วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

8.9 นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องสื่อการเรียนรู้

0 comments
 

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดสาระสำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ไว้หลายมาตรา โดยเฉพาะในหมวด 9 ที่ว่าด้วยเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้วิเคราะห์สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ดังกล่าวแล้วเห็นว่า ควรกำหนดให้มีนโยบายในเรื่องของสื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรให้สอดรับกับพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ โดยกำหนดเป็นนโยบายการผลิต พัฒนาและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งมีสาระสำคัญว่า " กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทุกประเภท ทุกสาระการเรียนรู้และทุกช่วงชั้น โดยเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันผลิตอย่างเสรีและเป็นธรรม และส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษามีและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพในกระบวนการเรียน การสอน"   เพื่อให้นโยบายดังกล่าวเกิดผลในทางปฏิบัติ กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดแนวดำเนินการ ตามนโยบายฯ ไว้ 3 ด้านด้วยกันคือ
1. ด้านการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
2. ด้านการประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้
3. ด้านการเลือกและใช้สื่อการเรียนรู้

 
1. ด้านการผลิตและพัฒนาสื่อฯ
กระทรวงศึกษาธิการจะเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันผลิตอย่างเสรีและเป็นธรรม ผู้ผลิตอาจเป็นได้ทั้งหน่วยงานกลาง หรือหน่วยงานภาครัฐ เขตพื้นที่/เขตการศึกษา สถานศึกษา และเอกชนทั้งที่เป็นบริษัท/สำนักพิมพ์ และบุคคลทั่วไป ผู้ผลิตสามารถผลิตสื่อฯ ได้ทุกประเภท ทุกสาระการเรียนรู้ และทุกช่วงชั้น สื่อที่ผลิตควรผลิตเป็นช่วงชั้น โดยใช้เกณฑ์คุณภาพสื่อฯที่หน่วยงานกลาง กำหนดเป็นแนวทาง ในการผลิต

 
2. ด้านการประเมินคุณภาพสื่อฯ
กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้มีการประเมินคุณภาพและราคาจำหน่ายของสื่อฯ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในด้านคุณภาพและราคาโดยกระทรวงศึกษาธิการมีแนวคิด ที่จะรับประเมิน คุณภาพของสื่อฯ เฉพาะหนังสือเรียน คู่มือครูและชุดการเรียนการสอน ซึ่งจะแยกการประเมินคุณภาพสื่อฯ ออกเป็น 2 แบบ คือ
การประเมินก่อนจัดจำหน่าย :
ใช้สำหรับการประเมินคุณภาพสื่อฯ กลุ่มทักษะที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ขั้นตอนการตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ก่อนจัดจำหน่าย

การประเมินหลังจัดจำหน่าย :
ใช้สำหรับการประเมินคุณภาพสื่อฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มวิทยาศาสตร์ กลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มศิลปะ และกลุ่มการงานอาชีพและ เทคโนโลยี
หน่วยงานที่รับประเมินคุณภาพของสื่อฯ แยกออกเป็น 2 ระดับ กล่าวคือ
  1. สื่อฯ ที่ผู้ผลิตประสงค์จะให้มีการใช้ระดับชาติ / มีการเผยแพร่ทั่วประเทศจะตัองส่งให้หน่วยงานกลางเป็นผู้ประเมิน
  2. สื่อฯ ที่ผู้ผลิตประสงค์จะให้มีการใช้ในระดับเขตพื้นที่ จะต้องส่งให้เขตพื้นที่ / เขตการศึกษาเป็นผู้ประเมิน
สำหรับสื่อฯ ที่ครูเป็นผู้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในสถานศึกษาของตน ไม่ต้องส่งให้หน่วยงานกลาง / เขตพื้นที่การศึกษา ประเมิน การใช้สื่อฯ ที่ครูผู้สอนผลิตขึ้นใช้เองให้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา

 
3. ด้านการเลือกและใช้สื่อฯ
กระทรวงศึกษาธิการกำหนดแนวปฏิบัติไว้ดังนี้
การเลือกสื่อฯ : ถ้าเป็นสื่อฯ ประเภทหนังสือเรียน คู่มือครูและชุดการเรียนการสอน ให้สถานศึกษาเลือกใช้จากบัญชีรายชื่อสื่อฯ ที่ผ่านการประเมินคุณภาพและราคาจากหน่วยงานกลาง / เขตพื้นที่แล้ว ส่วนสื่อฯ ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับการประเมินคุณภาพและราคาจำหน่าย จากหน่วยงาน ที่รับผิดชอบให้สถานศึกษาเลือกใช้ได้ โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา
การใช้สื่อฯ สื่อประเภทหนังสือเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ สถานศึกษา สามารถกำหนดให้ผู้เรียนมีไว้ประจำตัวผู้เรียนได้ ส่วนกลุ่มสาระการเรียนเรียนรู้อื่น ไม่ควรกำหนด ให้ผู้เรียน มีหนังสือเรียนไว้ประจำตัว แต่สถานศึกษาควรจัดหาไว้บริการครูและนักเรียนในห้องเรียน / ห้องสมุด / ศูนย์สื่อฯ

ข้อมูล : เอกสาร "สื่อการเรียนรู้" ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand