วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

2.5_1 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา : นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

0 comments
 
"นวัตกรรมการศึกษา" การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาดำเนินการหรือสนับสนุน ส่งผลให้การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพสูงสุด
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ซึ่ง นักวิชาการได้แบ่งประเภทของนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายลักษณะ แต่จะขอจำแนกในส่วนที่สำคัญ 2 ลักษณะ คือ
1. นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
2. นวัตกรรมการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก
1. นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

เป็นนวัตกรรมที่มีขอบเขต เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกด้าน ตั้งแต่หลักสูตร การเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยี ทางการศึกษา การวัดและประเมินผล และการบริหาร ทัศนา แขมมณี (2526 : 13) และวาทิต ระถี (2531) ได้แบ่งประเภทนวัตกรรมการศึกษาออกเป็น 5 ด้าน คือ

1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

 1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎี และปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1. หลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum) เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2. หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3. หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์ (Activity or Experience Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
4. หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการการมีออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง
และ
- การจัดหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ (Function Literacy)
- การจัดหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ ตามลำดับขั้นจนบรรลุเป้าหมาย (Mastery Learning Curriculum)
- หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (Individualized Curriculum)

 2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบ แก้ปัญหาการพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่าง นวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่
- การสอนแบบโมดุล (Module Teaching)
- การสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
- การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์(Group Process Teaching)
- การสอนซ่อมเสริม (Remidial Teaching)
- การสอนโดยเพื่อน สอนเพื่อน (Peers Teaching)
- การสอนแบบพี่สอนน้อง (Monitoring) และการปรับพฤติกรรม (Behavioral Modification)
- การสอนเป็นรายบุคคล(Individualized Instruction)
- การเรียนแบบรู้รอบ(Mastery Learning)
- การเรียนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การสอนแบบบูรณาการ(Integrative Techniques)
- การสอน แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)
- การสอนแบบโครงการ อาร์ ไอ ที(Reduced Instructional Time)
- การสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอน (Instructional Package)
- การสร้างบทเรียนให้เรียนด้วยตนเอง (Personalized System Instruction)
- การสอนโดยให้ทางบ้านดูแลการฝึกปฏิบัติ (Home Training)
- ชุดการสอนย่อย (Minicourse)
- การเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
- การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ
 3. นวัตกรรมสื่อการสอน(และเทคโนโลยีการศึกษา)
เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่
่ - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer-Assisted Instruction)
- มัลติมีเดีย (Multimedia)
- การประชุมทางไกล (Tele Conference)
- วีดีทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Media/Video)
- บทเรียนสำเร็จรูป (Programed Instruction)
- เครื่องช่วยสอน(Teaching Machine)
- วิทยุและโทรทัศน์ช่วยสอน (Teaching By Radio and TV)
- ชุดการสอน (Learning Packages)
  4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่
- การพัฒนาคลังข้อสอบ
- การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
- การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา
- การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
- การวัดผลแบบอิงกลุ่มและแบบอิงเกณฑ์ (Formative and Summative Evaluation)
- การประเมินผลเพื่อแก้ข้อ บกพร่อง (Diagnostic Evaluation)
- การเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ (Automatic Promotion)
- การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-test)
นวัตกรรมทางด้านการประเมินผลนับเป็นเรื่องที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีเหมือนบางสถาบันการศึกษาเท่านั้นที่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากบางสถาบันยังไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และขาดบุคลากร ที่มีความอำนวยด้านการออกแบบระบบและการพัฒนาเครือข่าย ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาอีกช่วงหนึ่งที่จะพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในสถาบัน
  5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ
เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหาร เช่น
- การจัดการศึกษาแบบเปิด (Open University)
- การจัดการศึกษาตามแนวมานุษยนิยม (Humanistic Education)
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- การจัดการศึกษานอกโรงเรียน (Non-Formal Education)
- การจัดโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก (Summer Hill School)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School Within School)
- การจัดโรงเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- การเกณฑ์เด็กสองกลุ่มอายุ
และจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand