วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

9.1 แนวทางและหลักการออกแบบสื่อทั่วไป

0 comments
 
 วิถีชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต มีความสัมพันธ์กับการออกแบบทั้งสิ้น เพราะในการดำรงชีวิตของเรา จะต้องกำหนดวางแผน ในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ต่อสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำการใดๆ หากขาดการวางแผนหรือขั้นตอนการออกแบบแล้วก็อาจทำให้กิจกรรม หรือ งานนั้นประสบความสำเร็จได้ยาก ถ้าการออกแบบเป็นเงาตามตัวของชีวิตเรา




 การออกแบบคืออะไร
การออกแบบ คือศาสตร์แห่งการแก้ปัญหา ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น โดยอาศัยความรู้ และหลักการของศิลปะ นำมาใช้ให้เกิดความสวยงาม และมีประโยชน์ใช้สอย

ความสวยงาม
จะเน้นด้านจิตใจเป็นหลัก เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับความพอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมาก และไม่มีเกณฑ์ ในการ ตัดสินใดๆ เป็นตัวที่กำหนดชัดเจน ดังนั้นงานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่าสวยงาม ได้เหมือนกัน ซึ่งผลจากการออกแบบจะทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความสุข เกิดความพึงพอใจ การออกแบบประเภทนี้ ได้แก่ การออกแบบด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ตลอดจนงานออกแบบตกแต่งต่างๆ เช่น งานออกแบบ ตกแต่ง ภายในอาคาร งานออกแบบตกแต่งสวนหย่อม

ประโยชน์ใช้สอย
ผู้ออกแบบโดยมากจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับเป็นจุดมุ่งหมายแรกของการออกแบบ ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับมีทั้งประโยชน์ในการใช้สอย และประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร
การออกแบบเพื่อ ประโยชน์ ในการใช้สอยที่ สำคัญ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ในการ ประกอบอาชีพทางการเกษตรมีแห อวน ไถ หรืออุปกรณ์สำนักงานต่างๆ เช่น โต๊ะ, เก้าอี้. ตู้, ชั้นวางหนังสือ เป็นต้น ประโยชน์เหล่านี้จะเน้นประโยชน์ทางกายโดยตรง
ส่วน ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ การออกแบบหนังสือ โปสเตอร์ งานโฆษณา ส่วนใหญ่มักจะเน้นการสื่อสารถึงกันด้วยภาษาและภาพ ซึ่งสามารถรับรู้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี ผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน

ซึ่งการออกแบบ โดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาชุมชน ประโยชน์ด้านนี้จะเน้นทางด้านความศรัทธาเชื่อถือ และการ ยอมรับ ตามสื่อที่ได้รับรู้


 ความสำคัญของการออกแบบ
 ถ้าการออกแบบสามารถแก้ไขปัญหาของเราได้ การออกแบบจึงมีความสำคัญ และคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของเรา ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และทัศนคติ กล่าวคือ
มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเรา เช่น
             1. การวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง แผนการทำงานที่ดี
             2. การนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน
             3. สามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภท อาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อน ผลงานออกแบบ จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด
             4. แบบ จะมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง
 
 หลักสำคัญของการออกแบบ
 การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยมีหลักการ ดังนี้
1. ความเป็นหน่วย (Unity)
ในการออกแบบ   ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน   เป็นกลุ่มก้อน หรือมีความ สัมพันธ์กัน ทั้งหมดของงานนั้นๆ   และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับ   ในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน


2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing)
เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ   ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้ เป็นความรู้สึก ที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ   มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ
             2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry  Balancing) คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา   บน-ล่าง   เป็นต้น   ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย
             2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Non-symmetry  Balancing) คือ มีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากัน   แต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัว   ลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของ ผู้พบเห็นด้วย   ซึ่งเป็น ความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้   เช่น   ใช้ความสมดุลด้วยผิว (Texture) ด้วยแสง-เงา (Shade) หรือด้วยสี (Colour)
             2.3 จุดศูนย์ถ่วง (Gravity  Balance) การ ออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะ ต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วง   ได้แก่ การไม่โยกเอียง  หรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง   ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้ว   ผู้ออกแบบ จะต้อง ระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก   ตัวอย่างเช่น   เก้าอี้จะต้องตั้งตรง   ยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน   การทรงตัวของ คน ถ้ายืน 2 ขา   ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน   ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา   น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่ง   และ ส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่ง จุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูป ได้ถูกต้อง   เรื่อง ของจุดศูนย์ถ่วง จึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง


3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity  of  Arts)
ในเรื่องของศิลปะนั้น   เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอน   เพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน   อันได้แก่
             3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ ( Emphasis  or  Centre  of  Interest) งาน ด้านศิลปะผู้ออกแบบจะต้องมีจุดเน้นให้เกิดสิ่งที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น   โดยมีข้อบอกกล่าว เป็นความรู้สึกร่วม ที่เกิดขึ้นเองจากตัวของศิลปกรรมนั้นๆ   ความรู้สึกนี้ผู้ออกแบบจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นเหมือนกัน
             3.2 จุดสำคัญรอง ( Subordinate) 
คงคล้ายกับจุดเน้นนั่นเอง   แต่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับ   ซึ่ง อาจจะเป็นรองส่วนที่ 1  ส่วนที่ 2 ก็ได้   ส่วนนี้จะช่วยให้เกิดความลดหลั่นทางผลงานที่แสดง   ผู้ออกแบบจะต้อง คำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย
             3.3 จังหวะ ( Rhythem) 
โดยทั่วๆไปสิ่งที่สัมพันธ์กันในสิ่งนั้นๆย่อมมีจังหวะ   ระยะหรือความถี่ห่างในตัวมันเองก็ดี   หรือสิ่งแวดล้อม ที่ สัมพันธ์ อยู่ก็ดี   จะเป็นเส้น   สี   เงา   หรือช่วงจังหวะของการตกแต่ง   แสงไฟ   ลวดลาย   ที่มีความสัมพันธ์กัน ในที่นั้น   เป็นความรู้สึกของผู้พบเห็นหรือผู้ออกแบบจะรู้สึกในความงามนั่นเอง
             3.4  ความต่างกัน ( Contrast) 
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวไม่ซ้ำซากเกินไป   หรือเกิดความเบื่อหน่าย   จำเจ   ในการ ตกแต่ง ก็เช่นกัน   ปัจจุบันผู้ออกแบบมักจะหาทางให้เกิดความรู้สึกขัดกันต่างกัน   เช่น   เก้าอี้ชุดสมัยใหม่   แต่ขณะ เดียวกันก็มีเก้าอี้สมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ด้วย 1 ตัว   เช่นนี้ผู้พบเห็นจะเกิดความรู้สึกแตกต่างกัน   ทำให้เกิดความรู้สึก ไม่ซ้ำซาก   รสชาติแตกต่างออกไป
             3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies)   ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมดแม้จะมีบางอย่างที่แตก ต่างกัน   การใช้สีที่ตัดกัน   หรือ การใช้ผิว   ใช้เส้นที่ขัดกัน   ความรู้สึกส่วนน้อยนี้ไม่ทำให้ส่วนรวมเสียก็ถือว่าเกิดความกลมกลืนกันในส่วน รวม   ความกลมกลืนในส่วนรวมนี้ถ้าจะแยกก็ได้แก่ความเน้นไปในส่วนมูลฐานทางศิลปะอัน ได้แก่   เส้น   แสง-เงา   รูปทรง   ขนาด   ผิว   สี   นั่นเอง

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand