ขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์เป็นการรับผิดชอบของผู้ผลิตรายการหรือ ซึ่งมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน(4 P) ดังนี้ 1.ขั้นวางแผนและเตรียมการผลิต(Planning)
2.ขั้นการเตรียมอุปกรณ์และการฝึกซ้อม (Preparation)
3.ขั้นการผลิตรายการ (Production)
4.ขั้นการตรวจสอบและนำเสนอ (Presentation)
ขั้นวางแผนก่อนการผลิต
1. ขั้นวางแผนก่อนการผลิต (Pre production Planning) ในขั้นนี้อาจจะใช้เวลาเป็นวันสัปดาห์เดือนหรือปีสุดแล้วแต่รายการว่ามีความยุ่งยาก ซับซ้อนเพียงใดซึ่งในขั้นนี้จะเป็นการปรึกษาหารือกันระหว่าง ผู้ผลิตรายการผู้กำกับรายการ และผู้เขียนบทโทรทัศน์เพื่อหาหนทางในการจัดทำรายการและรูปแบบที่มีประสิทธิภาพน่าสนใจและเป็นช่วงเวลาที่ทุก ๆฝ่ายที่รับผิดชอบหลักจะร่วมปรึกษาหารือกันด้วย เช่น ผู้ผลิต ผู้กำกับผู้กำ กับเทคนิค ผู้ควบคุมเสียงผู้ควบคุมแสง และผู้ออกแบบฉาก ถ้าหากมีการวางแผนและเตรียมการที่รอบคอบแล้วงานที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนก็ดูเหมือนง่ายต่อการปฏิบัติและปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นก็ลดน้อยลงไปได้ดังกฎที่เมอร์ฟี่ (Murphy's Law) ได้กล่าวเอาไว้ว่า "อะไรที่จะผิดพลาดมันก็ย่อมจะผิดพลาดได้ ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะมีการวางแผนที่ดีแล้วก็ตามแต่การที่ไม่ได้วางแผนที่รอบคอบอย่าง เพียงพอจะนำมาซึ่งความหายนะ"
ขั้นเตรียมการและฝึกซ้อม
2. ขั้นเตรียมการและฝึกซ้อม (Setup and Rehearsal)การเตรียมการ หรือการจัดเตรียม (Setup) จะกระทำก่อน การเริ่มต้นผลิตรายการเวลาที่ใช้ในการ เตรียมการนี้จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจใน ขั้นวางแผนงบประมาณ และความยุ่งยากสลับซับซ้อนของรายการเพื่อมิให้เกิดการสูญเปล่าของเวลาในการจัด เตรียมการนี้ผู้มีหน้าที่หลักทุกตำแหน่งต้องทราบและเข้าใจว่าจะทำอะไรอย่างชัดเจน และให้คำแนะนำแก่กลุ่มของตนอย่างเพียงพอ และการทำงานจะต้องทำพร้อม ๆ กันเพื่อสำรวจดูความเรียบร้อยไปพร้อมกันด้วย ถ้ามัวรอคอยซึ่งกันและกันอยู่จะทำให้งานไม่เดินเท่าที่ควรและเสียเวลามาก การจัดการเตรียมการที่เรียบร้อยเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะทำให้รายการประสบผลสเร็จ หรือไม่ ถ้ารายละเอียดบางอย่างถูกเมินเฉยในขั้นนี้จะต้องแก้ไขทันทีเมื่อเริ่มฝึกซ้อม
การฝึกซ้อม (Rehearsal) เมื่อทุก อย่างได้ถูกเตรียมการจัดการเรียบร้อยแล้ว การฝึกซ้อมก็จะเริ่มขึ้นการใช้เวลาในการฝึกซ้อมของรายการโทรทัศน์ ปกติจะถูกกำหนด ในเวลาจำกัด ดังนั้นผู้กำกับรายการจำเป็นต้องเตรียมการและวางแผนการฝึกซ้อมให้ รอบคอบด้วย ในขั้นฝึกซ้อมนี้ผู้ผลิตจะเฝ้าดูและชมรายการจากเครื่องตรวจเช็ค (Monitor) เสมือนหนึ่งว่าตัวเองเป็นผู้ชมรายการคนหนึ่งแต่จะจดบันทึกถึงข้อดีข้อเสียและสิ่งที่ควร แก้ไขทั้งทางด้านเทคนิค และด้านคุณค่าทาง ศิลป และสิ่งเหล่านั้นจะนำมาถกเถียงหา ทางแก้ไขต่อไป
ขั้นการผลิต
3. ขั้นการผลิต (Production) การผลิตรายการโทรทัศน์สมัยก่อน ก่อนที่จะมีวิดีโอเทปหรือเครื่องบันทึกภาพนั้นรายการทุกรายการจะแสดงสด หรือออกรายการสด นั่นคือการแสดงเริ่มต้นและจบลงตามเวลาที่กำหนดโดยมิได้หยุดเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการแสดงเลย แต่ต่อมาวิวัฒนาการด้านเทคนิค และเครื่องมือต่าง ๆเจริญก้าว หน้าขึ้นมีการนำเครื่องบันทึกภาพ และเครื่องตัดต่อมาใช้ทำให้รายการ และวิธีการผลิตเปลี่ยนแปลงไปดังนั้นการผลิตรายการจึงน่า จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
รายการสด (Live) สำหรับรายการสดนี้ ขั้นตอนการผลิตนี้จะเป็นขั้นสุดท้าย ของกระบวนการรายการต่าง ๆ ที่ผลิตในลักษณะนี้ เช่น รายการข่าวโทรทัศน์ รายการ ถ่ายทอดกีฬา และรายการอื่น ๆ ที่ต้องการเสนอต่อผู้ชมทันทีทันใดยังมีรายการอีก ลักษณะหนึ่งที่จัดอยู่ในลักษณะรายการสด เรียกว่ารายการสดที่บันทึกเอาไว้ (Live on tape) หมายความว่ารายการนั้นๆได้ผลิตขึ้นมาจากเวลาจริงเหมือนกันกับรายการสด ทุกประการ หากแต่ว่าได้บันทึกไว้ในเทปบันทึกภาพเพื่อนำมาออกอากาศในเวลาต่อมา ทั้งนี้อาจเป็น เพราะในเวลาช่วงที่แสดงสดนั้นอาจมีรายการประจำอื่น ๆ อยู่แล้วก็ได้ จึงไม่สามารถออกอากาศได้เหมือนรายการสด ซึ่งเทปบันทึกภาพนี้เป็นเพียงสื่อใน
การเก็บ (Storage medium)เท่านั้น รายการต่าง ๆ ที่อยู่ในลักษณะนี้ เช่น รายการ ละครรายการละครพูดรายการสนทนา และรายการเกมส์กีฬาต่าง ๆ
ขั้นหลังการผลิต
4. ขั้นหลังการผลิต (Postproduction) รายการที่ผลิตโดยวิธีการบันทึกลงในเครื่องบันทึกภาพและนำมาตัดต่อทีหลังจะต้องมีขั้นนี้อยู่ในกระบวนการด้วยในขั้นนี้ ผู้กำกับรายการจะให้คำแนะนำกับผู้ตัดต่อภาพในการเลือกภาพต่างๆมาปะติดปะต่อ สัมพันธ์กันเป็นเรื่องราวตามที่วางแผนเอาไว้ ขั้นนี้อาจจะมีความยุ่งยากหรือง่ายดายนั้นขึ้นอยู่กับรายการ ว่าสลับซับซ้อนเพียงใด เพราะบางรายการเพียงแต่นำภาพมาตัดต่อกัน ตามเนื้อเรื่องก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่บางรายการต้องพิถีพิถันนำเอาเครื่อง คอมพิวเตอร์มาช่วยตัดต่อให้เกิดภาพพิเศษอื่น ๆ อีกมากดังได้กล่าวมาแล้วว่าวิธีการตัดต่อภาพนี้ จะช่วยให้ผู้กำกับได้ใช้ความสามารถของตนเอง ในการสร้างภาพพิเศษตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเองได้มากสามารถ เลือกมุมถ่ายที่สวย ๆ คนแสดงที่มีความชำนาญ สถานที่ ๆ เหมาะสมกับรายการ นำภาพประกอบจาก กราฟิคภาพยนตร์ เทปบันทึกภาพและภาพจากแหล่งอื่น ๆ และเสียงที่ต้องการมาช่วยเสริมเติมแต่งให้รายการมีคุณค่าน่าสนใจได้มาก
ในการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ต้องมีกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับทีมหลาย ๆ ฝ่าย และต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งแต่ละฝ่ายก็มีความชำนาญเฉพาะด้านในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบอยู่ และต่างก็มีความสำคัญต่อการผลิตรายการโทรทัศน์เท่าเทียมกัน ซึ่งการทำงานถ้าขาดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไปจะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ อาจเป็นเหตุให้รายการโทรทัศน์ที่ผลิตขึ้นไม่มีคุณภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ดังนั้นสิ่งสำคัญในการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์คือการทำงานเป็นทีมที่ต้องใช้ความรู้ และความสามารถทั้งในด้านการสร้างสรรค์ และการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ในการผลิตให้ผสมผสานกันออกมาเป็นรายการโทรทัศน์ได้อย่างมีคุณภาพ โดยทีมงานในแต่ละฝ่ายจะต้องรู้หน้าที่ของตัวเองและต้องร่วมมือประสานงานกันอย่างดี จึงจะสามารถผลิตรายการโทรทัศน์ออกมาได้ ดังนั้นการผลิตรายการโทรทัศน์จะประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้
การเตรียมการก่อนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ (Pre-Production)
การเตรียมการก่อนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ควรมีขั้นตอนการเตรียมการที่ดี เพื่อให้รายการวิทยุโทรทัศน์เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ดังที่ อรนุช เลิศจรรยารักษ์ (2539 ) และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (2531 ) กล่าวถึง การเตรียมการก่อนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์สามารถสรุปได้ดังนี้
1. การวางแนวคิด
ภายหลังจากได้รับมอบหมายงานการผลิตรายการมาแล้ว ผู้ผลิตก็จะเริ่มวางแนว ความคิดในการผลิต แนวความคิดในการผลิตทำได้ 2 วิธี
1.1 เริ่มจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากนั้นก็แปลความคิดให้เป็นจริงเป็นจัง โดยจัดงบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เข้ากับความคิด วิธีนี้มีส่วนดี คือช่วยให้เกิดงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะมาก แต่มีข้อเสียในแง่ที่ว่าการยึดเอาความคิดสร้างสรรค์มากเกินไป อาจจะไม่ส่งผลสำเร็จในช่วงการแปลงความคิดให้เป็นจริงเป็นจัง ซึ่งอาจเกิดความยุ่งยากปรากฏอยู่เบื้องหน้าที่จะตามมามากมายและเวลาที่จะใช้ดำเนินการก็เพิ่มมากขึ้น
1.2 เป็นการพัฒนาแนวคิดในการผลิตโดยใช้วิธีมองข้อจำกัดต่าง ๆ ที่มี นับแต่เครื่องมือ บุคลากร สถานที่ ภาวะเศรษฐกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ จากนั้นจึงคิดว่าจะทำรายการอะไรและทำอย่างไร วิธีนี้มีส่วนดีคือสามารถทำให้การแปลงความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นจริง
เป็นจังทำได้สำเร็จตามกำหนดเวลา ข้อเสียคือการทำงานแบบนี้อาจจะไม่ช่วยสร้างสรรค์งานทาง ด้านศิลปะเท่าใดนัก
อย่างไรก็ตามสำหรับสื่อที่ซับซ้อนอย่างวิทยุโทรทัศน์ นักวางแผนที่ดีจะได้เปรียบทุกเวลาเพราะวิทยุโทรทัศน์ต้องการความร่วมมือจากการทำงานเป็นทีมอย่างมาก
และสิ่งเหล่านี้ได้มาจากการวางแผนที่ถูกต้อง
2. วิเคราะห์เนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย
2.1 รวบรวมเอกสารและงานวิจัย (Research) ในขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้ผลิตต้องรวบรวมตำรา เอกสาร รายงานการวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยยืมมาจากห้องสมุดหรือซื้อมาจากร้านจำหน่ายหนังสือ เอกสารต่าง ๆ
2.2 วิเคราะห์เนื้อหา เอกสาร รายงานการวิจัยต่าง ๆ ตลอดจนภาพยนตร์และสไลด์ที่รวบรวมได้มาจากขั้นที่แล้วนั้น ในขั้นนี้จะเป็นขั้นนำเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวมาวิเคราะห์และคัดเลือกเอาเฉพาะที่เกี่ยวข้องและจำเป็นจะต้องใช้ในการเขียนบท
2.3 กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาที่จะผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ได้แล้ว ก็ควรจะต้องจัดทำรายการวิทยุโทรทัศน์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
3. กำหนดจุดเน้น/ จุดประสงค์
การกำหนดจุดเน้นและจุดประสงค์ในการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ ต้องกำหนดให้แจ่มแจ้งแน่ชัดลงไปว่ามี จุดเน้น จุดประสงค์ ในการผลิตรายการอย่างไรบ้าง และควรมีการประชุมร่วมกันของผู้รับผิดชอบฝ่ายต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันว่าจุดเน้นของรายการอยู่ที่ใด มีจุดประสงค์ของรายการอย่างไร และขอบข่ายของรายการมีมากน้อยเพียงใด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกระบวนการผลิตรายการและให้สอดคล้องกับความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
4. กำหนดรูปแบบและสร้างสรรค์รายการ
กำหนดรูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เป็นการกำหนดรูปแบบของรายการว่า เป็นรูปแบบใด เช่น รูปแบบสารคดี การสัมภาษณ์ บรรยาย ละคร ฯลฯ เพื่อให้การนำเสนอมีความน่าสนใจเหมาะสมกับเนื้อหารายการ จุดเน้นและจุดประสงค์ของรายการและสอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้
5. เขียนบทโทรทัศน์และตรวจสอบความถูกต้อง
ในการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ทุกรายการ บทวิทยุโทรทัศน์นับเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของรายการ ดังมีผู้กล่าวว่าบทดีมีชัยไปครึ่ง หมายความว่า ความคิดที่ดีของผู้ผลิตรายการ เมื่อได้นักเขียนบทผู้ซึ่งสามารถสร้างสรรค์รายการออกมาจากแนวคิดเบื้องต้น และวัตถุประสงค์ของรายการได้อย่างมีศิลปะในการเขียนและการนำเสนอ (Presentation) ที่ดี ช่วยให้รายการน่าสนใจไปครึ่งหนึ่งแล้ว ผู้ผลิตรายการมองเห็นความสำคัญของบทซึ่งเป็นพื้นฐานของรายการทุกรายการ จึง
นำเรื่องการพิจารณาผู้เขียนบทวิทยุโทรทัศน์เข้าสู่ที่ประชุมการผลิตเพื่อคัดเลือกผู้เขียนบท ซึ่งอาจจะเป็นนักเขียนประจำของทีมงานผลิต ผู้เขียนอิสระซึ่งรับจ้างเขียนบท ซึ่งการผลิตรายการบางรายการมีปลายตอนอาจจะต้องจ้างนักเขียนบทหลายคนก็ได้ และบางครั้งถ้าเรื่องที่จะผลิตเป็นเรื่องเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งซึ่งต้องอาศัยข้อมูลพิเศษ ผู้ผลิตรายการอาจจะต้องจ้างผู้มีความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ มาเป็นที่ปรึกษาให้นักเขียนบทหรือทั้งทีมงานวิจัยก่อนการเขียนบทก็ได้
ด้วยเหตุที่ผู้ผลิตรายการหลายท่านเห็นว่า บทวิทยุโทรทัศน์นั้นเป็นพื้นฐานสำคัญในการผลิตรายการ ผู้ผลิตรายการหลายท่านจึงมักจะเป็นผู้เขียนบทวิทยุโทรทัศน์เองด้วย
6. กำหนดสถานที่ถ่ายทำ/ ศิลปกรรม/ จัดเตรียมอุปกรณ์
ในขั้นนี้เป็นขั้นที่เราต้องตระเตรียมเพื่อการบันทึกภาพตามตารางเวลา (Schedule) ที่กำหนดไว้ วัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้มีอะไรบ้าง และใครเป็นผู้ที่รับผิดชอบบ้าง การถ่ายทำนั้นจะถ่ายทำที่ไหน ในห้องบันทึกภาพ (Studio) หรือเป็นการถ่ายทำนอกสถานที่ (Outside Studio หรือ Outdoor Recording) หากจะมีการถ่ายทำนอกสถานที่ ก็ควรจะมีผู้ที่ไปดูสถานที่จะถ่ายทำ และทำการนัดแนะกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการแสดงประกอบฉาก หรือมีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานให้การบันทึกเป็นไปอย่างสำเร็จ
7. การคัดเลือกผู้ร่วมรายการ
งานสำคัญของฝ่ายผลิตรายการอีกงานหนึ่งคือ งานคัดเลือกผู้ร่วมรายการ ผู้ร่วมรายการ หมายถึง พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ นักร้อง นักดนตรี ผู้อ่านข่าว ผู้บรรยาย ผู้สัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์ ครู อาจารย์ผู้สอนผ่านสื่อโทรทัศน์ สิ่งเหล่านี้ผู้ผลิตรายการจะต้องประชุมกับกรรมการผลิตรายการ เพื่อตัดสินใจก่อนการผลิตรายการจะเริ่มขึ้น ทั้งนี้จะต้องดูความเหมาะสม ทางเลือก และงบประมาณประกอบด้วย
8. การเตรียมตารางการผลิตรายการ
การเตรียมตารางการผลิตรายการจะเริ่มขึ้นภายหลังจากเมื่อได้บทสังเขปมา ผู้ผลิตรายการได้มอบหมายงานในหน้าที่ต่าง ๆ ให้กับผู้กำกับรายการ ผู้กำกับการผลิตฝ่ายศิลปกรรม หัวหน้าฝ่ายห้องส่ง ผู้กำกับรายการฝ่ายเทคนิค ผู้ประสานงานติดต่อผู้แสดงและบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านอื่น ๆ จนครบถ้วน ผู้ผลิตรายการจึงเริ่มจัดเตรียมตารางการผลิต
ประโยชน์ของตารางการผลิตรายการ คือทำให้ผู้ผลิตรายการได้รู้ว่ากิจกรรมอะไรทำในช่วงไหน เสร็จเมื่อใด ใครรับผิดชอบกิจกรรมนั้น ๆ ผู้ผลิตรายการก็จะเห็นภาพรวมของการผลิตรายการทั้งหมดอย่างคร่าว ๆ และสามารถควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามตารางการผลิตรายการ นอกจากนี้ตารางรายการยังช่วยให้ผู้ผลิตรายการตรวจสอบความคืบหน้าในรายการและแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ก่อนที่ปัญหาเหล่านั้นจะเป็นอุปสรรคในการผลิตรายการต่อไป
Nextในตารางการผลิตรายการจะประกอบด้วยกิจกรรมในด้านการผลิตรายการดังนี้ บทวิทยุโทรทัศน์ ผู้ร่วมรายการ ฉาก แสง เสียง กราฟิก เครื่องแต่งตัว อุปกรณ์เทคนิค อุปกรณ์และวัสดุประกอบฉาก การตัดต่อ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น ๆ กำหนดวันเสร็จ วันออกอากาศ และผู้รับผิดชอบ เป็นต้น
การปฏิบัติงานระหว่างการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ (Production)
การปฏิบัติงานระหว่างการผลิต เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้ผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ ต้องปฏิบัติเพื่อให้รายการที่ผลิตเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่ง อรนุช เลิศจรรยารักษ์ (2539 ) และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (2531 ) ได้กล่าวถึงการปฏิบัติงานระหว่างการผลิต รายการวิทยุโทรทัศน์ สามารถสรุป ได้ดังนี้
1. การเตรียมความพร้อมก่อนถ่ายทำ
ในขั้นการปฏิบัติงานระหว่างผลิต การเตรียมความพร้อมเป็นงานสำคัญอีกงานหนึ่งในการผลิตรายการ ผู้ผลิตรายการจะต้องตรวจสอบความพร้อมทุกด้าน โดยดูจากกระดาษบันทึก ซึ่งเรียกว่า Fax Sheet หรือ Facility Sheet ผู้ผลิตรายการจะจดรายละเอียดและข้อความที่จำเป็นด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ บุคลากร ด้านเทคนิค ด้านการแสดง คนงาน และอื่น ๆ ที่ต้องการไว้ ซึ่งผู้ผลิตรายการจะจดไว้ตรวจสอบเอง หรือจะจัด Fax Sheet เป็นรูปฟอร์มเพื่อแจกจ่ายให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการผลิตรายการให้ทราบโดยทั่วกัน
นอกจากนี้ผู้ผลิตรายการต้องตรวจสอบตารางปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยตารางเวลาที่กำหนดในการปฏิบัติงานเรียงตามลำดับและกำหนดเวลาที่บุคลากรฝ่ายต่าง ๆ จะเข้าประจำหน้าที่ทั้งหมดเป็นกำหนดการที่จะต้องปฏิบัติในห้องส่งตามเวลาช่วงต่าง ๆ
อย่างไรก็ตามงานอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ผลิตรายการจะต้องตรวจสอบ คือ ตารางการถ่ายทำว่าในวันที่ถ่ายทำ ถ่ายทำในหรือนอกห้องส่ง สดหรือบันทึกเทป และมีใครต้องมาเข้าฉากบ้าง ช่วงเช้าหรือบ่าย เวลาเท่าใด ตารางถ่ายทำ (Shooting Schedule) มีไว้เพื่อจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาผู้แสดง ประหยัดคนงานและอุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ เพราะการถ่ายทำบางทีตลอดวันผู้แสดงที่ยังไม่เข้าฉากตอนเช้า จะได้ไม่ต้องมาแกร่วคอยเสียเวลา
2. การกำกับและถ่ายทำรายการ
2.1 การฝึกซ้อม ผู้ผลิตรายการจะกำหนดตารางฝึกซ้อมไว้ล่วงหน้า โดยระบุวัน เวลา สถานที่ ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมาซ้อม ส่วนใครที่ไม่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ต้องมา สำหรับรายการยากจะมีการซ้อมก่อนวันผลิตรายการและบุคลากรสำคัญ ๆ ผู้กำกับรายการ ผู้ช่วยผู้กำกับ ผู้กำกับเวที และฝ่ายเสียงจะต้องมาดูเพื่อให้เข้าใจตรงกันโดยตลอด
2.2 การถ่ายทำรายการ ขั้นนี้เป็นขั้นที่บันทึกภาพเมื่อทุกอย่างได้เตรียมกันเรียบร้อยก็ถึงเวลาที่รอคอย นั่นก็คือการบันทึกภาพต่าง ๆ ตามเนื้อหาในบทเทปโทรทัศน์ แต่ก่อนที่จะถึงเวลาที่บันทึกภาพผู้กำกับรายการควรจะตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ ว่าเรียบร้อย และพร้อมที่จะถ่ายทำหรือไม่
เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างตระเตรียมเรียบร้อยแล้ว ก็พร้อมที่จะถ่ายทำได้ และในขณะที่ถ่ายทำรายการนั้นผู้กำกับจะต้องตรวจสอบสี ความคมชัด และความถูกต้องของภาพตามบทจาก TV Monitor นอกจาก นั้นก็ควบคุมดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ อีกด้วย และเมื่อบันทึกภาพเสร็จแล้วควรจะมีการ Rewind เทปเพื่อดูภาพที่บันทึกไปนั้นคมชัดและถูกต้องหรือไม่ และมีอะไรบกพร่องหรือไม่ หากพบสิ่งบกพร่องก็จะได้ถ่ายซ่อมใหม่ ซึ่งเทปโทรทัศน์นั้นมีคุณสมบัติที่ดีกว่าภาพยนตร์ เพราะไม่ต้องเสียเวลาล้างฟิล์ม (Develop) และทำแล้วผู้กำกับสามารถตรวจสอบภาพในเทปโทรทัศน์ได้ในขณะที่บันทึกภาพ และตรวจสอบอีกครั้งเพื่อความแน่นอนใจ หลังจากการบันทึกภาพแล้ว ซึ่งหากพบข้อบกพร่องก็ควรบันทึกใหม่ได้ทันที ไม่เสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการกลับไปถ่ายภาพอีกครั้งหนึ่ง
การดำเนินงานหลังการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ (Post Production)
การดำเนินงานหลังการผลิตเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการหลังจากการผลิต เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและปรับปรุงแก้ไขพร้อมทั้งการประเมินผลรายการ ซึ่งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (2545 ) อรนุช เลิศจรรยารักษ์ (2539 ) และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (2531 ) ได้กล่าวถึงการดำเนินงานหลังการผลิต รายการวิทยุโทรทัศน์ สามารถสรุป ได้ดังนี้
1. การตัดต่อลำดับภาพและผสมเสียง
ภายหลังจากการปฏิบัติการผลิตและบันทึกเทปทั้งในห้องส่ง และนอกห้องส่งแล้ว ทีมตัดต่อก็จะนำภาพที่บันทึกมาลำดับเรียงตามที่ Continuity ได้จดบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าช่วงไหน ตอนไหน จะตัดต่อด้วยตอนไหน บางรายการจะนำเทคนิคพิเศษ เช่น การหมุนภาพ พลิกภาพมาใส่ในช่วงไตเติ้ลรายการ บางครั้งผู้ผลิตรายการก็จะจ้างบริษัทผลิตไตเติ้ลทำไตเติ้ลมา 30 วินาที แล้วตัดใส่หัวเรื่องของรายการทุก ๆ ครั้ง
1.1 การตัดต่อลำดับภาพมีการตัดต่อแบบต่อชนคือแต่ละตอนแต่ละช่วงของรายการ ถ่ายทำมาสมบูรณ์แล้ว เพียงนำมาเชื่อมรายการเท่านั้นการตัดต่อแบบนี้ทำได้ง่าย บางรายการจะเป็นการลำดับภาพใหม่ มีการเลือกภาพใหม่ว่าส่วนใดควรใส่ภาพสอดแทรก ช่วงใดควรเป็นภาพมุมที่สวยกว่า ช่วงใดควรใส่ภาพใกล้ ภาพไกล ภาพกลาง ภาพ Cut Away การตัดต่อและลำดับภาพแบบนี้ต้องอาศัยศิลปะในการตัดต่อและลำดับภาพอย่างมาก จึงจะได้ภาพที่รวบรวม และแต่ละภาพจะสื่อความหมายได้อย่างสมบูรณ์ได้ตามจินตนาการที่ทีมงานการผลิตได้วางแนวโครงเรื่องไว้
ในส่วนของผู้ผลิตรายการแล้วจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้กำกับรายการ ผู้ตัดต่อลำดับภาพรับผิดชอบ ผู้ผลิตรายการจะดูอย่างผิวเผิน บางครั้งอาจจะดูหลังจากการตัดต่อครั้งแรก และให้คำแนะนำก่อนที่จะตัดต่อเสร็จครั้งสุดท้าย อย่างไรก็ตามการใส่ภาพพิเศษ กราฟิก การซ้อนตัวหนังสือ และการใส่ภาพพิเศษอื่น ๆ บางครั้งอาจจะสิ้นเปลืองงบประมาณสูง แต่ถ้าตัดต่อใส่ภาพพิเศษแล้วทำให้รายการดีขึ้นอย่างมาก ผู้กำกับรายการอาจขอความเห็นจากผู้ผลิตรายการในการตัดสินใจเพิ่มงบประมาณส่วนนี้เข้าไป
1.2 การผสมเสียง หมายรวมถึงการใส่เสียงเพลง เสียงคนบรรยาย เสียงประกอบและเสียงจริงลงไปในรายการ เพื่อให้รายการสมบูรณ์ เสียงเป็นส่วนสำคัญเช่นกัน ถ้ารายการดี ภาพดี เรื่องดี แต่การผสมเสียงลงในแถบเสียงไม่ดีผิดพลาดหรือผู้บรรยายเสียงไม่ดี จะทำให้รายการทั้งรายการเสียไปด้วย ดังนั้นผู้ผลิตรายการในช่วงวางแผนจะต้องเลือกตัวผู้บรรยาย ซึ่งถ้าเสียงดีเหมาะกับรายการและมีความชำนาญจะทำให้รายการทั้งรายการดีแต่ต้องใช้งบประมาณสูงในการจ้าง
2. ตรวจสอบความถูกต้อง/ แก้ไข
เมื่อเทปโทรทัศน์ดังกล่าวได้ถูกตัดต่อและบันทึกเสียงต่าง ๆ ตามบทที่ได้กำหนดไว้แล้ว เราก็นำเอาเทปโทรทัศน์ดังกล่าวออกฉายให้ผู้ร่วมงานฝ่ายต่าง ๆ ได้ชมกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบและวิจารณ์อีกครั้งหนึ่งว่ามีอะไรขาดตกบกพร่องบ้าง หากเรียบร้อยแล้วก็ทำ Master Tape ดังกล่าวไปสำเนาลงบนเทปที่ต้องการแล้วจึงนำไปใช้ฉายกับกลุ่มเป้าหมายได้เลย แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเทปโทรทัศน์ดังกล่าว เราก็ควรจะนำไปฉายทดลองให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยสุ่มตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย เมื่อฉายให้กลุ่มตัวอย่างชมแล้วก็แก้ไขให้เรียบร้อย จากนั้นจึงนำไปบันทึกลงเทปแล้วนำไปฉายต่อไป
การที่ต้องนำมาฉายให้กลุ่มตัวอย่างชมอีกครั้งหนึ่ง เพราะต้องการตรวจสอบความแน่นอนของเนื้อหาและความสมจริงสมจังของภาพจากทัศนะของกลุ่มเป้าหมาย เพราะหากจะเอาแต่ทัศนะของกลุ่มผู้ผลิตอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ เพราะต่างมีภูมิหลัง (Background) ที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการที่เรานำเอาเทปโทรทัศน์ไปฉายในกลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย เราจะได้ข้อคิดเห็นที่เป็นจริงทำให้การผลิตเทปโทรทัศน์ดังกล่าวประสบความสำเร็จ
3. การออกอากาศ
การออกอากาศเป็นการนำเทปรายการโทรทัศน์ที่จัดทำเสร็จแล้วไปออกอากาศ ซึ่งต้องมีการวางแผนล่วงหน้า และจัดเวลาการออกอากาศให้เหมาะสมกับสภาพการรับชมรายการของกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย
4. การประเมินผลรายการ
การประเมินผลรายการเพื่อให้ได้ข้อมูลมาปรับปรุงรายการให้เหมาะสม ทันสมัย ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่อไป
การวางแผนนับเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตรายการเทปโทรทัศน์ ทั้งนี้เนื่องจากรายการวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อสารมวลชนที่มีราคาค่อนข้างแพง แพงทั้งวัสดุอุปกรณ์และการผลิต ตลอดจนการผลิตต้องอาศัยเทคนิคการผลิตที่สูง ฉะนั้นหากมีการวางแผนในการผลิตอย่างรอบคอบในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตเทปโทรทัศน์แล้ว ย่อมจะทำให้การผลิตรายการเทปโทรทัศน์ดำเนินไปอย่างราบรื่น และสำเร็จลุล่วงไปตามกำหนดเวลา และได้ผลตามความมุ่งหมายที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ สิ่งที่จะย้ำเตือนในการผลิตรายการเทปโทรทัศน์ก็คือ เทปโทรทัศน์เป็นงานที่เกิดจากการทำงานของผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ฝ่ายร่วมกัน ฉะนั้นการทำงานเป็นกลุ่ม (Term Work) จึงเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการผลิตเทปโทรทัศน์ ความสำเร็จของรายการเทปโทรทัศน์เกิดการร่วมความคิด ร่วมแรงร่วมพลังของบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย ทุก ๆ คนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และต่างก็มีความชำนาญกันในคนละเรื่อง
Format | File | Description |
---|---|---|
AVI | .avi | รูปแบบ AVI (Audio Video Interleave) ถูกพัฒนาโดย Microsoftรูปแบบ AVI ได้รับการสนับสนุนโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใช้ Windows และโดยทั้งหมดเป็นที่นิยมที่สุดเว็บเบราเซอร์ มันเป็นรูปแบบที่พบมากบนอินเทอร์เน็ต แต่ก็ไม่เสมอไปได้ที่จะเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่ Windows |
WMV | .wmv | รูปแบบ Windows Media มีการพัฒนาโดยไมโครซอฟท์ Windows Media เป็นรูปแบบที่พบโดยทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต แต่ภาพยนตร์ Windows Media จะไม่สามารถเล่นบนคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่ของ Windows โดยไม่ต้องเป็นองค์ประกอบ (ฟรี) พิเศษติดตั้ง ต่อมาภาพยนตร์ Windows Media ไม่สามารถเล่นที่ทุกคนบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่ Windows เพราะผู้เล่นไม่สามารถใช้ได้ |
MPEG | .mpg .mpeg |
รูปแบบ MPEG (Moving Pictures Expert Group) เป็นรูปแบบที่นิยมมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต มันเป็นข้ามแพลตฟอร์ม และการสนับสนุนจากทุกที่นิยมมากที่สุดเว็บเบราเซอร์ |
QuickTime | .mov | รูปแบบ QuickTime คือการพัฒนาโดยแอปเปิ้ล QuickTime เป็นรูปแบบทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต แต่ภาพยนตร์ QuickTime ไม่สามารถเล่นได้บนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows โดยไม่ต้องเป็นองค์ประกอบ (ฟรี) พิเศษติดตั้ง |
RealVideo | .rm .ram |
รูปแบบ RealVideo ได้รับการพัฒนาสำหรับอินเทอร์เน็ตโดยสื่อจริง รูปแบบจะช่วยให้สตรีมมิ่งวิดีโอ (on - line วิดีโอ, อินเทอร์เน็ตทีวี) ที่มีแบนด์วิดท์ต่ำ เนื่องจากการจัดลำดับความสำคัญแบนด์วิดธ์ต่ำคุณภาพจะลดลงมักจะ |
Flash | .swf .flv |
รูปแบบ Flash (Shockwave) ถูกพัฒนาโดย Macromedia รูปแบบ Shockwave ต้องใช้เป็นส่วนประกอบเสริมในการเล่น แต่ส่วนนี้มาติดตั้งกับเว็บเบราเซอร์เช่น Firefox และ Internet Explorer |
Mpeg-4 | .mp4 | MPEG - 4 (มีการบีบอัดวิดีโอ H.264) เป็นรูปแบบใหม่สำหรับอินเทอร์เน็ต ในความเป็นจริง, YouTube MP4 แนะนำให้ใช้ YouTube ยอมรับหลายรูปแบบแล้วแปลงพวกเขาทั้งหมดไป. MP4 FLV หรือ. สำหรับการจัดจำหน่าย มากขึ้นและออนไลน์มากขึ้นเผยแพร่วิดีโอกำลังจะย้ายไป MP4 เป็นรูปแบบการแชร์อินเทอร์เน็ตสำหรับทั้งผู้เล่นแฟลชและ HTML5 |