วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

11.2 กรอบความคิดการจัดการความรู้ (KM framework)

0 comments
 
ในสังคมแห่งความรู้ (Knowledge Society) “ความรู้” ถือว่าเป็นทรัพยากรหลักที่มีค่ายิ่งซึ่งแตกต่างจากปัจจัยการผลิตอื่นๆ เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา สภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจที่อาศัยฐานแห่งความรู้ (Knowledge-Base Economy) ความรู้ได้กลายมาเป็นแรงขับเคลื่อนที่สาคัญ ด้วยเหตุนี้ แนวความคิดและหลักการจัดการความรู้จึงมีบทบาทสาคัญยิ่งต่อองค์การในทุกระดับ


กรอบความคิดการจัดการความรู้ เป็นกรอบของการปฏิบัติเพื่อการเข้าถึงการจัดการความรู้ มีวิธีคิดหลายรูปแบบ ที่น่าสนใจ คือ (Rubenstein, Liebowitz, Buchwalter & McCaw, 2001, p. 8 ) ได้แบ่งชนิดของกรอบความคิดการจัดการความรู้เป็น 3 กลุ่ม คือ
(1) กรอบความคิดแบบ prescriptive
(2) กรอบความคิดแบบ descriptive และ
(3) กรอบความคิดแบบผสมผสานระหว่าง prescriptive และ descriptive

กรอบความคิดแบบ prescriptive 
กรอบความคิดแบบ prescriptive เป็นกรอบความคิดที่พบมากที่สุด ซึ่งอธิบายถึงพัฒนาการของความรู้ในองค์กร หรือเรียกว่า "วงจรความรู้ (Knowledge Spiral)" ตัวอย่าง เช่น (บุญดี บุญญากิจ และคนอื่น ๆ, 2548, หน้า 31-43)

Wiig (1993, p. 31) แบ่งองค์ประกอบเป็น 3 เสาหลักของการจัดการความรู้ (Pillar of KMX) ประกอบด้วย การสร้าง การนำเสนอ การใช้ และการถ่ายทอด



Nonaka and Takeuchi (1995, p. 32) ได้นำเสนอวงจร SECI ซึ่งกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงความรู้ ระหว่าง tacit knowledge และ explicit knowledge

1. ความรู้โดยนัย หรือแฝงเร้น (tacit knowledge)
คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคนเกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้หรือพรสวรรค์ต่าง ๆ ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ จัดเป็นความรู้อย่างไม่เป็นทางการ แต่สามารถถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้ได้
2. ความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge)
คือ ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล มีการเขียนอธิบายออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา สามารถจัดระบบและจัดหมวดหมู่ได้


ทำให้เกิดความรู้ใหม่ จาก Socialization ไปยัง Externalization  สู่ Combination และ Internalization ตามลำดับ 
  1. Socialization
    เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้าง tacit knowledge จาก tacit knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่
  2. Externalization
    เป็นขั้นตอนที่สองในการสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการแปลงความรู้จาก tacit knowledge เป็น explicit knowledge
  3. Combination
    เป็นขั้นตอนที่สามในการแปลงความรู้ขั้นต้น เพื่อการสร้าง explicit knowledge จาก explicit knowledge ที่ได้เรียนรู้ เพื่อการสร้างเป็นความรู้ประเภท explicit knowledge ใหม่ ๆ
  4. Internalization
    เป็นขั้นตอนที่สี่และขั้นตอนสุดท้ายในการแปลงความรู้จาก explicit knowledge กลับสู่ tacit knowledge ซึ่งจะนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการปฏิบัติงานหรือใช้ในชีวิตประจำวัน

ซึ่งจะหมุนเป็นเกลียวไปเรื่อย ๆ และได้รับการยอมรับจากองค์กรต่าง ๆ และผู้เชี่ยวชาญเป็นจำนวนมาก ดังภาพข้างล่าง

