วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

4.0 มาตรฐานการเรียนรู้ บทเรียนที่ 4

0 comments
 


สาระสำคัญ
.................
...................
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษาได้
2. อธิบายพัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้
3. อธิบายลำดับพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยได้
4. อธิบายองค์ประกอบของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาได้
.
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษา
เรื่องที่ 2 พัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เรื่องที่ 3 พัฒนาการด้านเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย
เรื่องที่ 4 ระบบและวิธีการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
.
วิธีศึกษาเรียนรู้
1. ศึกษา เนื้อหาตามหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์
2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่หลักสูตรหรือครูที่ปรึกษาได้กำหนดให้
3. ประเมินผลการเรียนรู้
Readmore...

12.0 มาตรฐานการเรียนรู้ บทเรียนที่ 12

0 comments
 


สาระสำคัญ
ปัญหาจากการนำสื่อหรือนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ จากระบบหรือตัวสื่อหรือนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือตัวแปรอื่นๆ
.
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษาได้
2. อธิบายพัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้
3. อธิบายลำดับพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยได้
4. อธิบายองค์ประกอบของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาได้
.
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษา
เรื่องที่ 2 พัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เรื่องที่ 3 พัฒนาการด้านเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย
เรื่องที่ 4 ระบบและวิธีการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
.
วิธีศึกษาเรียนรู้
1. ศึกษา เนื้อหาตามหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์
2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่หลักสูตรหรือครูที่ปรึกษาได้กำหนดให้
3. ประเมินผลการเรียนรู้
Readmore...

11.0 มาตรฐานการเรียนรู้ บทเรียนที่ 11

0 comments
 


สาระสำคัญ
ความหมายของการจัดการความรู้ แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ หลักและวิธีการออกแบบ การผลิตและการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้บนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต การพัฒนาสื่อ บทเรียน การนำเสนอสาระการเรียนรู้แบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

.
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษาได้
2. อธิบายความหมาย กรอบความคิด องค์ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้
3. อธิบายหลักการออกแบบสื่อเพื่อการเรียนรู้ได้
4. อธิบายหลักการ และองค์ประกอบของการจัดการศึกษาออนไลน์ได้
.
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ความหมาย กรอบความคิด องค์ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้
เรื่องที่ 2 หลักการออกแบบสื่อเพื่อการเรียนรู้
เรื่องที่ 3 หลักการ และองค์ประกอบ การจัดการศึกษาออนไลน์
.
วิธีศึกษาเรียนรู้
1. ศึกษา เนื้อหาตามหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์
2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่หลักสูตรหรือครูที่ปรึกษาได้กำหนดให้
3. ประเมินผลการเรียนรู้
Readmore...

10.0 มาตรฐานการเรียนรู้ บทเรียนที่ 10

0 comments
 


สาระสำคัญ
แนวคิด การจัดการศึกษาและการเรียนรู้ ความหมายของการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และลักษณะของการเรียนรู้ ความหมาย ประเภทของแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ รูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ การเรียนการสอนและการฝึกอบรมออนไลน์ (Online Learning Teaching and Training) e-Education, e-Library, e-Journal, e-Book, multimedia, Learning Object Virtual Education, Virtual University, courseware
.
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษาได้
2. อธิบายพัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้
3. อธิบายลำดับพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยได้
4. อธิบายองค์ประกอบของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาได้
.
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษา
เรื่องที่ 2 พัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เรื่องที่ 3 พัฒนาการด้านเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย
เรื่องที่ 4 ระบบและวิธีการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
.
วิธีศึกษาเรียนรู้
1. ศึกษา เนื้อหาตามหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์
2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่หลักสูตรหรือครูที่ปรึกษาได้กำหนดให้
3. ประเมินผลการเรียนรู้
Readmore...

9.0 มาตรฐานการเรียนรู้ บทเรียนที่ 9

0 comments
 


สาระสำคัญ
แนวคิด
.
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบาย
2. อธิบาย
3. อธิบาย
4. อธิบาย
.
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1
เรื่องที่ 2
เรื่องที่ 3
เรื่องที่ 4
.
วิธีศึกษาเรียนรู้
1. ศึกษา เนื้อหาตามหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์
2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่หลักสูตรหรือครูที่ปรึกษาได้กำหนดให้
3. ประเมินผลการเรียนรู้
Readmore...

8.0 มาตรฐานการเรียนรู้ บทเรียนที่ 8

0 comments
 


สาระสำคัญ
สื่อการเรียนรู้ ความหมาย ประเภท หลักการและแนวคิดของสื่อเพื่อการเรียนรู้ พัฒนาการ การใช้สื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา วิเคราะห์สภาพและปัญหาการใช้ สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ การออกแบบ ผลิตและพัฒนาสื่อและนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน วิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายวิชา เพื่อการพัฒนาหรือผลิตสื่อ/นวัตกรรม การประเมินผลสื่อ/นวัตกรรม การใช้ การเก็บรักษาสื่อ/นวัตกรรม การใช้ทรัพยากรสื่อและนวัตกรรมร่วมกัน
.
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษาได้
2. อธิบายพัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้
3. อธิบายลำดับพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยได้
4. อธิบายองค์ประกอบของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาได้
.
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษา
เรื่องที่ 2 พัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เรื่องที่ 3 พัฒนาการด้านเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย
เรื่องที่ 4 ระบบและวิธีการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
.
วิธีศึกษาเรียนรู้
1. ศึกษา เนื้อหาตามหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์
2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่หลักสูตรหรือครูที่ปรึกษาได้กำหนดให้
3. ประเมินผลการเรียนรู้
Readmore...

7.0 มาตรฐานการเรียนรู้ บทเรียนที่ 7

0 comments
 


สาระสำคัญ
นิยาม ความหมายและความสำคัญที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ลักษณะเฉพาะของเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ บทบาทของเทคโนโลยีและสารสนเทศที่มีต่อการจัดการศึกษา การผลิตสารสนเทศจากข้อมูลเพื่อใช้จัดการเรียนรู้ ประโยชน์ของระบบสารสนเทศต่อการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อกระบวนการจัดการศึกษาและการเรียนรู้
.
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษาได้
2. อธิบายพัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้
3. อธิบายลำดับพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยได้
4. อธิบายองค์ประกอบของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาได้
.
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษา
เรื่องที่ 2 พัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เรื่องที่ 3 พัฒนาการด้านเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย
เรื่องที่ 4 ระบบและวิธีการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
.
วิธีศึกษาเรียนรู้
1. ศึกษา เนื้อหาตามหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์
2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่หลักสูตรหรือครูที่ปรึกษาได้กำหนดให้
3. ประเมินผลการเรียนรู้
Readmore...

5.0 มาตรฐานการเรียนรู้ บทเรียนที่ 5

0 comments
 


สาระสำคัญ
ในวงการศึกษาปัจจุบัน ได้มีการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง จากระบบการจัดการศึกษาในสิ่งที่มี ที่เป็นอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียน เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน สิ่งนั้นก็คือ นวัตกรรมการศึกษา
.
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายความหมาย คุณค่า และความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษาแต่ละประเภทได้
2. อธิบายลักษณะเฉพาะที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาได้
3. อธิบายวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมได้
.
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1
เรื่องที่ 2
เรื่องที่ 3
เรื่องที่ 4
เรื่องที่ 5
เรื่องที่ 6
เรื่องที่ 7
เรื่องที่ 8
เรื่องที่ 9
เรื่องที่ 10
เรื่องที่ 11
เรื่องที่ 12
เรื่องที่ 13
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI)
การสอนแบบ Online learning
การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)
ศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)
หน่วยความรู้เฉพาะเรื่อง (Learning Object)
การเรียนผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (M-Learning)
การฝึกอบรมผ่านเครือข่าย (Web-Based Training)
การจัดการศึกษาผ่านเครือข่าย (Web-Based Instruction)
ห้องเรียนเสมือนจริง(Virtual Classroom)
เทคโนโลยี web 1.0 web 2.0 และ web 3.0
วิธีศึกษาเรียนรู้
1. ศึกษา เนื้อหาตามหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์
2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่หลักสูตรหรือครูที่ปรึกษาได้กำหนดให้
3. ประเมินผลการเรียนรู้
Readmore...
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

3.3 กระบวนการทางเทคโนโลยีในการพัฒนา

0 comments
 
กระบวนการทางเทคโนโลยีในการพัฒนา

1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identification the problem , need or preference)
เมื่อมนุษย์เกิดปัญหาหรือความต้องการ ขั้นแรกคือ การทำความเข้าใจปัญหานั้นๆ อย่างละเอียดหรือกำหนดขอบเขต
การแก้ปัญหา ระบุความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร โดยเขียนเป็นข้อความสั้นๆ ให้ได้ใจความชัดเจน
2.รวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ (Information)
เมื่อกำหนดปัญหาหรือความต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ เก็บรวบรวมข้อมูลและความรู้ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ ทำได้หลายวิธี เช่น
รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสารต่างๆ สำรวจตัวอย่างในท้องตลาด
สัมภาษณ์พูดคุยกับคนอื่นๆ ระดมสมองคิดหาวิธีการ
สืบค้นจากอินเทอร์เนต และจากแผ่นซีดีเสริมความรู้ ฯลฯ
ข้อมูลเหล่านี้ จะนำไปสู่การได้วิธีการแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการในหลายแบบ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากซึ่งจะเป็นช่องทางที่สามารถใส่เนื้อหา ที่เราต้องการให้ นักเรียนได้เรียนรู้ และถือว่าเป็นช่องทางของการบูรณาการได้ดีที่สุด
3. เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ (Selection of the best possible solution)

ในขั้นนี้ เป็นการตัดสินใจเลือกแนวคิดที่ดีที่สุดสำหรับแก้ปัญหา โดยนำข้อมูลและความรู้ที่รวบรวมได้มาประกอบกัน จนได้ข้อสรุปว่าจะเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการสนองความต้องการเป็นแบบใด โดยวิธีการที่เลือกอาจยึดแนวที่ว่า เมื่อเลือกแล้วจะทำให้สิ่งนั้นดีขึ้น(Better) สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น (Faster speed) ประหยัดขึ้น (Cheaper) รวมทั้งวิธีการเหล่านี้จะต้องสอดคล้องกับทรัพยากร (Resource) ที่มีอยู่
4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
ขั้นตอนนี้ต้องการให้นักเรียนรู้จักคิดออกแบบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเครื่องใช้เสมอไป อาจเป็นวิธีการก็ได้ และการออกแบบไม่จำเป็นต้องเขียนแบบเสมอไป อาจเป็นแค่ลำดับความคิด หรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอนซึ่งรวมปฏิบัติการลงไปด้วย นั่นคือ เมื่อออกแบบแล้วต้องลงมือทำ และลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ออกแบบไว้
5. ทดสอบ (Testing to see if it works)
เป็นการนำสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการนั้นทดลองใช้เพื่อทดสอบว่าใช้งานหรือทำงานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร ถ้ายังไม่ได้ก็ไปสู่ขั้นตอนต่อไป คือ ปรับปรุง แก้ไข
6. การปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)

หลังจากการทดสอบผลแล้วพบว่าสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นหรือวิธีการที่คิดขึ้นไม่ทำงาน มีข้อบกพร่องก็ทำการปรับปรุงแก้ไข โดยอาจเลือกวิธีการใหม่ก็ได้คือย้อนไปขั้นตอนที่ 3
7. ประเมินผล (Assessment)
หลังจากปรับปรุงแก้ไขจนใช้งานได้ดีตามวิธีการที่ออกแบบแล้ว ก็นำมาประเมินผลโดยรวม โดยพิจารณาดังนี้ สิ่งประดิษฐ์สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่ระบุไว้ได้หรือไม่ สวยงาม ดึงดูดใจผู้ใช้หรือไม่ แข็งแรงทนทานต่อการใช้งานหรือไม่ ต้นทุนสูงเกินไปหรือไม่ บางกิจกรรมอาจไม่ครบทั้ง 7 ขั้นตอนก็ได้ บางกิจกรรมขั้นตอนอาจสลับกันไปบ้างก็ได้ แต่เมื่อนำไปใช้แล้ว นักเรียนรู้จักที่จะทำงานเป็นขั้นตอน เป็นระบบ ย้อนกลับมาดูหรือแก้ไขได้
Readmore...

3.2 ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา

0 comments
 
 ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญและมีความจำเป็นที่เด่นชัดในปัจจุบันนี้ คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการศึกษาด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้
1. ความเจริญอย่างรวดเร็วทางด้านวิชาการต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา วิทยาการใหม่ ๆ และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้ถูกค้นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในสังคมมากมายเป็นทวีคูณ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา และส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อไปถึงปัญหาการเรียนการสอน การเลือกโปรแกรมและการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระใหม่ๆ ของนักเรียน ความรุนแรงและความสลับซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณเนื้อหาวิชาการใหม่ ๆ มีมากมายเกินความสามารถของผู้เกี่ยวข้อง จะเลือกบันทึกจดจำและนำเสนอในลักษณะเดิมได้ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์เข้ามาช่วย เช่น การเสนอข้อมูลทางวิชาการโดยเทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ ไมโครฟอร์ม และแผ่นเลเซอร์ การแนะแนวการเรียนโดยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้ว มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต การปรับตัว และพัฒนาการของนักเรียน การแนะแนวส่วนตัวและสังคมแก่นักเรียน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ จึงจะสามารถให้บริการครอบคลุมถึงปัญหาต่าง ๆ ได้
3. ลักษณะสังคมสารสนเทศหรือสังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้ข่าวสารทุกรูปแบบ คือ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟฟิก และข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถถ่ายทอดและส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็วทุกมุมโลก สังคมในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นสังคมที่ท่วมท้นด้วยกระแสข้อมูลและข่าวสาร
ข้อมูลและข่าวสารจำนวนมหาศาลจะอยู่ที่ความต้องการของผู้ใช้อย่างง่ายดายมาก ความจำเป็นที่สถานศึกษาจะต้องเป็นแหล่งให้ข้อมูลข่าวสารจะหมดความสำคัญลง การแนะแนวในสถานศึกษาจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการทำตัวเป็นแหล่งให้ข้อมูลมาเป็นการแนะแหล่งข้อมูล แนะนำการเลือกและการใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบทบาทอย่างนี้จะทำให้สำเร็จได้ยาก หากไม่สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศในปัจจุบัน

 ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทย
การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น
- ปัญหาผู้สอน
- ปัญหาผู้เรียน
- ปัญหาด้านเนื้อหา
- ปัญหาด้านเวลา
- ปัญหาเรื่องระยะทาง
นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอน ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอน และเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วย

 สรุปความสำคัญของคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีการศึกษา
1. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
2. เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
3.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
4. เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
5. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
6. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
Readmore...

3.1 ความหมายของเทคโนโลยี

0 comments
 

คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ
มีผู้แปลความหมายคำว่า เทคโนโลยี สรุป ได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบ โดยสามารถนำไปใช้ในสาขาต่างๆ กัน และเรียกชื่อไปตามสาขาที่ใช้ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"


ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี”)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)

พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม

สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล

ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง

ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จาก การที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
เทคโนโลยี หรือ ประยุกตวิทยา หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงาน หรือแก้ปัญหาต่างๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคม และในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลายๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลายๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลายๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม

ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki

คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้ว นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้ว นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ

Readmore...

3.0 มาตรฐานการเรียนรู้ บทเรียนที่ 3

0 comments
 


สาระสำคัญ
นิยาม ความหมายและความสำคัญที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ลักษณะเฉพาะของเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ บทบาทของเทคโนโลยีและสารสนเทศที่มีต่อการจัดการศึกษา การผลิตสารสนเทศจากข้อมูลเพื่อใช้จัดการเรียนรู้ ประโยชน์ของระบบสารสนเทศต่อการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อกระบวนการจัดการศึกษาและการเรียนรู้
.
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษาได้
2. อธิบายพัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้
3. อธิบายลำดับพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยได้
4. อธิบายองค์ประกอบของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาได้
.
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเทคโนโลยี นวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษา
เรื่องที่ 2 พัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เรื่องที่ 3 พัฒนาการด้านเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย
เรื่องที่ 4 ระบบและวิธีการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
.
วิธีศึกษาเรียนรู้
1. ศึกษา เนื้อหาตามหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์
2. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่หลักสูตรหรือครูที่ปรึกษาได้กำหนดให้
3. ประเมินผลการเรียนรู้
Readmore...

2.10 แง่คิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา โดย รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท

0 comments
 
แง่คิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา โดย รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท
ความนำ
ในระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ วงการศึกษาของไทยได้เคลื่อนไหวและพยายามนำความคิดและวิธีการใหม่ ๆหรือนวกรรมการศึกษามาใช้เพื่อพัฒนาไปสู่ผลทางการศึกษาที่ดีขึ้น ในบรรดาหลายความคิดและหลายวิธีการเหล่านั้นในเชิงปฏิบัติอาจยังเป็นที่สับสน และเป็นที่น่าสงสัยในแง่ต่าง ๆ อยู่หลายอย่าง เป็นต้นว่า ในขณะนี้มีนวกรรมการศึกษาใดบ้าง ที่เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องส่วนมากระดับการยอมรับนวกรรมยังอยู่ในระดับใด เพราะเหตุใดนวกรรมการศึกษาบางประเภทจึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างมั่นคง บางประเภทล้มลุกคลุกคลาน บางประเภทปรากฏเป็นที่ยอมรับกันพักเดียวก็เลิกไปตลอดจนนวกรรมการศึกษาเหล่านั้นมาจากไหน หรือเกิดขึ้นได้อย่างไรดังนั้นจึงขอถือโอกาสนี้อภิปรายแง่คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาเป็นด้าน ๆ ไปดังต่อไปนี้
1. การยอมนับและระดับการยอมรับนวกรรมการศึกษา
นับตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมา ได้มีการสำรวจวิจัยประเภทของนวกรรมการศึกษาในประเทศไทยหลายครั้งและหลายระดับการศึกษา รวมทั้งที่ปรากฏเป็นรายงานของสถาบันการศึกษาบางแห่งในการนำนวกรรมการศึกษามาทดลองใช้ในสถาบันของตน ปรากฏว่า มีการใช้นวกรรมการศึกษากันอยู่หลายประเภท ตั้งแต่การจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ การสอนเป็นคณะ การใช้ศูนย์การเรียน การสอนแบบสืบสวน การสอนแบบจุลภาค บทเรียนโปรแกรม ชุดการเรียน ไปจนถึงการสอนระบบทางไกล ในบรรดานวกรรมการศึกษาเหล่านั้น บางประเภท บางแห่ง ก็นำมาใช้จนเป็นธรรมดาไปแล้ว บางแห่งก็เลิกใช้ หรือไม่ก็ยังอยู่ในขั้นทดลองและตัดสินใจ บางแห่งก็ต้องการนำมาใช้จริงและแน่นอน ส่วนจะทำได้เพียงใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง สิ่งที่น่าสนใจพิจารณาก็คือการยอมรับนวกรรมการศึกษานี้ มีอันดับของการยอมรับด้วย
นวกรรมบางประเภทในสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาบางแห่งหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางส่วน อาจเพียงยอมรับในระดับตื่นตัว สนใจหรือรู้เรื่องในบางแห่งบางส่วนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอาจยอมรับในระดับการเรียนรู้ ศึกษาแล้วทดลองปฏิบัติ บางแห่งบางส่วน อาจไปถึงขั้นของการนำมาปฏิบัติ และขยายขอบข่ายของการใช้นวกรรมนั้นให้กว้างขวางออกไปมากขึ้นทุกที ดังนั้นในการศึกษาเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาที่มีอยู่ในประเทศไทย
ในโอกาสต่อไปน่าจะได้พิจารณาไม่เพียงแต่ประเภทของนวกรรม และระดับของการศึกษาเท่านั้นน่าจะได้พิจารณาตัวแปรทางด้านระดับของการยอมรับนวกรรมการศึกษานั้น ๆ ด้วย

2. องค์ประกอบในการยอมรับนวกรรมการศึกษา
ตามที่กล่าวมาแล้วในความนำว่า นวกรรมการศึกษาบางประเภทในสถาบันและหน่วยงานการศึกษาบางแห่ง และโดยบุคคล หรือกลุ่มบุคคล บางส่วนมีการยอมรับในระดับของการนำไปใช้อย่างมั่นคง แต่ในบางแห่งและโดยบุคคลและกลุ่มบุคคล บางส่วนนวกรรมการศึกษานั้น กลับได้รับการปฏิเสธหรือไม่ก็มีอุปสรรค ไม่อาจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น บางประเภทบางแห่งและโดยบุคคลบางส่วนยอมรับกันเพียงระยะสั้น ๆ แล้วก็ล้มเลิกไป จึงน่าจะได้ศึกษากันให้เห็นประจักษ์ว่าการยอมรับหรือปฏิเสธนวกรรมการศึกษาเกิดจากองค์ประกอบอะไร ตามความเป็นจริงการศึกษาทำนองนี้ จำเป็นที่จะต้องเอาหลักวิชาเข้ามาจับก่อน โดยศึกษาตัวแปรที่จะมีผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับนวกรรมการศึกษา โดยทั่วไปก่อน เป็นต้นว่า
- การสนองต่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนาและการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน
- ตัวแปรเกี่ยวกับ 4-M
- ความก้าวหน้าและพัฒนาการทางวิชาการและเทคโนโลยี
- สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
- ความยุ่งยากของนวกรรมการศึกษานั้นเอง
- การสนับสนุนของฝ่ายบริหาร
- เจตคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
- ความสามารถและความตั้งใจของผู้เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้และอื่น ๆ
เมื่อตั้งตัวแปรอะไรก็สุดแล้วแต่จะเห็นเหมาะสมแล้วก็สามารถที่จะนำไปศึกษาในเชิงของกรณีศึกษา หรือการสำรวจในระดับกว้าง เพื่อให้ได้ภาพในเรื่องนี้โดยรวมชัดขึ้น ผลของการทำเช่นนี้จะทำให้ไม่เพียงพอแต่เราจะเห็นภาพของตัวแปร ที่ส่งผลต่อการยอมรับนวกรรมการศึกษาได้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น ยังสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการยอมรับในระดับสูงและทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ในอนาคต

3. การเกิด การเผยแพร่ และการยอมรับนวกรรมการศึกษา
ในบางเวลาเราเคยหยุดและคิดกันบ้างหรือไม่ว่า ความคิด และการกระทำใหม่ ๆทางการศึกษาบางอย่างนั้น หรือที่ใช้ หรือทดลองใช้อยู่นั้นมาจากไหน มาได้อย่างไร และทำไมจึงนำเอามาใช้ หรือนำมาทดลองใช้กันขึ้น แน่นอนนวกรรมการศึกษาแต่ละอย่าง จะต้องมีที่มารวมทั้งมีขั้นตอนของการเผยแพร่ออกไป และได้รับการยอมรับขึ้นในที่สุด สิ่งที่น่าจับตาดูหรือให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ กลุ่มบุคคล 3 ฝ่าย อันได้แก่ (1)นวกร (2)ผู้บริหารและ(3)ผู้ปฏิบัตินวกร อาจหมายรวมถึงบุคคลที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ ทางการศึกษาขึ้นเองซึ่งมักเป็นเทคโนโลยีการศึกษาเมื่อคิดขึ้นได้แล้วก็ทดลอง และพัฒนาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีขึ้น หรือได้มาตรฐานแล้วก็เผยแพร่ออกไป เช่นคิดวิธีจัดห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน คิดวิธีสอนจริยธรรมแบบเบญจขันธ์ เป็นต้นหรือหมายถึง หน่วยงาน เช่น โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน (RIT) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ส.ส.ว.ท.)ได้คิดวิธีใหม่ๆ ทางการเรียนด้วยตนเองหลายรูปแบบ และวิธีการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ขึ้น ทดลองและพัฒนาจนได้มาตรฐานแล้วเผยแพร่ออกไปนวกรการศึกษาบางท่านหรือบางกลุ่ม อาจได้แก่ ผู้ที่ศึกษาวิธีการใหม่ๆ มาจากการศึกษาเล่าเรียนหรือจากการอบรมแล้วนำมาเผยแพร่หรือนำมาดัดแปลง ทดลองแล้วเผยแพร่ต่อไป บางท่านอาจเป็นครูอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ มีหน้าที่ต้องสอน อบรมเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษา แก่นิสิตนักศึกษาอยู่แล้ว ก็สอนและอบรม และสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมหรือไม่ก็เป็นวิทยากรในเรื่องเหล่านี้ให้แก่ผู้อื่นที่ต้องการนำไปใช้ นวกรการศึกษาบางกลุ่มอาจได้แก่ผู้ที่ทำงานอยู่ และได้คิดค้นวิธีการใหม่ ๆจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ และพยายามเผยแพร่วิธีการใหม่ ๆ เหล่านั้น จากประสบการณ์ของตนต่อไป ถ้าหากจะกล่าวรวม ๆ แล้วนวกรการศึกษามักจะเป็นผู้ที่ คิด-รู้-เล่นเกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ ทางการศึกษา และพยายามเผยแพร่สิ่งใหม่ ๆ นั้นต่อไป แต่สิ่งที่น่าจะได้ศึกษาให้ละเอียดในเรื่องนี้ก็คือกลุ่มไหนหรือนวกรรมประเภทใดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการนำนวกรรมไปใช้มากที่สุด เพราะในการวางแผนเพื่อพัฒนา อิทธิพลทางด้านนี้จะสามารถทำได้ถูกจุดที่สุดผู้บริหาร การนำนวกรรมการศึกษาไปใช้จะต่อเนื่อง มั่นคงหรือไม่เพียงใด เรามักจะพบว่าส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ บารมีที่ได้รับจากผู้บริหาร หน่วยงานการศึกษาเริ่มตั้งแต่ความที่ท่านเหล่านั้นมีเจตคติที่ดีต่อนวกรรมการศึกษา ความเป็นผู้นำหรือผู้บุกเบิกวางแผนการใช้ไปจนถึงการให้สนับสนุน และอิสระแก่ผู้ปฏิบัติ หรือแก่การทดลองอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เพราะมิฉะนั้นแล้ว จะทำให้การปฏิบัติการใหม่ ๆ ต้องล้มลุกคลุกคลานหรือล้มเหลวเสียกลางคันเมื่อเป็นเช่นนี้

เราจึงน่าจะให้ความสำคัญต่อคุณลักษณะทางผู้บริหาร ในฐานะตัวแปรเกี่ยวกับการยอมรับนวกรรมการศึกษาได้อีกทางหนึ่ง และในบรรดาตัวแปรเหล่านั้น ตัวแปรใดมีผลต่อการงอกงามในการนำนวกรรมการศึกษาไปใช้มากน้อยอย่างไรผู้ปฏิบัติ นวกรรมการศึกษาจะมีผลต่อการศึกษาในด้านคุณภาพและการแก้ปัญหาเพียงใดหรือไม่นั้น ต้องอาศัยว่ามีผู้ยอมรับและนำเครื่องมือและวิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษาเหล่านั้นไปใช้ ผู้ปฏิบัติในที่นี้ก็คือบุคคลที่เป็นผู้รับ ผู้ใช้ และผู้สืบทอดความคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่นวกรรมและผู้บริการเผยแพร่ และสนับสนุนให้กระทำทว่า มีสิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ความคิด และวิธีปฏิบัติใหม่ ๆ ซึ่งถูกถ่ายทอดมาจากฝ่ายนวกรและผู้บริหารอย่างดีแล้ว กลับมาล้มเหลวตรงที่ผู้นำมาปฏิบัติ หรือตรงผู้ใช้นี่เอง เพราะเหตุใดเพราะอาจมีตัวแปรเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติหลายประการ ซึ่งเรายังไม่ได้ศึกษากันอย่างแท้จริงโดยรวมหรือเป็นกรณี ๆ ไปที่ส่งผลเป็นเช่นนั้น เป็นต้นว่า เจตคติที่เขามีต่อการปฏิบัติหรือวิธีการใหม่ ๆ นั้น ความตั้งใจและความสามารถที่เขามีตลอดจนความเข้าใจในนวกรรมการศึกษาอย่างแจ่มแจ้งของเขาด้วยความเป็นไปได้ ความมั่นคงและความต่อเนื่องของการยอมรับและนำนวัตกรรมการศึกษาใด ๆ ไปใช้น่าจะขึ้นอยู่กับวัฏจักรหรือปฏิสัมพันธ์ของทีมกระบวนการนวกรรม ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มบุคคลสามฝ่ายที่ได้กล่าวมาแล้ว และตัวแปรของแต่ละฝ่ายเหล่านั้น การเกิดขึ้น การเผยแพร และการยอมรับ อาจเริ่มจากนวกรการศึกษาไปยังผู้ปฏิบัติโดยตรง หรือผ่านไปทางผู้บริหารจึงไปถึงผู้ปฏิบัติก็ได้หรือผู้บริหารเป็นผู้ริเริ่ม และเป็นตัวกลางให้ผู้ปฏิบัติพบกับนวกรการศึกษา เพื่อก่อให้เกิดการนำเอาความคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่ต้องการมาใช้ก็ได้ในเรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะค้นหาให้พบจากกรณีที่เกิดขึ้นทั้งหลายทางนวกรรมการศึกษา ว่าวงจรใดที่มีผลทางบวกต่อการยอมรับนวกรรมการศึกษาที่ได้ผล และการค้นพบในเรื่องนี้จะนำไปสู่การวางแผนที่เหมาะสมของการเผยแพร่นวกรรมการศึกษาต่อไป

มีแง่คิดที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการขยายผลของการนำนวกรรมการศึกษาไปใช้ให้กว้างขวางและต่อเนื่อง ซึ่งส่วนมากดูเหมือนว่าไม่เป็นไปตามที่ต้องการ เช่นการอบรมวิธีการเขียนบทเรียนโปรแกรมให้แก่ครูของเขตการศึกษา บางวิชา บางระดับโดยหวังว่าเมื่อเขียนบทเรียนแล้วครูเหล่านั้นคงจะผลิตบทเรียนโปรแกรมขึ้นใช้กันต่อไป หรือวิทยาลัยครูจัดการอบรมการสร้างชุดการเรียนวิชาต่าง ๆ แก่อาจารย์ที่สอนวิชาเหล่านั้นและหวังเช่นเดียว แต่ปรากฏภายหลังว่า จากจำนวนผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมไปแล้วทั้งหมด จะมีเพียงไม่กี่คนที่นำไปทำ และนำไปใช้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ของการหยุดชะงัก ทำให้น่าคิดว่า ผู้ผลิตกับผู้ใช้น่าจะเป็นคนละพวกกันมากกว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกัน หรือคน ๆเดียวกัน ผู้ใช้ซึ่งแน่ละมีอยู่จำนวนมาก เป็นผู้ที่รอผลิตผลจากผู้ผลิต

ดังนั้นผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาอย่างน้อยควรจะสังกัดหน่วยงานผลิตและบริการ ซึ่งมีโครงการต่อเนื่องรองรับ หน่วยงานนี้อาจเป็นศูนย์ซึ่งมีหน้าที่คิด ทดลอง และผลิตก่อนที่จะนำไปเผยแพร่แก่ผู้ใช้ด้วยการอบรมวิธีการใช้นวกรรมการศึกษานั้นแก่เขา ดังนั้นแทนที่ผู้ใช้จะเป็นผู้ผลิตและใช้นวกรรมการศึกษาเอง ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ ก็เป็นเพียงรับการถ่ายทอดนวกรรมเพื่อใช้อย่างเดียว เท่านี้ก็พอแล้วและคิดว่านี่เป็นวิถีทางของการแพร่ขยายที่ได้ผลกว่าสรุปแล้วก็คือเส้นทาง หรือขั้นตอนของการเผยแพร่และการดำเนินการแพร่ขยายการใช้นวกรรมการศึกษาให้ได้ผลนั้น ต้องพิจารณาว่า ควรจะทำกับใคร และอย่างไรจึงจะมีผลทางการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง และกว้างขวาง จากแง่คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น ทั้งในด้านที่เกี่ยวกับการยอมรับ และระดับของการยอมรับก็ดี องค์ประกอบที่จะส่งผลต่อการยอมรับหรือไม่ยอมรับก็คือ วัฏจักร หรือ วงจรของกระบวนการนวกรรมตลอดจนการขยายผลในการใช้นวกรรมการศึกษาก็ดี จะเห็นว่ามีล้มเหลวอยู่หลายประการ และดูเหมือนจะมองเห็นกันอยู่ แต่ถ้าต้องการคำตอบไปใช้ขึ้นอยู่กับตัวแปรใดมากน้อยอย่างไร แล้วกลับเห็นไม่ค่อยชัด คงจะต้องให้ชัดแจ้งกันต่อไป ในประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นและหวังว่าถ้าทำและทำได้สำเร็จผลของการค้นพบจะสามารถนำมาเป็นข้อมูลสำหรับวางแผน ดำเนินการพัฒนางานด้านนวกรรมการศึกษาได้รัดกุม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นมาและเป็นอยู่ในขณะนี้

หมายเหตุ
สำหรับในบทความนี้ ท่าน รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท ได้ใช้คำว่า นวกรรม แทน นวัตกรรม
ซึ่งคำว่า นวกรรม ก็มีความหมายเช่นเดียวกับ นวัตกรรม อันหมายถึง การทำให้ใหม่
Readmore...

2.9 นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญต่อการศึกษา

0 comments
 
"นวัตกรรมการศึกษา" การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาดำเนินการหรือสนับสนุน ส่งผลให้การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพสูงสุด
 นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญต่อการศึกษา
ปัจจุบันมีนวัตกรรมทางการศึกษาเกิดขึ้นมากมาย ทั้งที่เป็นระบบเฉพาะ หรือ เนื้อหาเฉพาะบนระบบที่คล้ายกัน ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นส่วนช่วยให้การเรียนรู้ มีความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เรียนรู้ได้รวดเร็ว ปลอดภัย มีประสิทธิภาพต่อการตรึงพฤติกรรมในการเรียนรู้ได้ยาวนาน นวัตกรรมดังกล่าว มีอยู่หลากหลายทั้งที่เกิดขึ้นมานานแล้ว(ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง) หรือนวัตกรรมที่มีการคิดค้นบนฐานเทคโนโลยีใหม่ อาทิ
1.แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
2.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI)
3.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)
4.ศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)
5.การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
6.หน่วยความรู้เฉพาะเรื่อง (Learning Object)
7.การจัดการศึกษาผ่านเครือข่าย (Web-Based Instruction)
8.การฝึกอบรมผ่านเครือข่าย (Web-Based Training)
9.การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
10.การเรียนผ่านมือถือ (Mobile-Learning)
11.การเรียนรู้ด้วยรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาและสื่อเสียง
12. การเรียนรู้ด้วยโทรทัศน์เพื่อการศึกษา และสื่อวิดีทัศน์
13.ห้องเรียนเสมือนจริง(Virtual Classroom) การเรียนบนระบบเสมือนจริง และสถานศึกษาเสมือนจริง
14.เทคโนโลยีเว็บ (web 1.0 web 2.0 และ web 3.0)

สำหรับรายละเอียดของนวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญต่างๆเหล่านี้ จะได้ศึกษาเรียนรู้ในบทเรียน เรื่อง ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญต่อการจัดการศึกษา (บทเรียนที่ 5) หรือจะศึกษาเฉพาะเรื่องนี้โดยเฉพาะ ที่หลักสูตร "นวัตกรรมในโลกของการศึกษาปัจจุบัน"
Readmore...

2.8 ข้อสังเกตและสถานะเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

0 comments
 
"นวัตกรรมการศึกษา" การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาดำเนินการหรือสนับสนุน ส่งผลให้การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพสูงสุด

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์


ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมด หรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่สิ่งที่เคยมีนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. ความคิดหรือการกระทำนั้น มีการพิสูจน์ด้วยการทดลอง วิจัย ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์ ก่อนที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลง
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบงานในปัจจุบัน

 หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกัน แต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น นวัตกรรมไว้ดังนี้
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(กิดานันท์ มลิทอง. 2541:246)
1. นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
2. นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่
3. มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้
4. นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง

สถานะของนวัตกรรม
1. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้น อาจเก่ามาจากที่อื่นและเหมาะที่จะนำมาปฏิบัติกับสถานที่นี้ใน สถานะการณ์ปัจจุบัน
2. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้ แต่ไม่ได้ผลและล้มเลิกไป เนื่องจากเกิดปัญหาต่าง ๆ และความไม่พร้อมในระยะนั้น แต่ในสภาพปัจจุบันความคิดหรือ การปฏิบัติใหม่นั้นเหมาะสมที่จะนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง
3. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง และจะช่วยให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นถูกปฏิเสธมาครั้งหนึ่งแล้ว อาจเนื่องมาจาก ผู้บริหารไม่สนับสนุน หรือมีเจตคติ ที่ไม่ดีต่อความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้น ต่อมาผู้บริหารได้ เปลี่ยนเจตคติไปในทางที่ดีหรือมีการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารใหม่ ทำให้ความคิดหรือการปฏิบัติ ใหม่นั้นได้รับการสนับสนุนนำมาใช้
5. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดหรือปฏิบัติมาก่อน เป็นสิ่งที่ได้รับ การคิดค้นได้เป็นคนแรก

Readmore...

2.7 กระบวนการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

0 comments
 
วิวัฒนาการนวัตกรรมทางด้านการศึกษาได้มีพัฒนาการต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่เดิมที่มีการเรียนรู้จากห้องเรียน เป็นหลัก ต่อมามีการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ออกไปอีกหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบต่างมีสิ่งผูกพันเกี่ยวข้องต่อกัน


กระบวนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา

1. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เมื่อครูได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนแล้ว ก็ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนนั้นคือ กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนตามเป้าหมายของหลักสูตร เช่น ความสามารถในกระบวนการแก้ปัญหา ความสามารถในทักษะกระบวนการสร้างค่านิยม

2. กำหนดกรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนรู้เมื่อได้กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้แล้ว ครูควรศึกษาค้นคว้าหลักวิชาการ แนวคิดทฤษฎีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน และนำมาผสมผสานกับความคิดและประสบการณ์ของตนเอง กำหนดเป็นกรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนรู้ขึ้นเพื่อจัดสร้างเป็นต้นแบบนวัตกรรมขึ้น เพื่อใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

3. สร้างต้นแบบนวัตกรรม 
เมื่อตัดสินใจได้ว่าจะเลือกจัดทำนวัตกรรมชนิดใดครูผู้ต้องศึกษาวิธีการจัดทำนวัตกรรมชนิดนั้น ๆ อย่างละเอียด เช่น จะจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปในรายวิชาหนึ่ง ต้องศึกษาค้นคว้าวิธีการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปว่ามีวิธีการจัดทำอย่างไรจากเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง แล้วจัดทำต้นแบบบทเรียนสำเร็จรูปให้สมบูรณ์ตามข้อกำหนดของวิธีการทำบทเรียนสำเร็จรูป
สำหรับเครื่องมือที่ต้องใช้ในการวัดผลสัมฤทธิ์หรือเครื่องมืออื่น ๆ ต้องมีการพัฒนาเครื่องมือตามวิธีการทางวิจัยด้วย การสร้างต้นแบบนวัตกรรมจะต้องนำไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม ซึ่งมีขั้นตอนการหาประสิทธิภาพนวัตกรรม ดังต่อไปนี้

  3.1 ขั้นตอนการการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม อย่างง่ายๆ ดังนี้
  1. การหาคุณภาพของนวัตกรรมเบื้องต้น ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนในวิชานั้น ๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและการสื่อความหมาย โดยนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นพร้อมแบบประเมินที่มีแนวทาง หรือประเด็นในการพิจารณาคุณภาพให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพ
  2. นำข้อมูลในข้อที่1 ซึ่งเป็นข้อแนะนำของผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข หลังจาก นั้นจึงนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองกับผู้เรียนกลุ่มเล็ก ๆ อาจเป็น 1 คน หรือ 3 คน หรือ 5 คน แล้วแต่ความเหมาะสม โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม หรือฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้ แล้วเก็บผลระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และผลหลังการทดลองใช้นวัตกรรม เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมตามหลักการต่อไป
  3. นำผลการทดลองใช้นวัตกรรมจากผู้เรียนกลุ่มเล็กในข้อ 2 มาปรับปรุงข้อบกพร่องอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มผู้เรียนที่รับผิดชอบหรือผู้เรียนที่ต้องการแก้ปัญหาการเรียน 
   3.2 การทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรม
         การทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรม โดยทั่วไปจะใช้ทดลองกับผู้เรียนกลุ่มหนึ่งตามความเหมาะสม ซึ่งสามารถใช้วิธีการหาประสิทธิภาพได้ดังนี้
  1. วิธีบรรยายเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม โดยการบันทึกหรือเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดผลผู้เรียนด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม แล้วจึงนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบการบรรยายเชิงคุณภาพเพื่อแสดงให้เห็นว่าหลังการใช้นวัตกรรมแล้ว ผู้เรียนมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจมากน้อยเพียงใด
  2.  วิธีนิยามตัวบ่งชี้ที่แสดงผลลัพธ์ที่ต้องการ แล้วเปรียบเทียบข้อมูลก่อนใช้และหลังใช้นวัตกรรม เช่น กำหนดผลสัมฤทธิ์ไว้ ร้อยละ 65 แสดงว่าหลังจากการใช้นวัตกรรมแล้ว ผู้เรียนทุกคนที่เป็นกลุ่มทดลองจะต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 65 จึงจะถือว่านวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพ
  3. วิธีคำนวณหาอัตราส่วนระหว่างร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่สอบแบบทดสอบอิงเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (P1) ต่อร้อยละของคะแนนเต็มที่กำหนดเกณฑ์การผ่านไว้ (P2) เช่น P1 : P2 = 70 : 60 หมายความว่า กำหนดเกณฑ์การผ่านไว้ต้องมีผู้เรียนร้อยละ 70 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม จึงจะแสดงว่านวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพ 
4. ทดลองใช้นวัตกรรม
การทดลองภาคสนามเพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการทดลอง ใช้นวัตกรรมกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มทดลอง (กลุ่มที่ต้องการแก้ปัญหา) ในสภาพในกลุ่มเรียนจริง วิธีดำเนินการเหมือนกับวิธีการทดลองกับกลุ่มเล็กทุกอย่าง ต่างกันที่จุดประสงค์ของการใช้นวัตกรรม ซึ่งการทดลองในที่ผ่านมาถือว่าเป็นการกระทำเพื่อหาข้อบกพร่องที่ควรแก้ไข ผู้เรียนเปรียบเสมือนที่ปรึกษา และนวัตกรรมที่ใช้ก็เป็นเพียงการยกร่าง เมื่อผ่านการทดลองกับกลุ่มเล็กแล้ว จึงจะถือว่าเป็นบทเรียนฉบับจริง การทดลองภาคสนามก็เป็นการทดลองโดยเป็นการนำไปใช้จริง
ก่อนเริ่มใช้นวัตกรรมผู้สอนควรแนะนำผู้เรียนให้เข้าใจวิธีเรียนเสียก่อน และให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน และเมื่อใช้นวัตกรรมเสร็จแล้วก็ต้องมีการทดสอบหลังเรียนอีกครั้ง
5. เผยแพร่นวัตกรรม
เมื่อนำนวัตกรรมไปขยายผลโดยให้ผู้อื่นทดลองใช้และให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไขจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็จัดทำนวัตกรรมนั้นเผยแพร่เพื่อบริการให้ใช้กันแพร่หลายต่อไป
Readmore...

test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand