• การจัด และเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ให้เป็นระบบ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อขยายบริการการศึกษา แลกเปลี่ยนและกระจายความรู้ ข้อมูลข่าวสารไปสู่วงกว้างได้รวดเร็ว
• การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และกระจายความรู้ ทั้งที่เป็นภูมิปัญญา และองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับชุมชน
- สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก นักเรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่าย และเชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่นได้รวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลาทุกสถานที่ที่มีเครือข่าย
- เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม คุณลักษณะพื้นฐานของเครือข่ายการเรียนรู้ คือ การเรียนแบบร่วมมือกัน ดังนั้น ระบบเครือข่ายจึงเป็นกลุ่มของการเรียนรู้ โดยผ่านระบบการสื่อสารที่สังคมยอมรับ เครือข่ายการเรียนรู้จึงมีรูปแบบของการร่วมกันบนพื้นฐานของการแบ่งปันความน่าสนใจ ของข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
- สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ
- ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
- จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์
- เครือข่ายไทยสาร
เป็นเครือข่ายสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันกว่า 50 สถาบัน(ปีพ.ศ.2535) - เครือข่ายยูนิเน็ต (UNINET)
เป็นเครือข่ายเพื่อการเรียนการสอนพัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(ทบวงมหาวิทยาลัยปี พ.ศ. 2540) - สคูลเน็ต (SchoolNet)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ได้รับกาสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ - เครือข่ายนนทรี
เป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถานศึกษาในเครือข่าย