วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

9.4 แนวทาง(หลัก)การผลิตและพัฒนาสื่อเสียงและรายการวิทยุกระจายเสียง

0 comments
 
แนวทางการผลิตและพัฒนาสื่อเสียงและรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
ในการวางแผนที่จะสร้างรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา ควรเริ่มดำเนินการตั้งแต่การศึกษาวิธีการนำเสนอ ศึกษากลุ่มผู้เรียนที่เป็นประชากรเป้าหมาย ว่าพฤติกรรมในการเรียนรู้ทางรายการวิทยุ มีมากน้อยเพียงใด ช่วงเวลาของผู้เรียนส่วนใหญ่ ในช่วงเวลาออกอากาศ สามารถรับฟังได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ จะต้องวางแผนที่จะทำการสำเนารายการนี้ นำไปไว้ยังหน่วยบริการทางการศึกษาต่างๆ อาทิ ห้องสมุดประชาชน ศูนย์บริการทางการศึกษา เป็นต้น

 

 
หลังจากได้ข้อมูลนำมาดำเนินการวางแผนจัดรายการแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการผลิตรายการ โดยมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
  1. ขั้นรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน
    กระบวนการผลิตรายการเริ่มจากการที่ผู้ผลิตรายการ (Producer) ได้รับมอบหมายจากผู้จัดรายการให้ผลิตรายการใดรายการหนึ่ง ผู้ผลิตรายการจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ข้อมูลที่ต้องการ คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ฟัง รูปแบบและประเภทของรายการที่ควรจะผลิต ประเด็นเนื้อหา รวมทั้งงบประมาณในการผลิตรายการ ตามปกติจะได้ข้อมูลเหล่านี้มาจากผู้จัดรายการ (Programmer)
  2. ขั้นการวางแผนผลิตรายการ
    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่ผู้ผลิตรายการตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ว่าจะดำเนินการผลิตรายการอย่างไรจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ของรายการ จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งได้แก่ บุคคล วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ เวลา ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร
  3. ขั้นการเขียนบท
    เป็นขั้นตอนที่ผู้ผลิตรายการมอบหมายให้ผู้เขียนบทนำแนวคิดและประเด็นเนื้อหาอย่างกว้างๆ ไปสร้างจินตนาการและเรียบเรียงออกมาเป็นคำพูด เสียงเพลง และเสียงดนตรี รวมถึงเสียงประกอบอื่นๆ บทวิทยุจะเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกันของฝ่ายต่างๆ ในกลุ่มการผลิตรายการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันในขั้นแรกของการเขียนบท ผู้เขียนอาจจะเขียนโครงร่างบทอย่างคร่าวๆ ก่อน แล้วจึงเขียนบทสมบูรณ์ภายหลัง หรือจะเขียนบทสมบูรณ์เลยก็ได้ ถ้าหากเป็นรายการที่ไม่ใช้เทปแทรกประกอบรายการ
  4. ขั้นจัดเตรียมวัสดุรายการ
    จากการศึกษาบทวิทยุหรือโครงสร้างของบทอย่างคร่าวๆ จะทำให้ผู้ผลิตรายการสามารถจัดเตรียมวัสดุรายการไว้ล่วงหน้า เช่น จัดเตรียมเทปบันทึกเสียง จัดเตรียมแผ่นเสียง จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการบันทึกเสียงนอกสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับที่จะใช้งานได้ทันที
  5. ขั้นประสานงานการผลิตรายการในขั้นนี้เป็นการประสานงานผู้ร่วมงานฝ่ายต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในบท เช่น การประสานงานกับผู้กำกับการแสดง ผู้แสดง ผู้ดำเนินรายการ ช่างเทคนิค และวิทยากร ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ ผู้ผลิตรายการจะต้องประสานงานกับบุคคลเหล่านี้เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนผลิตรายการที่วางไว้
  6. ขั้นซักซ้อม
    การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงที่ดีนั้นต้องมีการซักซ้อมก่อนการบันทึกเสียง การซักซ้อมอาจมีหลายขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของรายการ ถ้าเป็นรายการที่ผลิตยากและมีผู้เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก เช่น รายการละคร ก็จะต้องมีการซ้อมหลายขั้นตอนและต้องมีความพิถีพิถันมาก ข้อดีของการซักซ้อมก็คือ การช่วยลดความผิดพลาดทั้งด้านเนื้อหา การพูด และการแสดง เพราะระหว่างการซ้อมผู้ผลิตรายการ และผู้กำกับรายการจะต้องแนะนำแก่ผู้ร่วมรายการทุกฝ่ายทำให้มีโอกาสแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ก่อนมีการบันทึกเสียง
  7. ขั้นบันทึกเสียง
    ในห้องสตูดิโอ หรือห้องส่ง ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนจะต้องมาอยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาตามที่กำหนดไว้ในบทวิทยุ ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะเป็นการบันทึกเสียงรายการตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อเก็บไว้สำหรับการออกอากาศตามผังรายการที่ผลิตออกมา ซึ่งจะทำให้รายการมีคุณภาพทั้งด้านเนื้อหารายการและคุณภาพของเสียง ดังนั้นผู้กำกับรายการจึงต้องควบคุมเรื่องเสียงพูดจากไมโครโฟน เสียงจากแผ่นเสียง หรือเสียงจากเทปแทรก (Insert tape) ให้มีความผสมกลมกลืนกันเป็นอย่างดี รวมทั้งยังต้องสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ดำเนินรายการ ผู้แสดง และวิทยากรในรายการในด้านการเสนอรายการ การแสดงบทบาท และการออกเสียงอย่างถูกต้อง
  8. ขั้นตรวจสอบคุณภาพของรายการเมื่อการบันทึกเสียงเสร็จแล้ว ทุกคนต้องมาร่วมกันตรวจสอบคุณภาพของรายการ เพื่อให้เกิดความสมจริงสมจัง ความชัดเจนถูกต้อง มีตอนใดที่ควรจะบันทึกใหม่ หรือมีตอนใดที่ควรจะตัดออกโดยวิธีการตัดต่อเทป (Tape editing) ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องมีขั้นตอนก่อนที่กลุ่มผู้ผลิตรายการจะแยกย้ายกันไป เพื่อจะได้แก้ไขได้ทันเวลา
 

 
แนะนำโปรแกรมสร้างงานสื่อเสียง
1. GoldWave Digital Audio Editor
เป็นโปรแกรมเล็กกระทัดรัด เหมาะสำหรับการสร้างสรรงานด้านการศึกษาที่ดี โปรแกรมหนึ่ง รองรับการสร้างงานที่ไม่ยุ่งยากมากนัก
2. Magix Music Maker
เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่มีคุณภาพ มีความพร้อมด้านเครื่องมือ และยังมี sound loop สำหรับสร้างสรร แต่งเติมงานเสียงได้มากมาย
3. Adobe Audtion
ของค่าย Adobe ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถสร้างสรร ปรับแต่งเพลง ผลิตรายการวิทยุ รายการสื่อเสียง หรือสปอตโฆษณาที่มีเครื่องมือที่ทรงพลังครบครัน Adobe Audition จะช่วยในการสร้างสรรงานเสียง หรือสื่อเสียงมาตรฐานดิจิตอลที่ดีที่สุดสามารถทำงานร่วมกับดปรแกรมตัดต่อวิดีทัศน์ Adobe Premeire ได้อย่าสมบูรณ์ที่สุด
4. Dexster Audio Editor
เป็นโปรแกรมของค่าย DEXSTER ที่มีชื่อเสียงทางด้านการสร้างไฟล์เสียงที่ดีอีกตัวหนึ่ง ด้วยเครื่องมือที่ ค่อนข้างครบถ้วนทำให้สามารถสร้างสรรเสียงประกอบเพิ่มเติมอย่างไร้ขีดจำกัด



Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand