ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy – KBE) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นคำกว้างๆ ที่มีความหมายครอบคลุมถึง เทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานในองค์กร มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน ซึ่งช่องทางบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถตอบสนองในการเป็นเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปัน นำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
การจัดการความรู้ (Knowledge management - KM)
คือ การรวบรวม (ร่วม)สร้างสาระความรู้ ทั้งของบุคคล หรือของกลุ่ม หรือจากสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยพัฒนาจากข้อมูลดังกล่าวไปสู่สารสนเทศ เพื่อนำไปสู่การหลอมรวม แลกเปลี่ยน ร่วมศึกษาเรียนรู้ นำไปสู่การต่อเติมความสว่างทางปัญญาของบุคลากร ในองค์กร หรือของผู้เรียนรู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย หรือเผยแพร่เป็นข้อมูลสาธารณะสู่เครือข่ายการเรียนรู้
การจัดการความรู้ ประกอบด้วย 2 คำ คือ
การจัดการ และ ความรู้ ซึ่งแต่ละคำนี้ ต่างมีความหมายในตัวเอง ดังนี้
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้คำนิยามไว้ ดังนี้
การจัดการ คือ จัดการ ก. สั่งงาน ควบคุมงาน ดำเนินงาน
ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา
นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวว่า ความรู้ มี 2 ประเภท คือ
- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)
เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม - ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
อ้างอิง : www.dopa.go.th
ยืน ภู่วรวรรณ (2543, หน้า 110) ได้อธิบายความหมายของความรู้ว่า “เป็นการใช้สารสนเทศในการสร้างให้เกิดการคิดและตัดสินใจ” ซึ่งเป็นการให้ความหมายของความรู้ในแง่ของการใช้เครื่องมือในการสื่อความรู้ (สารสนเทศ) เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการคิดและตัดสินใจ
วิจารณ์ พานิช (2547, หน้า 4-5) ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความรู้ในหลายความหมายสรุปได้ว่า ความรู้ หมายถึง สิ่งที่เมื่อนำไปใช้ จะไม่มีวันหมดหรือสึกหรอ แต่จะยิ่งงอกเงยหรืองอกงามขึ้น หรือหมายถึง สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ และเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ซึ่งเกิดขึ้น ณ จุดที่ต้องการใช้ความรู้นั้น อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ขึ้นกับบริบทและสามารถกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้ตามความต้องการ ขณะที่ ชัชวาลย์ วงศ์ประเสริฐ (2548, หน้า 17) เห็นว่าความรู้ คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง สถานการณ์ ค่านิยม รวมไปถึงความรู้
ความหมายของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้
เป็น กระบวนการรวบรวม การจัดระบบ การแลกเปลี่ยน และการประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยการพัฒนา จากระบบข้อมูลไปสู่สารสนเทศ เพื่อก่อให้เกิดความรู้และปัญญา ซึ่งจะทำให้ทุกคนในองค์กรมีความสามารถ เข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้การคิดวิเคราะห์ และการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้
นอกจากนี้ นักการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ องค์ภาคเอกชน ได้ให้นิยามของการจัดการความรู้ ไว้หลากหลายความหมาย ดังนี้
Ryoko Toyama
การจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่ โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่ ประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนา นวัตกรรมที่จะทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่งขันทางธุรกิจ
World Bank
เป็นการรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์กร และกระบวนการที่เกี่ยวกับการสร้าง การนำมาใช้ และเผยแพร่ความรู้ และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
EFQM
เป็นวิธีการจัดการความรู้ เป็นกลยุทธ์ และกระบวนการในการจำแนก
จัดหา และนำความรู้มาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
เครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆกัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และบรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทร ระหว่างกันในที่งาน
อ้างในเอกสาร การประชุมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำนักจัดการความรู้สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 22-26 พฤษภาคม 3550 ณ โรงแรม แกนด์ เดอร์วิลล์ กรุงทพมาหานคร
สำนักงาน ก.พ.ร กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมวิชาการเกษตร ศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี 5 ได้ให้ความหมายของ KM ไว้ว่า
“เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้ง ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด” (www.doa.go.th/korporror)
ความหมายของการจัดกระบวนการเรียนรู้
หมายถึง วิธีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จนเกิดการเรียนรู้ Alan Thomas (อ้างถึงในกรมการศึกษานอกโรงเรียน, 2543) ได้ระบุว่าลักษณะของ กระบวนการเรียนรู้มี 8 ประการ ได้แก่
- การเรียนรู้เป็นการลงมือปฏิบัติ
- การเรียนรู้เป็นปัจเจกบุคคล
- การเรียนรู้ได้รับอิทธิพลจากบุคคลในสังคมร่วมกัน
- การเรียนรู้เป็นการตอบสนองสิ่งที่พบ/กระตุ้น
- การเรียนรู้เป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต
- การเรียนรู้ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไป-มาได้
- การเรียนรู้ต้องใช้เวลา
- การเรียนรู้ไม่สามารถเกิดจากการถูกบังคับ
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)
ขอบเขตของการจัดการความรู้นั้น มีความกว้างขวางและสลับซับซ้อน รวมถึงครอบคลุมศาสตร์ต่างๆ เป็นจานวนมาก ได้แก่ การจัดการ การปฏิบัติและหลักปรัชญา เทคโนโลยี กลยุทธ์ และลักษณะพฤติกรรมของมนุษย์
อย่างไรก็ตาม การจัดการความรู้มีแกนหลักที่สาคัญ คือ “กระบวนการจัดการความรู้”5 (Knowledge Management Process) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการหลักที่สาคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
- การจัดหาความรู้ (Knowledge Acquisition)
- การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ (Knowledge Storage and Retrieval)
- การใช้ความรู้ (Knowledge Usage/Utilization)
- การเคลื่อนย้าย/การกระจาย/การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Transfer/Distribution/Sharing)
- การสร้างความรู้ใหม่ (New Knowledge Creation)
ในส่วนของกระบวนการเรียนรู้นั้นตามแนวคิดของ Jerome Bruner (อ้างถึงในมาลินี จุฑะรพ, 2539) ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอนคือ
- การรับความรู้ เป็นขั้นตอนของการเรียนรู้ใหม่ๆที่ได้จากการเรียนรู้
- การแปลงรูปของความรู้ เป็นขั้นตอนการแปลงรูปความรู้ที่ได้รับมาให้สัมพันธ์กับ ประสบกรณ์เดิมหรือเหตุการณ์ปัจจุบัน
- การประเมินผล เป็นขั้นตอนของการประเมินผลว่า สิ่งที่ได้รับมา เป็นความรู้ใหม่ เมื่อผ่าน ขั้นการแปลงรูปของความรู้แล้วว่าดีหรือไม่ หรือทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ก้าวหน้าขึ้นเพียงใด
การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ต่างๆดังนี้
- การเรียนรู้โดยบังเอิญ ซึ่งอาจเป็นผลพลอยได้จากเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ ผู้เรียน ไม่ได้เจตนา
- การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่เกิดจากความอยากรู้ อยากเรียน
- การเรียนรู้จากกลุ่ม
- การเรียนรู้ที่จัดโดยสถาบันการศึกษา
- ความรู้ เช่น ความคิด ความเข้าใจ และความจำในเนื้อหาสาระต่างๆ เป็นต้น
- ทักษะ เช่น การพูด การกระทำ และการเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
- ความรู้สึก เช่น เจตคติ จริยธรรม และค่านิยม เป็นต้น
- สำรวจความต้องการ โดยการซักถามสังเกต สัมภาษณ์ พูดคุย ทดสอบก่อนเรียน
- เตรียมการ เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้และองค์ประกอบอื่นๆที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น วัสดุอุปกรณ์ สื่ออื่นๆที่เกี่ยวข้อง วางแผนการจัดกิจกรรม, วางแผนการเรียนการสอน ให้เชื่อมโยงต่อเนื่อง สอดคล้องกับ ความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน
- ดำเนินกิจกรรมการการเรียนรู้ มีขั้นตอนย่อยคือ 3.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน3.2 ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้3.3 ขั้นวิเคราะห์ อภิปรายผลงาน/องค์ความรู้ที่สรุปได้จากการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ วิเคราะห์ อภิปรายกระบวนการเรียนรู้
- ประเมินผล
- สรุปและนำไปประยุกต์ใช้