โดยแต่ละแบบจะมีความแตกต่างในองค์ประกอบ และการให้ความหมาย แต่เนื้อหาหลัก ๆ จะไม่แตกต่างกันมากนัก จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้
  1. การค้นหาว่าองค์กรมีความรู้อะไรบ้าง ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร และความรู้ที่จำเป็นต่อองค์กรมีอะไรบ้าง (knowledge identification)
  2. การสร้างและการแสวงหาความรู้ (knowledge creation and acquisition)
  3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (knowledge organization)
  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (knowledge codification and refinement)
  5. การเข้าถึงความรู้ (knowledge access)
  6. การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ (knowledge sharing)
  7. การเรียนรู้ (learning)
ซึ่ง ทั้ง 7 องค์ประกอบ เป็นกระบวนการความรู้ (knowledge process)



กรอบแนวคิดแบบ descriptive


กรอบแนวคิดแบบ descriptive เป็นกรอบความคิดที่อธิบายถึงขั้นตอนการจัดการความรู้ และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการจัดการความรู้ เช่น วัฒนธรรมองค์กร การเชื่อมโยง การจัดการความรู้กับทิศทางองค์กร การที่ต้องมีข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับการจัดการความรู้ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นต้น






ตัวอย่างกรอบความคิดแบบ descriptive ได้แก่
O’Dell, Grayson, and Essaides (1998, p. 34) ได้นำเสนอ กรอบความคิดที่ใช้การจัดการความรู้ในองค์กร มีองค์ประกอบหลัก 3 อย่าง คือ

  1. การกำหนดสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องทำให้สำเร็จ
  2. ปัจจัยที่ทำให้สามารถจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
  3. กระบวนการเปลี่ยนแปลง
เรามาศึกษารายละเอียด ทั้ง 3 ส่วนกัน
 
  1. การกำหนดสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องทำให้สำเร็จ
    ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุดเพราะจะเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ การทำให้ลูกค้าประทับใจ การลดระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ และความเป็นเลิศในการปฏิบัติการ
     
  2. ปัจจัยที่ทำให้องค์กรสามารถจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
    องค์กรต้องสร้างปัจจัยหลัก 4 ด้านที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ได้แก่
    2.1 ด้านวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงในการเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างบรรยากาศที่ทำให้บุคลากรกล้าคิด กล้าทำเปิดเผยต่อกัน มีการทำงานเป็นทีม และทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรเป็นส่วนหนึ่งของระบบการประเมินผลและพัฒนาบุคลากร
    2.2 ด้านเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้การจัดการความรู้ทำได้รวดเร็วขึ้น เช่น อินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ต เป็นต้น
    2.3 ด้านโครงสร้างขององค์กรที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ เช่น การกำหนดบุคคลหรือทีมรับผิดชอบในการจัดการความรู้ในองค์กร และการกำหนดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ชัดเจน เป็นต้น
    2.4 ด้านการวัดผลการจัดการความรู้ ถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะจะเป็นฐานที่บอกถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการความรู้ในองค์กร
     
  3. กระบวนการเปลี่ยนแปลง
    เมื่อได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ และมั่นใจว่ามีปัจจัยทั้ง 4 อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น องค์กรจะต้องใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ ซึ่งกระบวนการประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ วางแผน ออกแบบ ปฏิบัติ และขยายผล

กรอบความคิดที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้นำมาทดลองใช้ในโครงการนำร่อง มาจาก Osterhoff (อ้างถึงใน บุญดี บุญญากิจ และคนอื่น ๆ, 2548, หน้า 36-38) ที่ปรึกษาโครงการ โดยดัดแปลงมาจากรูปแบบการจัดการความรู้ของบริษัท Xerox Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ๆ 6 อย่างดังนี้
  1. การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม (transition and behavior management)
  2. การสื่อสาร (communication)
  3. กระบวนการและเครื่องมือ (process and tool)
  4. การฝึกอบรมและการเรียนรู้ (training and learning)
  5. การวัดผล (measurement)
  6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (recognition and reward)

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand