"นวัตกรรมการศึกษา" การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ
หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี
ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาดำเนินการหรือสนับสนุน
ส่งผลให้การเรียนรู้
มีประสิทธิภาพสูงสุด
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1. นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
2. นวัตกรรมการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก |
2. นวัตกรรมการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก
|
|
สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ (บุญเกื้อ ควรหาเวช. 2520 : 10-11)
2.1
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Difference)
2.2
ความพร้อม(Readiness)
2.3 การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Use of Time)
2.4 การขยายตัวทางวิชาการ-การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร |
2.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Difference)
|
การจัด การศึกษาตามแผนการศึกษาแทบทุกฉบับ
มุ่งให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่าง บุคคลโดยพิจารณาความถนัด ความสนใจ
ความสามารถ ตลอดจนบุคลิกลักษณะของผู้เรียน แต่ละคนเป็นเกณฑ์
นวัตกรรมการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวคิดพื้นฐานด้านนี้มีหลายอย่างคือ
2.1.1
การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
2.1.2 เครื่องสอน (Teaching
Machine)
2.1.3 บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนด้วยตนเอง (Programmed Text Book or
Programmed Instruction)
2.1.4 สื่อประสม (Multi-media ) หรือชุดการสอน
(Learning Packages)
2.1.5 การสอนแบบเป็นคณะ (Team Teaching)
2.1.6
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School Within School)
2.1.7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction)
2.1.8 ชุดการสอนย่อย (Minicourse)
2.2 ความพร้อม(Readiness)
|
ความพร้อมสามารถสร้างขึ้นได้ในตัวผู้เรียน ดังนั้นการจัดลำดับเนื้อหา
ผนวกกับการนำ นวัตกรรมที่เหมาะสมมาใช้จะช่วยสร้างความพร้อม ได้อย่างดี
นวัตกรรมการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ มีหลายอย่างดังนี้
2.2.1 ศูนย์การเรียน (Learning Center)
2.2.2 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School Within School)
2.2.3 การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional
Development in Three Phases)
2.3 การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Use of Time)
|
แนวการจัดหน่วยเวลา สำหรับการเรียนการสอนในปัจจุบันยึดถือความสัมพันธ์ ของเวลา
กับลักษณะเนื้อหาของแต่ละ วิชานั่นคือ เนื้อหาวิชาเป็นตัวแปรหลัก
ส่วนเวลาเป็นตัวแปรตามซึ่งแตกต่างจากแนวการจัด แบบเดิมมาก
ดังนั้นแต่ละวิชาจึงมีช่วงเวลาการสอนไม่เท่ากัน และสถานที่เรียนก็ไม่จำกัดอยู่
เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น นวัตกรรมการศึกษาที่สนองแนวคิด พื้นฐานด้านนี้ ได้แก่
2.3.1 การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
2.3.2
มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
2.3.3 แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text
Book)
2.3.4 การเรียนทางไกล (Distance Education) และการเรียน ทางไปรษณีย์
(Mailed Education)
2.4
การขยายตัวทางด้านวิชาการและการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร
|
ปัจจุบันนี้การขยายตัวทางด้านวิชาการมีมากและ รวดเร็วมากมีการคิดค้นวิชาการใหม่
ๆ แปลก ๆ เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคม โดยเฉพาะวิชาการด้านวิชาชีพ และการ
ใช้เวลาในการเรียนก็แตกต่างจากเดิมมาก วิชาที่ใช้เวลาเรียนสั้น ๆ
ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะ การฝึกอบรม การเสริมความรู้ การศึกษาแบบอิสระ
มีเพิ่มมากขึ้นจำนวนผู้เรียนก็เปลี่ยนไป คือ แต่เดิมอัตราการเพิ่มของประชากรมีน้อย
ระยะหลัง ๆ การเพิ่มมีมากเนื่องจากอัตรา การเกิดสูง
แต่ในปัจจุบันการคุมกำเนิดได้ผลมาก อัตราการเกิดก็ต่ำทำให้อัตราการเพิ่ม
ของประชากรน้อยด้วย นวัตกรรมที่นำมาใช้จัดการศึกษา จึงแตกต่างกันไป ตามองค์ประกอบ
เหล่านั้น นวัตกรรมการศึกษา*ี่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ มีดังนี้
2.4.1 มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
2.4.2 การเรียนทางสื่อมวลชน (Mass
Communication Education) อันได้แก่ การเรียนทางวิทยุ การเรียนทาง โทรทัศน์
การเรียนทางไปรษณีย์ ตลอดจนการเรียนจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
2.4.3
สื่อประสม (Multi-Media ) หรือ ชุด การสอน (Learning Packages) |
|
|
|