วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

11.3 กรอบแนวคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้

0 comments
 

กรอบแนวคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ แผนผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) หรือ แผนผังอิชิคะวะ (Ishikawa diagram) ซึ่งแผนผังก้างปลาเป็นแผนผังที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา (Problem) กับสาเหตุทั้งหมดที่เป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหานั้น (Possible Cause)จีงมีผู้เรียกแผนผังกางปลานี้ว่า แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (JIS) ได้นิยามความหมายของผังก้างปลานี้ว่า " เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลายๆ สาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาหนึ่งปัญหา "
หมายเหตุ แผนผังนี้พัฒนาครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1943 โดย ศาสตราจารย์คาโอรุ อิชิกาว่า แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว



โครงสร้างของแผนผังสาเหตุและผล

รูปแบบของการจัดการความรู้มีการพัฒนาแพร่หลายไปในหลายองค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน เกิดรูปแบบที่หลากหลาย แต่ก็ อยู่ภายใต้พื้นฐาน การหลอมรวมมวลความรู้มาใช้ร่วมกัน ซึ่งในเรื่องดังกล่าวมี นักวิชาการได้ให้แนวคิดของการจัดการความรู้ไว้แนวทางหนึ่งว่า ถ้าจะจัดการความรู้อย่างเป็นระบบนั้น จะต้องมีองค์ประกอบหลักหรือ KM elements อยู่ 3 ด้าน ได้แก่
  1. ทรัพยกรด้านการจัดการความรู้
  2. กิจกรรมการจัดการความรู้
  3. อิทธิพลของการจัดการความรู้
แต่สิ่งสำคัญในการสร้างแผนผังก้างปลา ก็คือ ต้องทำเป็นทีม เป็นกลุ่ม โดยใช้ขั้นตอน 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. กำหนดประโยคปัญหาที่หัวปลา
  2. กำหนดกลุ่มปัจจัยที่จะทำให้เกิดปัญหานั้นๆ
  3. ระดมสมองเพื่อหาสาเหตุในแต่ละปัจจัย
  4. หาสาเหตุหลักของปัญหา
  5. จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุ
  6. ใช้แนวทางการปรับปรุงที่จำเป็น
การถ่ายทอดความรู้
การถ่ายทอดความรู้ อันเป็นส่วนประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ถูกประพฤติปฏิบัติกันมานานแล้ว ตัวอย่างรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ เช่น การอภิปรายของเพื่อนร่วมงานในระหว่างการปฏิบัติงาน, การอบรมพนักงานใหม่อย่างเป็นทางการ, ห้องสมุดขององค์กร, โปรแกรมการฝึกสอนทางอาชีพและการเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งรูปแบบการถ่ายทอดความรู้มีการพัฒนารูปแบบ โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กระจายอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 20 ก่อให้เกิดเทคโนโลยีฐานความรู้, ระบบผู้เชี่ยวชาญและคลังความรู้ ซึ่งทำให้กระบวนการถ่ายทอดความรู้ง่ายมากขึ้น (จากวิกิพีเดีย)


กระบวนการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
  1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
    บุคคลควรต้องรู้ว่าต้องการความรู้อะไรในการทำงาน และต้องดูว่าเรามีความรู้นั้นแล้วหรือยัง ควรมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้
  2. การสร้างและการแสวงหาความรู้ ( Knowledge Creation and Acquistion )
    บุคคลและองค์กรต้องพยายามหาความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ไปทั่วทั้งภายในและภายนอกองค์กร ไม่อยู่นิ่ง ๆ รอให้ความรู้เดินทางมาหา
  3. การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge ownledge Organization)
    เป็นการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้ จัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน
  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
    เป็นการจัดทำรูปแบบและภาษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร มีการเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและตรงความต้องการ
  5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
    ความสามารถในการเข้าถึงความรู้อย่างรวดเร็ว ในเวลาที่ต้องการ
  6. การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)
    การจัดทำเอกสาร การจัดทำฐานความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ
  7. การเรียนรู้ (Learning)
    เป็นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาและปรับปรุงองค์กรช่วยให้องค์กรดีขึ้น
การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก ๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหา ความรู้ใหม่ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้ายคือ การเรียนรู้ร่วมกัน และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
(1) เครื่องมือที่ช่วยในการเข้าถึง ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Explicit
(2) เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอด ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Tacit ซึ่งต้องอาศัยการถ่ายทอด โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก ในบรรดาเครื่องมือดังกล่าวที่มีผู้นิยมใช้กันมากประเภทหนึ่งคือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือชุมชน นักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) : กรมการปกครอง

  
กระบวนการจัดการความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ..
จากหลักการของกระบวนการจัดการความรู้ เราสามารถนำแนวทาง กระบวนการนำมาปรับใช้เข้าสู่กระบวนการจัดการความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ ใน 2 ส่วน คือ
1. ส่วนของ(กลุ่ม)ผู้จัดการศึกษาเรียนรู้
2. ส่วนของ(กลุ่ม)ผู้เรียนรู้
1. ส่วนของ(กลุ่ม)ผู้จัดการศึกษาเรียนรู้
นับเป็นส่วนแรกของการสร้างฐานการเรียนรู้ เป็นส่วนที่ต้องระดมความรู้ แนวคิด วิธีการถ่ายทอด ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ร่วมดำเนินการต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานของการเรียนรู้ด้วยตนเอง และปัจจัยการใช้งานการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญต้องเป็นผู้รู้และเข้าใจกระบวนการจัดการศึกษาออนไลน์ด้วย ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1.1 การรวบรวมสาระเนื้อหา เพื่อจัดทำบทเรียนออนไลน์ตามโครงสร้างหลักสูตร
1.2 จัดลำดับเนื้อหา กลยุทธ์ในการถ่ายทอด การสร้างเส้นทางเพื่อการเข้าถึงองค์ความรู้
1.3 การพิจารณาใช้สื่อประกอบบนหน้าเอกสารเว็บ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
1.4 การจัดทำ web document และการกำหนด interaction ในหน้าบทเรียน
1.5 การตรวจสอบ links และ response ของกระบวนการเรียนการสอน
1.6 การชี้ช่องทางการศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม
2. ส่วนของ(กลุ่ม)ผู้เรียนรู้
นับเป็นส่วนสำคัญของการศึกษาบนฐานการเรียนรู้ออนไลน์ แม้ว่าผู้เรียน ต้องดำเนินการศึกษา เรียนรู้ด้วยตนเองก็ตาม แต่ กระบวนการเรียนรู้จริงๆ ต้องมีการติดต่อสอบถามกับครุผู้สอน หรือการแก้ไขปัญหาระบบกับผู้ดูแลระบบ สิ่งที่จำเป็นที่สุด ก็คือระบบสื่อสาร โดยเฉพาะ หากการเรียนรู้สามารถเรียนรู้กันเป็นกลุ่มได้ การแรกเปลี่ยนมุมมอง การแสดงความคิดเห็นนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งของโลกการศึกษาในปัยจจุบัน ดังนั้น ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ หากได้มีการวางระบบการติดต่อสื่อสารที่ใช้ร่วมกันได้ หรือมีเวทีกลางในรูปแบบของ กระดานข่าวสารเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็จะเป็นส่วนให้การศึกษาเนื้อหานั้นๆมีสัมฤิทธิผลสูงสุดไปด้วย

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand