ideas)
  • วิเคราะห์งานและแนวความคิด (Task and Concept Analysis)
  • ออกแบบบทเรียนขั้นแรก (Preliminary Lesson Description)
  • ประเมินและแก้ไขการออกแบบ (Evaluation and Revision of the Design)

3. ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson)
เป็นการนำเสนอลำดับขั้นโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด หรือเมื่อไหร่จะมีการจบบทเรียน และการเขียนผังงานขึ้นอยู่กับประเภทของบทเรียนด้วย

4. ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard)
เป็นขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษ เพื่อให้การนำเสนอข้อความและรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป

5. ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโปรแกรม (Program Lesson)
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลสตอรีบอร์ดให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ ลักษณะและประเภทของบทเรียนที่ต้องการสร้าง โปรแกรมเมอร์และงบประมาณ

6. ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน (Produce Supporting Materials)
เอกสารประกอบบทเรียนอาจแบ่งออกได้ เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆ ไป ผู้เรียนและผู้สอนย่อมมีความต้องการแตกต่างกัน คู่มือจึงไม่เหมือนกัน คู่มือการแก้ปัญหาก็จำเป็นหากการติตตั้งมีความสลับซับซ้อนมาก

7. ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise)
บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมดควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้นควรจะทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อน ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น ผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน หลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้ ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น ผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน หลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้

 
  
Instructional Design Model for Multimedia
Commonwealth Educational Media Center for Asia(2000 :35-37) ได้สรุปรูปแบบ การออกแบบ ระบบการผลิต Multimedia นี้ ซึ่งได้อธิบายถึงกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนและการพัฒนาตามลำดับขั้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
  1. การตั้งวัตถุประสงค์ (Objectives)
  2. การกำหนดเนื้อหา (Content)
  3. การติดต่อ รับ- ส่ง (transaction)
  4. การประเมิน (Evaluation)
รายละเอียดของขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนของ Instructional Design Model for Multimedia ประกอบด้วย
 
1) การตั้งวัตถุประสงค์ (Objectives)
เป็นขั้นตอนแรกที่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
ด้วยMultimedia ซึ่งวัตถุประสงค์นั้นจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและการวัดประเมินได้ของทีมงาน และจะครอบคลุมถึง พุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย

 
2) การกำหนดเนื้อหา (Content)
เนื้อหาของการออกแบบการเรียนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นบอกถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เนื้อหาจะมีพิสัยของความยากง่าย เริ่มจากเรียบง่ายไปจนถึงระดับสูงซึ่งมีความซับซ้อน ทั้งนี้ตัวเลือกของเนื้อหานั้น มั่นใจได้ว่าพอเพียงและถูกต้องสำหรับการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 
3) การติดต่อ รับ- ส่ง (transaction)
ในขั้นตอนนี้จะกล่าวถึง Media Options ซึ่งหมายรวมถึง สื่อต่างๆ ทั้ง Text Audio Video Graphics Animation และสื่อประเภทอื่นๆ เป็นการให้ความสำคัญในการจับคู่ เพื่อความเหมาะสมระหว่างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และการเลือกสื่อ ในลักษณะที่เป็นการประสานการออกแบบ และการเรียนรู้ไปด้วยกัน

 
4) การประเมิน (Evaluation)
ในขั้นตอนการประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบการเรียน การสอน เพื่อให้ทราบว่า มีการบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
การประเมินผลนี้จะเป็นการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Formative Evaluation) และประเมินผลสรุป (Summative Evaluation) ทั้ง 2 ระยะสามารถเลือกได้ทั้งแบบ Online , แบบOffline , Paper and pencil , Performance Tests และแบบอื่นๆ

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand