วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

12.7 ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในสถานศึกษา

3 comments
 
สถานศึกษาส่วนใหญ่ในปัจจุบันแม้ว่าจะเริ่มให้ความสนใจต่อปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์กันอย่างจริงจัง แต่จากสภาพความเป็นจริง พบว่า ครู บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงนักเรียน นักศึกษา ยังขาดความเข้าใจในสิทธิของการไฟล์ข้อมูลมัลติมีเดียต่างๆ โดยเฉพาะการใช้โปรแกรมหรือตัวซอฟท์แวร์ที่มีอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานสถานศึกษาที่มีอยู่ว่าถูกต้องลิขสิทธิ์หรือไม่


 ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในสถานศึกษา
ตามกฎหมาย การรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิ์ในโปรแกรม หรือซอฟท์แวร์ดังกล่าวจะตกเป็นของผู้ครอบครองการใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ รวมถึงผู้บริหารสถานศึกษาแห่งนั้นด้วย
ลิขสิทธิ์ในที่นี้ มีอยู่ 3 ลักษณะ อันได้แก่
  1. ลิขสิทธิ์ในตัวโปรแกรมหรือ ซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สถานศึกษา
  2. ลิขสิทธิ์ของผลงานทางวิชาการของสถานศึกษา
  3. ลิขสิทธิ์ผลงานสื่อรูปแบบต่างๆที่นำเข้ามาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถานศึกษา
    อาทิ ไฟล์เพลง ไฟล์วิดีทัศน์ หรือมัลติมีเดียในรูปแบบต่างๆที่จุดประสงค์หลักผู้สร้าง ทำไว้เพื่อเชิงพาณิชย์

ปัจจุบันพบว่าสถานศึกษามีศักยภาพในการจัดการศึกษา มีห้องคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ มีโปรแกรมสำหรับใช้ ดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาที่หลากหลาย แต่สถานศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงสิทธิที่มีในโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์เหล่านั้น ซึ่งพบว่า โปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่มีอยู่นั้นเป็นโปรแกรมซอฟท์แวร์ผิดกฎหมาย ละเมิดลิขสิทธ์แทบทั้งสิ้น นอกจากนี้การพัฒนาโครงข่ายของยสถานศึกษา เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน แต่ในเวลาเดียวกันก็พบว่า ช่องทางสำหรับการรับส่งสัญญาณ (Bandwidth) ของสถานศึกษานั้นอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดโดยอาจเป็นแหล่งที่เก็บข้อมูล สื่อละเมิดสิทธิ์ และละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆ (อาทิ ผลงานทางวิชาการต่างๆ ไฟล์เพลง ไฟล์วิดีทัศน์ รูปภาพ ที่มีจุดประสงค์ในเชิงพานิชย์ โปรแกรมหรือ ซอฟท์แวร์ต่างๆ) และอาจเป็นเครือข่ายออนไลน์ที่เป็นต้นทางในการป้อนหรือคัดลอกข้อมูลให้แก่ผู้ดาวน์โหลดทั่วโลก การใช้ไฟล์ร่วมกันอย่างผิดกฎหมาย (illegal file-sharing) อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อันเนื่องมาจากการได้รับไวรัสคอมพิวเตอร์ การจารกรรมข้อมูล และการคุกคามความปลอดภัยทางข้อมูลของสถานศึกษาด้วย
การละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ทั้งครูผู้สอน ผู้เรียน ของหน่วยงานสถานศึกษาต้องถูกไต่สวนทางกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าการกระทำความผิด รวมถึงหน่วยงาน สถานศึกษาอาจต้องร่วมรับผิดชอบจากผลของการกระทำดังกล่าวด้วยเช่นกัน

ตามหลักการแล้วสถาบันการศึกษามีหน้าที่ในการสร้างทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งก็มีขั้นตอนมาก มายที่สถาบันการศึกษาสามารถทำได้และควรกระทำเพื่อเป็นการป้องกัน หรือเฝ้าระวังพฤติกรรมการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเกียวโยงถึงปัญหาด้านความปลอดภัยต่อเครือข่าย รวมถึงการสื่อสารการทำความเข้าใจและให้ความรู้แก่นักศึกษา และบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง การเฝ้าระวังเพื่อให้สภาวะออนไลน์มีความปลอดภัย และการใช้เครื่องมือป้องกัน ทางเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ


 การวิเคราะห์ปัญหา
ปัจจัยหลักที่พบในหน่วยงานสถานศึกษา ส่วนใหญ่ มาจากการใช้งานซอฟท์แวร์เถื่อน การเข้าถึงข้อมูลออนไลน์แล้วนำไปแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งส่วนตนเอง และทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นผลงานทางวิชาการ สื่อมัลติมีเดีย จำพวกเพลง วิดีทัศน์ ที่มีผู้นำมาวางไว้บนเครือข่าย ปัญหาเหล่านี้มาจาก การขาดงบประมาณด้านการซื้อซอฟท์แวร์ ขาดการให้ความรู้ด้านสิทธิในซอฟท์แวร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ หรือสิทธิของการใช้สื่อมัลติมีเดีย เพราะผู้ใช้ในหน่วยงาน สถานศึกษา ต่างไม่ได้รับรู้ว่า โปรแกรมการใช้งานที่มีอยู่ในเครื่องของหน่วยงานสถานศึกษานั้นถูกกฎหมายหรือไม่ บางรายไม่เข้าใจถึงสิทธิการครอบครองของซอฟท์แวร์ ที่สำคัญเป็นความเคยชินในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต่างเข้าใจว่า เมื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะได้โปรแกรมต่างๆ ติดมาด้วย ดังนั้น หน่วยงาน สถานศึกษา จำเป็นต้องมีการให้ความรู้ และให้เกิดการตระหนักของการใช้งานคอมพิวเตอร์ รวมถึงสิทธิต่างๆที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องรับทราบ


แนวทางการแก้ไขปัญหา
หน่วยงานทางการศึกษา บุคลากรในองค์กร ต้องร่วมกันศึกษา วางแผน และดำเนินการ
  1. จัดแผนการพัฒนา การปรับปรุง การใช้โปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ลิขสิทธ์
    โดยการสำรวจความต้องการในหน่วยงานถึงความจำเป็นในการใช้โปรแกรม ทำการตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อปลดโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่ไม่จำเป็นต่อการใช้งานออกจากระบบ
  2. จัดงบประมาณเพื่อจัดซื้อโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์นำมาติดตั้ง
    ซึ่งงบประมาณดังกล่าวต้องใช้เป็นจำนวนมาก ไม่อาจเสร็จสิ้นในทันทีในปีหนึ่งได้ จึงต้องดำเนินการเป็นช่วงเวลาโดยอาจจะตั้งเป็นแผนระยะยาว 3-5 ปี
  3. การให้ความรู้ การสื่อสารทำความเข้าใจ รวมถึงข้อกฎหมาย กำหนดนโยบายด้านลิขสิทธิ์ที่เหมาะสม
    เร่งรัดการให้ความรู้แก่ครูผู้สอนและผู้เรียนให้เข้าใจว่าการใช้โปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่นำมาจากแหล่งอื่น ไม่ได้เป็นผู้ถือครองสิทธิ์ จึงไม่มีสิทธิ์ในการใช้ รวมถึงคัดลอกและการถ่ายโอนข้อมูล งาน หรือ ไฟล์เพลง ไฟล์วิดีโอ ไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ หรืองานที่สร้างสรรค์ของบุคคลอื่นๆโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และผิดกฎหมาย
  4. กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายให้เป็นมาตรการของสถานศึกษา
    มีคณะทำงานเพื่อทำการตรวจสอบสิ่งที่อยู่ในคอมพิวเตอร์และลบเนื้อหาหรือข้อมูลที่ละเมิดลิขสิทธิ์ออก นอกจากกรณีที่สถาบันการศึกษา ต้องตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ของสถานศึกษา เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ อาทิ การใช้โปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไฟล์เพลง ไฟล์วิดีโอ ไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ และงานสร้างสรรค์ประเภทอื่นๆ ที่มีลิขสิทธิ์ไว้ในรายการเพื่อที่ต้องทำการตรวจสอบอีกด้วย

    โดยปกติแล้ว เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียงที่มีการจำหน่ายในปัจจุบัน อาทิ เช่น เทป, ซีดี, ดีวีดี รวมถึง การอนุญาตให้ดาวน์โหลดผ่านระบบออนไลน์ ไม่เคยอนุญาตให้มีการคัดลอกสำเนาเพลง, ไม่เคยอนุญาตให้มีการจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่ายออนไลน์ และไม่เคยอนุญาตให้มีการแจกจ่ายเพลงอันมี ลิขสิทธิ์เหล่านั้นทางอินเตอร์เน็ต ยกเว้นจะดำเนินการโดยผ่านผู้ให้บริการทางดนตรี หรือเสียงเพลงที่ได้รับการรับรองโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือภายใต้สัญญาข้อตกลงที่ชัดเจนจากเจ้าของลิขสิทธิ์



ดังนั้น..... “การทำซ้ำเพื่อส่วนตัว” “การใช้งานเพื่อการศึกษา” “การใช้งานตามข้อยกเว้นของกฏหมาย” “การทำสำเนาเพื่อการทดลองใช้” หรือข้ออ้างอื่นใดดังกล่าว ไม่ได้มีความหมายว่าเป็นการอนุญาตให้มีการจัดเก็บหรือส่งต่อเพลง หรือข้อมูลในสิ่งบันทึกเสียงที่จัดทำเพื่อจำหน่ายในทางการค้าผ่านระบบห้องสมุด หรือผ่านเครือข่ายของสถานศึกษาใดๆ


     5. ศึกษาแนวทางการนำเทคโนโลยีเพื่อควบคุมการใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกัน (FILE-SHARING)
         ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีใหม่ๆที่ออกมาจำหน่ายเพื่อวัตถุประสงค์ ในการจัดการหรือป้องกันพฤติกรรมการใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันที่ผิดกฏหมายอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะ การป้องกันการใช้โปรแกรมการแลกเปลี่ยนไฟล์โดยตรงโดยไม่ผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง (P2P) ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตการจำกัดการติดตั้งซอฟแวร์และกิจกรรมการใช้ไฟล์ร่วมกันที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ถูกต้องบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยนั้น เป็นแนวทางง่าย ๆ แนวทางหนึ่งในการลดปัญหาด้านลิขสิทธิ์และความปลอดภัย หยุดการละเมิดลิขสิทธิ์ในวงกว้างก่อนที่จะเกิดการละเมิดขึ้น




การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์คือการคัดลอกหรือแจกจ่ายซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการคัดลอก ดาวน์โหลด แลกเปลี่ยน ขาย หรือติดตั้งหลายสำเนาไว้ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัวหรือที่ทำงาน สิ่งที่ผู้คนจำนวนมากไม่ได้ตระหนักหรือคาดคิดคือเมื่อคุณซื้อซอฟต์แวร์ จะหมายถึงคุณกำลังซื้อใบอนุญาตเพื่อใช้ซอฟต์แวร์ ไม่ใช่การซื้อซอฟต์แวร์จริง ใบอนุญาตจะบอกคุณให้ทราบถึงจำนวนครั้งที่คุณสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ได้ ดังนั้นจึงมีความสำคัญมากที่จะต้องอ่าน หากคุณคัดลอกซอฟต์แวร์มากกว่าที่ใบอนุญาตกำหนด นั่นหมายถึงคุณกำลังโจรกรรม





ปัจจุบันพบว่า อัตราการละเมิดสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคล การล่วงละเมิดไปยังองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มีอีตราแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าใน 20 อันดับของประเทศทั่วโลก ยังไม่ปรากฎประเทศไทย แต่จากการประเมินเฉพาะการละเมิดลิขสิทธิ์ทางด้านซอฟท์แวร์อย่างเดียวโดย BSA ประเทศไทยก็อยู่ในลำดับต้นๆของธุรกิจซอฟท์แวร์เถื่อน นอกจากนี้การบุกรุกเข้าเครือข่ายของภาครัฐและเอกชน เริ่มมี การเข้าถึงระบบอย่างต่อเนื่อง ทำให้หน่วยงาน ทั้งราชการต้องให้ความสำคัญต่อภัยร้ายในด้านนี้ โดยกำหนดลงในเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ว่าด้วยส่วนราชการจะต้องมีระบบรองรับภาวะฉุกเฉินด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้ดำเนินการให้ส่วนราชการทุกหน่วยงานในสังกัดของทุกกระทรวง ได้จัดทำแผนสำรองภาวะฉุกเฉินด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแระจำทุกปี อย่างต่อเนื่อง
Readmore...

12.6 ปัญหาด้านสิทธิและข้อกฎหมาย

2 comments
 
ในปัจจุบันอัตราการขยายตัวของผู้ใช้งานผ่านระบบเครือข่ายและอินเทอร์เนตทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีมากขึ้น เป็นการเติบโตที่รวดเร็ว จะเห็นได้จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เนตในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี หลายล้านคน เกิดสังคมและชุมชนใหม่ๆในโลกไซเบอร์ที่มีทั้งสังคมที่ดีนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้ การศึกษา การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ และอื่นๆ

 
 ปัญหาด้านสิทธิและข้อกฎหมาย
แต่ในโลกของสังคมที่แวดล้อมไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นำมาซึ่งความสะดวกสบาย เกิดพัฒนาการทางความคิด จากมวลความรู้ ที่มากมายมหาศาลบนโลกเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว กว้างไกล แต่ในความก้าวหน้าของสังคมที่เกิดขึ้น สังคมร้ายที่แอบแฝง มีพัฒนาการในการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคล สิทธิขององค์กรในหลายลักษณะโดยเฉพาะการลุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรง สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง นับมูลค่ามหาศาล ดังนั้น ในทุกๆประเทศรวมทั้งประเทศไทย จึงต้องมีกฎหมายให้การคุ้มครองสิทธิพื้นฐานต่างๆ กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสังคม

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศมิได้มีเฉพาะในด้านดี แต่ยังนำมาซึ่งปัญหาใหม่ๆที่เรียกว่า อาชญากรรมบนเครือข่าย ตัวอย่างเช่น
  1. อาชญากรรมการขโมยข้อมูล
    อาชญากรรมประเภทนี้อยู่ ในรูปของการเข้าถึงระบบเพื่อขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ
  2. แพร่ข้อมูลหลอกลวง
    เป็นการส่งข้อมูลถึงผู้บริโภคด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือข้อมูลหลอกลวง ซึ่งบางเรื่องเกิดการลุกลามแพร่กระจายไปอย่างมาก และรวดเร็ว จนระบบเมล์ขององค์กรหรือหน่วยงานในบางแห่งไม่สามารถที่จะรองรับข้อมูลเมล์ได้ เป็นผลทำให้ระบบล่มทันที
  3. การเผยแพร่ข้อมูลที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
    การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยการเผยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วน บุคคล เช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง
  4. การบุกรุกและทำลายข้อมูล
    การเข้าถึงระบบฐานข้อมูลส่วนบุคคลหรือองค์กรโดยที่ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรง ปัจจุบันพบว่ามีเว็บไซต์หลายแห่งทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน ถูกบุกรุกเข้าดู ค้นหา แก้ไข ทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ ทำให้เกิดความเสียหายโดยรวม
  5. การโจมตีเผยแพร่ไวรัส
    ปัจจุบันพบว่า การโจมตีการเผยแพร่ไวรัสไปยังเวปไซต์ ไปยังอีเมล์ต่างๆ นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขี้น สร้างผลร้ายโดยรวม เป็นอันมาก ยิ่งเทคโนโลยีการใช้สื่อพกพาประเภท Flash drive ที่นิยมกันอย่างมาก ก็ยิ่งเป็นส่วนนำพาแพร่กระจายไวรัสได้มากยิ่งขึ้น
  6. การใช้ช่องทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการประกอบอาชญากรรมหรือสิ่งผิดกฎหมาย
    หน่วยงาน สถานศึกษา สถานที่ราชการหลายแห่ง ได้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาน (WiFi) ซึ่งบางแห่งเป็นบริการสาธารณะเปิดใช้โดยไม่มีระบบการเข้ารหัสการใช้งาน ซึ่งอาจจะมีผู้ใช้ช่องทางนี้ นำไปประกอบอาชญากรรม หรือกระทำความผิด ในลักษณะต่างๆอาทิ การซั่งซื้อของผิดกฎหมาย การก่ออาชญากรรมทางการเงิน การส่งข่าวสารที่เป็นภัยต่อบุคคล ต่อองค์กร ต่อความมั่นคง และในด้านอื่นๆ อีก

 

 
กรอบสาระของกฎหมายที่ถูกระบุไว้ข้างต้นนี้ ถูกใช้เป็นข้อมูลหลักในกระบวนการการจัดทำกฎหมาย ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ หรือยุบรวมกันในระหว่างกระบวนการจัดทำกฎหมายได้ ดังจะเห็นได้จากกฎหมายที่มีผลใช้บังคับ คือ พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รวมเอากรอบสาระของกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้ด้วยกัน พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2545 กฎหมายดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์อย่างมาก ทั้งต่อตัวผู้กระทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม เพราะกฎหมายดังกล่าวได้ระบุเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วย ซึ่งเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้วทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ จะต้องปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้วย การบังคับใช้กฎหมายจึงจะบรรลุตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้
นอกจากนี้ยังมีกฎหมายสำคัญอีกฉบับคือ พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พศ. 2550 ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลายต้องรับทราบและเข้าใจ เพราะนอกจากคำว่า “กฎหมาย” จะเป็นเหมือนข้อบังคับสำหรับทุกบุคคล ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายต้อง รับรู้รับทราบแล้ว รายละเอียดในกฎหมายฉบับนี้ยังเกี่ยวข้องกับสิทธิที่ควรทราบ และบทลงโทษ ที่คนทั่วไปที่ใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศทั่วๆไปอาจละเมิดได้

 

 การวิเคราะห์ปัญหา
 การวิเคราะห์ปัญหาสิทธิและข้อกฎหมายในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มทวีความรุนแรง และไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่นอย่างรวดเร็วหรือเฉียบพลันได้ การกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิดจึงเป็นสิ่งจำเป็น ผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับบทลงโทษ หรือสัญญา ที่จะต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันปัญหาสังคมที่จะมากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ (Copyright) ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น จะเริ่มจากการแก้ปัญหาที่ตัวบุคคล จากนั้นจะพิจารณาแก้ปัญหาด้วยวิธีการในการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคม ก่อนที่จะใช้วิธีการบังคับด้วยกฎหมาย ซึ่งจะใช้กับปัญหาที่รุนแรง อย่างไรก็ตามวิธีการแก้ปัญหาด้วยการบังคับใช้กฎหมายนั้นจะไม่ยั่งยืน ผิดกับแนวทางในการสร้างจริยธรรมในหมู่ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง ซึ่งในตอนถัดไปจะกล่าวถึงจริยธรรม และกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

 
แนวทางการแก้ไขปัญหา
การแก้ปัญหาโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการแก้ไขปัญหาสังคมโดยทั่วไปนั้น การเสริมสร้างจริยธรรมในหมู่สมาชิกในสังคมเป็นทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนที่สุด แต่ความเป็นจริงนั้นเราไม่สามารถสร้างจริยธรรมให้กับปัจเจกบุคคลโดยทั่วถึงได้ ดังนั้นสังคมจึงได้สร้างกลไกใหม่ขึ้นไว้บังคับใช้ในรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม อย่างไรก็ตามเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น รูปแบบของปัญหาสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นจะต้องตราเป็นกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ในลักษณะต่างๆ รวมถึงกฎหมายด้วย ในกรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต ทำให้รูปแบบของปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีกลไกในรูปของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ใช้บังคับ
สำหรับในประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยได้มีการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ระบุว่า “รัฐจะต้องพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ”

 

 
 กฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ควรรู้

 
ในฐานะที่ท่านเป็นอีกคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ท่านก็จำเป็นจะต้องศึกษาเรียนรู้กฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไว้ เพื่อที่จะได้ทราบถึงสิทธิ ข้อความระวัง และการคุ้มครองสิทธิของท่านในฐานะผู้ใช้งาน ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องในการใช้ระบบ


กฎหมายด้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหลายฉบับ โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
  1. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ Computer Relate Crime) :
    เพื่อคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอันถือเป็นทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง (Intangible Object) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ไปแล้ว
     
  2. กฎหมายพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Commerce) :
    เพื่อคุ้มครองการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ในด้านต่างปัจจุบันมีกฎหมายที่ประกาศใช้แล้ว คือ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ภายใน พรบ. ฉบับนี้ จะมีส่วนสำคัญในเรื่องของการใช้ลายมืออิเล็กทรอนิกส์ รวมอยู่ด้วย เพื่อให้การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในอันที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยี เพื่อการลงลายมือชื่อ เช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อแบบธรรมดา สามารถระบุตัวบุคคลผู้ลงลายมือชื่อ สามารถแสดงได้ว่าบุคคลนั้นเห็นด้วยกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์กำกับอยู่
     
  3. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) :
    เพื่อวางกลไกในการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีประมิทธิภาพ ทั้งสร้างหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง (Universal Service) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ
  • พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543
  • พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
  • พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๙
  • พรบ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
  • พรบ.โทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ.2477
  • พรบ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497
  • พรบ.โทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ.2517
  • พรบ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498
  • พรบ.คุ้มครองการดำเนินงานขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก พ.ศ.2522
  • พรบ.คุ้มครองการดำเนินงานขององค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ
  • พรบ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519
  • พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ฯ
  • พรบ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544

นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับ ที่รอการดำเนินการ อาทิ
  • กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Funds Tranfer) :
    เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างหลักประกันที่มั่นคง
  • กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) :
    เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวจากการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ
  • กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI ) :
    เพื่อที่จะเอื้อให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็คทรอนิกส์ได้
  • กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

 
ปัจจุบันพบว่า อัตราการละเมิดสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคล การล่วงละเมิดไปยังองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มีอีตราแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าใน 20 อันดับของประเทศทั่วโลก ยังไม่ปรากฎประเทศไทย แต่จากการประเมินเฉพาะการละเมิดลิขสิทธิ์ทางด้านซอฟท์แวร์อย่างเดียวโดย BSA ประเทศไทยก็อยู่ในลำดับต้นๆของธุรกิจซอฟท์แวร์เถื่อน นอกจากนี้การบุกรุกเข้าเครือข่ายของภาครัฐและเอกชน เริ่มมี การเข้าถึงระบบอย่างต่อเนื่อง ทำให้หน่วยงาน ทั้งราชการต้องให้ความสำคัญต่อภัยร้ายในด้านนี้ โดยกำหนดลงในเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ว่าด้วยส่วนราชการจะต้องมีระบบรองรับภาวะฉุกเฉินด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้ดำเนินการให้ส่วนราชการทุกหน่วยงานในสังกัดของทุกกระทรวง ได้จัดทำแผนสำรองภาวะฉุกเฉินด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแระจำทุกปี อย่างต่อเนื่อง
Readmore...

12.5 ปัญหาและผลกระทบด้านสังคม

1 comments
 
ปัจจุบันมนุษย์เราได้รับประโยชน์มหาศาลจากการใช้ช่องทาง เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง การติดต่อสื่อสาร ซึ่งเทคโนโลยีเครือข่ายได้ผสมผสานกลไกการเชื่อมโยงไม่ว่าจะคอมพิวเตอร์ สื่อพกพาต่างๆ ระบบโทรศัพท์ ต่างเชื่อมโยงเข้าถึงกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งสื่อต่างๆเหล่านี้มีผลต่อวิถีของชีวิตมนุษย์ หากใช้สื่อต่างๆเหล่านี้ไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นได้

 
การเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจในปัญหาสังคมที่เกิดจากการใช้สื่อสารสนเทศเหล่านี้จึงมีความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อที่มนุษย์สามารถดำรงอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่นี้ได้อย่างชาญฉลาด ในสังคมปกติการติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปนั้นจะมีเรื่องของ มารยาทและจริยธรรม เป็นแนวทางในการกำหนดให้สมาชิกในสังคมนั้นปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะสม แต่ไม่มีการลงโทษอย่างเป็นทางการหากเกิดการละเมิดหรือกระทำผิดหลักมารยาทหรือจริยธรรม ดังนั้นรัฐจึงตรากฎหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามเป็นมาตรการสูงสุดในการควบคุมและลงโทษ ดังนั้น การศึกษาหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม ที่เกิดจากสื่อสารสนเทศจะต้องทำควบคู่กันไปกับการใช้ประโยชน์ การตระหนักในเรื่องมารยาทและจริยธรรมของผู้ใช้สื่อสารสนเทศ เป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น การสร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคม จะสามารถช่วยแก้ปัญหาสังคมเหล่านี้ได้ในเบื้องต้น แต่หากเมื่อปัญหามีความรุนแรงก็ต้องใช้กฎหมายมาควบคุม โดยในบทนี้จะกล่าวถึงมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พึงรู้ ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เราสามารถพิจารณาปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จากการวิเคราะห์ทัศนคติต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในมุมมองที่แตกต่างกัน

 

 
 ปัญหาทางสังคมที่พบมากที่สุด
ปัญหาทางสังคมในการใช้เทคโนดลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันที่พบมากที่สุด พอสรุป ปัญหาได้ ดังนี้
  1. มีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์
  2. ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ที่มีพัฒนาการที่ดีและรวดเร็วขึ้น
  3. เกิดการแพร่กระจายของข้อมูลที่เป็นเท็จมากขึ้น
  4. เกิดข้อมูลหลอกลวง
  5. สะดวกสบายมากขึ้นแต่ก็มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
  6. เกิดการบุกรุก โจมตีข้อมูลองค์กรและส่วนราชการ
  7. มีผลกระทบต่อการศึกษา ผู้เรียน เด็ก ติดเกม มากขึ้น
  8. เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์
  9. นำเทคโนโลยีมาใช้ในทางที่ผิด
  10. เป็นช่องทางในการเกิดอาชญากรรม
  11. เกิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

 
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
  1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น
  2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
    ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควร
  3. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
    แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีนั้นสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้ การดำรงอยู่และส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีและ
  4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน
    ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคม พึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และหาการป้องกัน
  5. ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ
  6. ใช้แนวทางการบังคับให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิด เป็นสิ่งจำเป็น ผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ

 
 กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ :  ไม่มีใครปฏิเสธว่า อินเทอร์เน็ตมีบทบาทต่อชีวิตคนทุกเพศทุกวัย ไม่เลือกเด็ก หรือผู้ใหญ่ และแน่นอนว่า ภัยออนไลน์ที่แฝงตัวอยู่กับโลกดิจิทัลก็ไม่เลือกปฏิบัติการร้ายต่อคนใดคนหนึ่ง ทุกคนกลายเป็นเป้าหมายได้เท่าเทียมกัน หากเด็ก หรือเยาวชน อาจเป็นเป้าหมายที่หลอกล่อง่ายหน่อย เพราะความระมัดระวังยังน้อยอยู่ ฉะนั้น ผู้ปกครองจึงต้องช่วยกันปกป้อง สร้างภูมิคุ้มกันให้เขาเหล่านั้น

 
เอฟเฟนดี้ อิบราฮิม หัวหน้าฝ่ายธุรกิจคอนซูเมอร์ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น จำกัด บอกว่า ภัยออนไลน์ มีหลายรูปแบบ ทั้งการฉ้อโกง หลอกลวง ภาพโป๊ลามกอนาจาร การส่งต่อคลิปฉาว ข่าวลือ การข่มขู่คุกคาม รวมถึงเกม ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของเยาวชน ภัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนแพร่กระจายสู่คนหมู่มากได้อย่างรวดเร็ว ยากต่อการยับยั้ง จากการที่ประตูสู่โลกกว้างถูกเปิดออกอย่างง่ายดาย ทั้งเพื่อศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ การบันเทิง การพูดคุยกับเพื่อน หรือการรู้จักเพื่อนใหม่ ที่กลายเป็นสิ่งใกล้ชิดเยาวชนมากขึ้นทุกวัน

 
พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเรียนรู้ที่จะสังเกตสอดส่องพฤติกรรมของบุตรหลาน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์ อิบราฮิม บอกวิธีการสังเกตกรณีเด็กๆ เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อว่า ให้สังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของบุตรหลานว่ามีอาคารซึมเศร้า โกรธ สับสน ภายหลังการใช้โทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์หรือไม่ มีพฤติกรรมชอบปลีกตัวออกจากกลุ่มเพื่อนหรือกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ คะแนนการเรียนต่ำลง หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด หากพบเห็นการณ์เช่นนั้น เขามีวิธีแก้ไขว่า ให้คุยอย่างเปิดใจและให้ความมั่นใจว่าจะไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการใช้ชีวิตของเขา เช่น ห้ามใช้มือถือ เล่นเน็ต ฯลฯ เพราะนั่นเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้เขายิ่งถลำลึกมากขึ้น เหมือนยิ่งพูดยิ่งยุ ในกรณีที่เด็กถูกข่มขู่ พยายามให้เขาเปิดเผยข้อมูลให้มากที่สุด พร้อมกับทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ คือ เก็บหลักฐานเท่าที่จะหาได้ แจ้งหน่วยงานปราบปรามหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ แจ้งไปยังผู้ให้บริการมือถือ หรือไอเอสพีให้ตรวจสอบถึงต้นตอหรือที่มาของเวบไซต์ล่อลวงเหล่านั้น

 
กรณีที่เหตุการณ์มีที่มาจากสถานศึกษาให้ติดต่อครูหรือผู้ดูแลสถานศึกษาเพื่อช่วยเป็นหูเป็นตาให้อีกแรง รวมทั้งคอยป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เดียวกันกับเด็กกลุ่มอื่นๆ และหากเข้าข่ายเป็นการข่มขู่เกี่ยวกับการประทุษร้าย หรือการล่วงละเมิดทางเพศ ให้แจ้งตำรวจทันที ส่วนจะรู้ได้อย่างไรว่าบุตรหลานของเราตกเป็นเหยื่อภัยคุกคามทางออนไลน์หรือไม่ เขาแนะนำให้ตรวจสอบเวบไซต์ที่บุตรหลานเข้าไปดู และสืบค้นดูว่ามีชื่อของบุตรหลานเราอยู่ใน Social Networking นั้นๆ หรือไม่ ตรวจสอบมือถือ หมายเลขโทรเข้า-ออก และข้อความหรือภาพที่เก็บไว้บนเครื่อง หากบุตรหลานรู้สึกว่าเป็นการบุกรุกสิทธิส่วนตัวเขา จะต้องทำความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องคอยดูแลและรับผิดชอบในสิ่งที่เขาทำลงไป และหากบุตรหลานยังคงมีพฤติกรรมการเล่นเน็ตที่ล่อแหลมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ปกครองอาจใช้วิธีขอร้องแกมบังคับการลดการใช้มือถือและคอมพิวเตอร์ลงเพื่อยับยั้งภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เทคโนโลยีมีประโยชน์กับชีวิตเรามากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านข้อมูลข่าวสารที่สะดวกรวดเร็ว แม่นยำ หรือเป็นช่องทางการสื่อสาร เป็นประตูให้เราเปิดไปสู่โลกที่ไร้ขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็มีด้านลบที่อันตราย ถ้าเลือกใช้ไม่ถูกทาง ฉะนั้นเราจึงต้องสอนให้เขาได้รู้จักและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านั้นให้ถูกต้อง

 
อิบราฮิม ยังฝากทิปการเล่นไอเอ็ม (Instant Message) ให้ปลอดภัย โดยบล็อกคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่ต้องการติดต่อด้วย อย่าส่งข้อมูลส่วนตัวผ่านไอเอ็ม อย่าตอบกลับคนแปลกหน้า อย่าคลิกเวบลิงค์หรือเปิดไฟล์ที่ไม่ทราบที่มาที่ไปหรือน่าสงสัยว่าอาจมีไวรัสแฝงเข้ามา อย่านัดพบเพื่อนทางเน็ต สอดส่องดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิดให้ห่างไกลจากการถูกล่อลวง
Readmore...

12.4 ปัญหาจากครูผู้สอนและผู้เรียน

1 comments
 
สาระสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้ ก็คือการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ พร้อมคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ ปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ มีความหลากหลาย

 
ในรูปแบบลักษณะและช่องทางของตัวสื่อ สนองตอบศักยภาพและความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ ครูผู้สอนจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่ ให้สอดคล้องกับกระบวนการศึกษาที่เปลี่ยนไป ครูต้องใฝ่รู้ แสวงหา สาระเนื้อหาใหม่ๆ ครูผู้สอนต้องพัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่สำคัญ ครูผู้สอนต้องเข้าใจ ต้องเรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการจัดการศึกษาได้อย่างผสมผสานอีกด้วย
แต่ความเป็นจริงแล้ว ยังมีครูผู้สอนอีกมาก ที่ ไม่ยอมรับกระแสของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ไม่สามารถ ก้าวตามหรือมีความรู้เพียงพอในการเข้าถึง รวมถึงตามทันการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ ทำให้ไม่สามารถเฝ้าระวัง การเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ไม่ดี นำไปสู่ผลกระทบอย่างร้ายแรงของการศึกษาของเด็กผู้เรียน
ปัญหาอีกประการที่นับวันจะทวีความรุนแรงมาก็คือ สิ่งมอมเมาออนไลน์ ที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ ได้กลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ของการจัดการศึกษา ด้วยกระแสของเทคโนโลยีสารสนเทศ นับวันมีวิวัฒนาการมากขึ้น แต่กลับมีราคาถูกลง ทำให้ดอกาสการเข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ต ไปสู่สังคมออนไลนืต่างๆ กระทำได้ง่ายขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครอง หลายราย มีความเข้าใจในเทคโนโลยีที่น้อยมาก การที่จะเป็นเกราะปกป้องคุ้มภัยจึงกระทำได้ยาก

สาเหตุแห่งปัญหาจากครูผู้สอน
สาเหตุแห่งปัญหาจากครูผู้สอนในสถานศึกษา
  1. ครูผู้สอนไม่เห็นความสำคัญของนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. ครูผู้สอนขาดประสบการณ์หรือความชำนาญในการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. ครูผู้สอนปฎิเสธปฎิเสธการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะกลัวว่าเมื่อเข้ามาแทนที่ ตนเองสูญเสียความสำคัญ
  4. ครูผู้สอนขาดความรู้ในการสร้างชิ้นส่วน สื่อ หรือองค์ประกอบต่างๆเพื่อจัดการเรียนการสอน
  5. ครูผู้สอนไม่มีเวลาเพียงพอที่จะศึกษาเรียนรู้คุณลักษณะเแพาะของนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. สื่อ สาระการเรียนรู้ที่ทำโดยครูมักมีสภาพไม่น่าสนใจ
  7. ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายน้อย
  8. ครูผู้สอนที่ชำนาญการในการสอนโดยใช้เครื่องมือและสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีไม่เพียงพอ

 

สาเหตุแห่งปัญหาจากผู้เรียน
สาเหตุแห่งปัญหาจากผู้เรียน(นักเรียน/นักศึกษา)ในสถานศึกษา
  1. ผู้เรียนมุ่งเน้นการเข้าหาสิ่งบันเทิง เกม หรือการเข้าสังคมการพูดคุยมากกว่าจะเข้าสู่ด้านการเรียนรู้
  2. ผู้เรียนขาดความตั้งใจในการเข้าเรียนรู้
  3. ผู้เรียนใช้เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม
  4. อุปกรณ์ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียน
  5. ผู้เรียน เน้นความสนุกสนาน ขาดการใฝ่รู้
  6. การทำงานของระบบเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนที่ค่อนข้างช้า
  7. เวลาในการใช้งานและเรียนรู้ในสถานศึกษามีน้อยเกินไป
  8. ขาดการปลูกฝังการเป็นสังคมแห่งนักอ่าน
  9. เครือข่ายบางเครือข่ายไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถเข้าไปสืบค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้

 

 การวิเคราะห์ปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูผู้สอนและผู้เรียนในสถานศึกษา
ปัจจัยหลักที่พบส่วนใหญ่ ในส่วนของครูมาจาก การไม่ได้รับการอบรม การเพิ่มพูนความรู้อย่างจริงจัง ครูที่เข้าใจทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนใหญ่ มาจากการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ในสถานศึกษาบางแห่งพบว่า ครูผู้สอนจะไม่ยอมรับการเรียนรู้ การเข้าถึง หรือการแสวงหาการเรียนรู้เพื่อนำมาพัฒนาสื่อ รูปแบบใหม่ๆ สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ภายใต้ยุคสังคมสารสนเทศ
ในส่วนของเด็ก ที่พบได้มากคือ การติดเกม ส่วนใหญ่จะเป็นสังคมเกมออนไลน์ อีกปัญหาที่พบก็คือสังคมการแช็ต ผ่านโปรแกรม Instant Message ต่างๆ อาทิ MSN, Yahoo, เป็นต้น ซึ่งนับได้ว่า เป็นส่วนแบ่งเวลาในการศึกษาเรียนรู้ไปได้มากทีเดียว

 

แนวทางการแก้ไขปัญหา
แนวทางการแก้ไขปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูผู้สอนและผู้เรียนในสถานศึกษา

  1. ส่งเสริมให้ความรู้ การใช้งาน เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูผู้สอน ให้มีความรู้สามารถใช้งาน เข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
  2. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีความรู้ ทักษะ การสร้างสื่อ นวัตกรรม และบทเรียนด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสื่อ(บทเรียน) โดยใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
  4. เร่งพัฒนาช่องทางการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสื่อออนไลน์ ของหน่วยงานสถานศึกษา
  5. กำหนดวิธีการให้ผู้เรียน เข้ามาใช้งาน การเรียนรุ้ร่วมกับช่องทางการเรียนรู้ของสถานศึกษา
  6. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน
  7. ส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือการศึกษาด้วยตนเองผ่านช่องทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
Readmore...
วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

12.3 ปัญหาจากพัฒนาการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา

0 comments
 
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นส่วนจำเป็นในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาให้กว้างไกล เป็นส่วต่อยอดในการพัฒนาทางความคิดให้กับผู้เรียนได้ดีอีกช่องทางหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนา และปรับเปลี่ยนรูปแบบ และวิธีการ จัดการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยีการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนในการจัดการศึกษา ส่งผลให้สถานศึกษาเกือบทุกแห่งในปัจจุบันต่างแข่งขัน เร่งจัดหา เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อให้พอเพียง(เกินพอ) ต่อกระบวนการจัดการศึกษา
เราจะพบว่าระบบและอุปกรณ์ รวมถึงคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ราคากับถูกลง จนกล่าวได้ว่า ราคาของอุปกรณ์ รวมถึงราคาคอมพิวเตอร์ใกล้ที่จะถึงระดับอิ่มตัว ที่สำคัญ ตัวซอฟท์แวร์หรือโปรแกรม ต่างมีพัฒนาการที่มีการปรับปรุงรุ่นอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี ทำให้โปรแกรมบ้างโปรแกรม ขาดความทันสมัย แต่ประเด็นสำคัญก็คือ วงจรชีวิตของอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ มักจะมีรอบวงจรชีวิต ในช่วง 5-7 ปีเท่านั้น ซึ่งหากอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ชำรุดหลังจากผ่านรอบวงจรชีวิตไปแล้ว อาจจะประสบปัญหา ไม่สามารถหาชิ้นส่วนมาซ่อมบำรุงได้ ดังนั้นสถานศึกษาจึงควรได้มีแผนพัฒนาระยะยาวในการรองรับปัญหาด้านระบบ รวมถึงซอฟท์แวร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ด้วย

สาเหตุแห่งปัญหา
ปัญหาในการพัฒนาด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พอสรุป ปัญหาได้ ดังนี้
  1. พัฒนาการ การเจริญเติบโตทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
  2. ระบบเครือข่ายมีช่องว่าง ขาดการป้องกัน ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวและส่วนขององค์กรมีน้อยลง
  3. โครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายสารสนเทศที่สมบูรณ์ยังมีราคาสูง
  4. ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายขาดความเข้าใจในการปกป้องระบบและข้อมูล
  5. ผู้ใช้งานในระบบ ขาดความระมัดระวัง หรือใส่ใจหรือไม่เข้าใจคำแจ้งเตือน(ภาษาอังกฤษ)
การวิเคราะห์ปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหาด้านระบบและมาตรฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจัยหลักที่พบส่วนใหญ่ยังคงมาจาก ขาดการกำหนดวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ นโยบายและมาตรฐาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาเป็นอันดับแรก หรือหากมีแล้วก็พบว่าขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณ ขาดการพัฒนาระบบให้มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันพบว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านเครือข่ายได้มีพัฒนาการที่แปรเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเว็บในปัจจุบันได้พัฒนามาสู่มาตรฐานของ web 2.0 ส่งผลให้มาตรฐานการจัดการศึกษาออนไลน์ต้องก้าวตามเข้าสู่ยุค e-learning generation ที่ 2 ตามไปด้วย ทำให้การเข้าถึงข้อมูลในบางส่วนอาจจะไม่สามารถทำได้เนื่องจาก ระบบและเทคโนโลยีที่ใช้ยังล้าสมัยไม่สามารถเข้าถึงสาระการเรียนรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ตามที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไร้สาย ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือ notebook / netbook มีความสามารถเข้าใช้งานเครือข่ายที่เปิดใช้งานโดยไม่มีระบบป้องกันการเข้าถึงเครือข่าย ได้กลายเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ อาทิ การบุกรุกแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูล การโจมตีเครือข่าย การติดต่อซื้อขายสิ่งของผิดกฎหมาย การล่อลวง หลอกลวง ด้านข้อมูล หรือหวังผลประโยชน์แอบแฝงต่างๆ นอกจากนี้การใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง การไม่เข้าใจหรือแปลความหมายทางภาษาอังกฤษที่ระบบแจ้งเตือน มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน แปลความหมายผิด ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการยอมรับเงื่อนไข นำมาซึ่งภัยแอบแฝงต่างๆ

แนวทางการแก้ไข
ผู้บริหาร รวมถึงบุคลากรใน หน่วยงาน สถานศึกษา ต้องร่วมมือกันในการใช้เครือข่าย ทั้งในแบบเครือข่ายสาย และเครือข่ายไร้สาย โดยให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
  1. มีแผนในการพัฒนาระบบ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
    โดยอาจกำหนดแผนระยะยาวในการพัฒนา ปรับปรุงระบบ เครื่องมือ อุปกรณ์ และควรบันทึกช่วงระยะอายุของอุปกรณ์ในแต่ละรายการเอาไว้ เพื่อใช้ประกอบในการพัฒนาระบบในภาพรวม นอกจากนี้ ควรมีประวัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่องว่ามีคุณลักษณะเฉพาะอะไรบ้าง
  2. วางระบบ การเข้าถึง การบุกรุกจากภายนอก (Firewall)
    โดยปกติระบบปฎิบัติการ windows ในทุกรุ่น จะมีระบบการป้องกันอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว แต่การใช้งานจริงพบว่า ผู้ใช้งานแต่ละเครื่อง มักเป็นผู้ เปิดช่องว่างหรืออนุญาตในการเข้าถึงระบบเอง โดยการไม่เข้าใจในภาษา ข้อความที่ระบบเครื่องแจ้งเตือน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเป็นที่สิงสถิตย์ของโปรแกรมคุกคามขนาดเล็ก(อ่านรายละเอียดภัยคุกคามเพิ่มเติม) นอกจากจะเป็นภัยคุกคามของเครื่อง ยังแพร่ลุกลามไปในเครือข่ายองค์กร สถานศึกษา นำพาไปสู่เครื่องส่วนตัวที่บ้าน ดังนั้นการทำความเข้าใจ ด้วยการฝึกอบรม การให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง

    ป้องกันการไหลเข้าและออกของข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายนอก เพื่อป้องกันการบุกรุกจากภายนอก และไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาใช้ข้อมูลภายในเครือข่ายโดยไม่จำเป็น
  3. มอบหมายความรับผิดชอบแก่เจ้าหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษร
    แต่ละสถานศึกษาควรมีการมอบหมายผู้ที่มีความรู้ให้รับผิดชอบเพื่อดูแลบริหารระบบให้เป็นไปตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 อย่างเคร่งครัด มุ่งเน้นในการรักษาความมั่นคงของระบบเครือข่าย ป้องกันการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์ ทั้งของหน่วยงาน บุคลากร ภายในสถานศึกษาและผลงาน สื่อ ที่มีลิขสิทธิ์จากแหล่งภายนอกเครือข่าย นอกจากนี้ต้องให้ความรู้ ย้ำเตือน เฝ้าระวังการกระทำของบุคลากรในองคืกร สถานศึกษาไม่ให้เกิดการกระทำที่เป็นการลักลอบการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง
  4. ป้องกันการนำช่องความถี่ไร้สายไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย
    วางมาตรการ การใช้เครือข่ายไร้สายอย่างเคร่งครัด การเปิดช่องสัญญาณไร้สาย ควรติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัย โดยระบุตัวตนและรหัสผ่านเข้าใช้งานเครือข่ายทุกครั้ง นอกจากนี้ควรมีมาตรการปรับเปลี่ยนรหัสเข้าใช้งานเป็นช่วงระยะเวลาด้วย (ไม่ควรใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันหรือใช้ช่วงระยะเวลานาน เพราะรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานเครือข่ายอาจมีการรั่วไหล)
  5. วางแผนการใช้งบประมาณในการจัดหาโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ของหน่วยงานอย่างถูกกฎหมาย
    ปัจจุบันพบว่าหน่วยงาน ของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงาน สถานศึกษาส่วนใหญ่ มักจะใช้โปรแกรมหรือ วอฟท์แวร์ ละเมิดลิขสิทธิ์
  6. ให้ความรู้ ด้านการใช้งานเครือข่ายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    หน่วยงาน สถานศึกษาที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และใช้งานร่วมกับเครือข่าย ควรให้ความรู้ ชี้แจงถึงสิทธิ การละเมิดสิทธิในเครือข่าย ข้อกฎหมายและบทลงโทษ การปกป้อง ป้องกันการบุกรุก การเข้าถึงระบบและข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบ
  7. กำหนดสิทธิการเข้าถึงการใช้เครือข่ายอย่างชัดเจน
    ควรมีมาตรการในการดูแล การเฝ้าระวัง การเข้าถึง การล่วงละเมิด การเปลี่ยนแปลงสิทธิการใช้งาน การลักลอบเข้าถึง การใช้งานข้ามเครื่อง
  8. ให้ความสำคัญกับการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ในระดับสูงสุด
    ควรมีมาตรการ ข้อตกลงของหน่วยงาน สถานศึกษาในการรับผิดชอบต่อการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่
Readmore...

12.2 ปัญหาจากการบริหารและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา

2 comments
 
การเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการ การให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันภาคเอกชนได้ตระหนักและให้ความสำคัญ ในการกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นมาใช้เพื่อการเติบโต การแข่งขันใน เชิงธุรกิจ ที่นับวันจะมีอัตราที่สูงขึ้น ส่งผลให้สามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ อาทิ เช่น มาตรฐาน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การให้ความรู้ รวมถึง การ ควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาองค์กร การนำเสนอ การสรุปผลการดำเนินงาน

แต่ในแวดวงราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานและสถานศึกษา ดูเหมือนว่ายังก้าวเดินไปอย่างเชื่องช้า แม้จะมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนเช่นเดียวกันกับภาคเอกชน มีกรอบนโยบายที่ชัดเจน แต่ภาพรวมก็ยังไม่สามารถบรรลุให้เป็นไปตามมาตรฐานการบริหารการจัดการ การให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้การจัดการศึกษาโดยตรง การสนับสนุนการจัดการศึกษาทั้งในด้านบริหาร ด้านวิชาการ งบประมาณ ด้านบริการยังดำเนินการไม่เต็มที่ บางสถานศึกษาไม่มีช่องทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายใน หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่มีเว็บไซต์หน่วยงาน สถานศึกษา ทำให้สถานศึกษาขาดโอกาส การใช้ช่องทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสร้างองค์ความรู้ เป็นประตูเชื่อมโยงความรู้สู่โลกภายนอก ส่งผลให้ครูผู้สอนในสถานศึกษายังมีอัตราการเข้าใช้งานทั้งในส่วนผู้ผลิต และผู้แสวงหาความรู้ในอัตราค่อนข้างต่ำ ผู้เรียนก็ขาดโอกาส หรือไม่มีช่องทางการเข้าถึง องค์ความรู้นอกห้องเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ปัญหาในเชิงบริหารและการบริการ
ปัญหาในเชิงบริหารและการบริการ พอสรุป ปัญหาได้ ดังนี้
  1. ขาดข้อกำหนดวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ นโยบายและมาตรฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. สถานศึกษาขาดการวางแผนแม่บท
  3. ขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณ หรือหากสนับสนุนก็ไม่เพียงพอ
  4. ขาดการติดตามผลการใช้งาน ทั้งในเชิงระบบและมาตรฐานของบุคลากรด้านไอที
  5. ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารอย่างจริงจัง
  6. ไม่มีระบบการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายเป็นของสถานศึกษาเอง
  7. ขาดกลไกการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอย่างถูกระบบ
  8. มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยครั้ง
  9. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาขาดคุณภาพ ขาดมาตรฐาน
  10. เวลา โอกาสการเข้าถึงช่องทางการเรียนรู้ของผู้เรียนยังมีน้อย
  11. ระบบ และอุปกรณ์ที่มี มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการให้บริการในการจัดการศึกษา
  12. ระบบ และอุปกรณ์ที่มี มีมาตรฐานต่ำไม่สอดคล้องกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนไป
  13. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
  14. ผู้บริหารและครูผู้สอนขาดความรู้พื้นฐานในการใช้งานและการพัฒนางานในหน้าที่ (บริหารและการศึกษา)
  15. และอื่นๆ

การวิเคราะห์ปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหาการบริหารและการบริการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจัยหลักที่พบในสถานศึกษาส่วนใหญ่ ขาดการกำหนดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชัดเจน แม้จะมีมาตรการทางภาครัฐ ที่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ นโยบายและมาตรฐาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา แล้วก็ตาม หรือหากบางที่ได้กำหนดไว้ในแผนงานมีก็ขาดการดำเนินการอย่างจริงจัง และให้ความสำคัญน้อยลง ส่งผลให้ ขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณ ด้านความรู้ ช่องทางการเข้าถึง รวมถึงการสนับสนุนในการปฎิบัติงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกๆด้าน


แนวทางการแก้ไข
หน่วยงานทางการศึกษา โดยเฉพาะครูและบุคลากรทางดารศึกษาในสถานศึกษา ต้องร่วมกันศึกษา วางแผน นำกรอบนโยบายในระดับกระทรวง(สำนัก) นำมากำหนดวิสัยทัศน์ วางวัตถุประสงค์ นโยบายและมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนการบริหาร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน การให้บริการ รวมถึงเพิ่ม(ปรับปรุง)ช่องทางการเข้าถึง การเชื่อมโยงเครือข่าย การจัดระบบการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายที่เข้มแข็ง โดยวางขั้นตอนการพัฒนาเป็นแผนแม่บททั้ง ระยะยาว ระยะเร่งด่วน รวมถึงเร่งระดมการให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอน กับครูผู้สอน รวมถึงผู้เรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วนและต้องกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทั้งระบบ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ  จึงมีความสำคัญเป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษา  ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  และเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนานวัตกรรมและสารสนเทศ  เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจในบริหารจัดการศึกษา

ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลที่สำคัญที่มีบทบาท  มีหน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อการจัดการสารสนเทศ  และการนำสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา ตามลักษณะงานทั้ง 4 ด้าน ซึ่งจีราภรณ์  รักษาแก้ว (อ้างอิงใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2540 :120) ได้ระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารต่อสารสนเทศไว้ว่า ผู้บริหาร มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแนวทางการพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ความคุ้มค่าของสารสนเทศและความประหยัดในการผลิตหรือจัดการสารสนเทศ...
Readmore...

12.1 ปัญหาการขาดแคลนนวัตกรรม สื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ

0 comments
 
นับเป็นปัญหาใหญ่ที่สำคัญ โดยเฉพาะสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่าปัจจัยสนับสนุนในการจัดการศึกษาที่ใช้องค์ประกอบทางเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมไปถึง นวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ค่อนข้างจะมีน้อยหรือ อาจกล่าวได้ว่าไม่มีเลย โดยเฉพาะโรงเรียนในระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ไม่สามารถขับเคลื่อนให้มีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน

ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ด้านปัจจัยสนับสนุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมไปถึงสื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือ และนวัตกรรมทางการศึกษา แม้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จะมุ่งเน้นความเสมอภาคทางการศึกษา แต่ในสภาพความเป็นจริงในสังคมประเทศไทย ยังมีอีกหลายพื้นที่ ที่สภาพการศึกษามีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด บางพื้นที่ ขาดไฟฟ้า ขาดระบบสื่อสารขั้นพื้นฐาน ทำให้เครื่องมือ อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่ได้ ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายใช้งานได้
ปัญหาการขาดแคลนนวัตกรรม สื่อ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ พอจะสรุปได้ แยกเป็น 2 ปัญหาใหญ่ๆ คือ
1. ปัญหาการขาดแคลนสื่อเนื้อหา
2. ปัญหาด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ

ปัญหาการขาดแคลนสื่อเนื้อหา
  1. ขาดแคลนตัวสื่อเนื้อหา สำหรับใช้ศึกษาเรียนรู้ ในฐานะสื่อหลัก และสื่อเสริม
  2. สื่อ เนื้อหา ที่มีอยู่ไม่น่าสนใจ ไม่มีส่วนเร้าที่ตรึงพฤติกรรมการเรียนรู้
  3. สื่อ เนื้อหา ที่มีอยู่ ล้าสมัย เนื้อหา ไม่ตรงกับสภาพปัจจุบัน
  4. สื่อ เนื้อหา ที่มีอยู่ ไม่สามารถใช้กับระบบ ของอุปกรณ์ เครื่องมือที่มีอยู่ได้
  5. สื่อ บางเนื้อหามีสื่อการสอนน้อย ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้

 
ปัญหาด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ
  1. เครื่องมือ อุปกรณ์ มีไม่เพียงพอ หรือ ไม่มี
  2. ขาดปัจจัยพื้นฐานทำให้เครื่องมือ อุปกรณ์ไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีระบบเครือข่าย
  3. เครื่องมือ อุปกรณ์ มีสภาพล้าสมัย
  4. ขาดงบประมาณในการปรับปรุง ซ่อมแซม
Readmore...

11.9 รูปแบบฐานการเรียนรู้ออนไลน์

0 comments
 
ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นคำกว้างๆ ที่มีความหมายครอบคลุมถึง เทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานในองค์กร มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน ซึ่งช่องทางบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถตอบสนองในการเป็นเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปัน นำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

 
ในโลกของการศึกษาปัจจุบันนี้ เราคงจะปฎิเสธวิธีการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกกันว่าการสอนบนเว็บ คำคำนี้ เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Web-Based Instruction (WBI) ซึ่งถือกันว่าเป็นกระบวนการที่แยกมาจากยุคคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI นั่นเอง นอกจากนี้ ยังมีนักการศึกษาใช้เรียก Web-Based Instruction ในอีกชื่อว่า Web-Based Learning ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีความหมายเดียวกัน หมายถึง การเรียนการสอนที่ใช้เว็บเป็นฐาน หรือ“การสอนบนเว็บ”หรือ “การสอนผ่านเว็บ” ปัจจุบัน การเรียนการสอนผ่านเว็บถูกนำมาใช้ ทั้งการการสอนในระบบโรงเรียน รวมถึงการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ครอบคลุมกระบวนการศึกษาตลอดชีวิต

 
ในการนำเสนอสาระการเรียนรู้แบบต่างๆบนฐาน web-based นั้น ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนออนไลน์ เป็นไฟล์เรียนรู้ด้วยเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-document) หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-book) รูปแบบต่างๆ ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยสมบูรณ์ และเหมาะสมได้นั้นจำเป็นต้องมี องค์ประกอบพื้นฐาน ของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะต้องได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี เพราะเมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้ว ระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันได้เป็นระบบอย่างลงตัว ซึ่ง ฐานการเรียนรู้ (web-based) ในปัจจุบันนี้ถือเป็นปัจจัยหลักของการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่จะเป็นส่วนสำหรับจัดวาง เผยแพร่ข้อมูลเนื้อหาบทเรียนไปสู่ ผู้เรียนรู้ได้ ซึ่งฐานการเรียนรู้นี้จะมีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่
  1. ลักษณะหน้าเอกสาร web document อย่างเดียว
  2. มีระบบบริหารการเรียนรู้(LMS)
  3. มีระบบบริหารเนื้อหา/หลักสูตร(CMS)
ฐานการเรียนรู้ลักษณะหน้าเอกสาร web document อย่างเดียว
 จากพัฒนาการของเอกสารไปสู่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์นำเข้าสู่ระบบเครือข่ายการเป็นเอกสารเว็บหรือweb document ได้ ปฎิวัติรูปแบบการเรียนรู้ที่รวดเร็ว กว้างไกลด้วยคุณสมบัติต่างๆทั้งการแก้ไข ปรับแต่ง ดัดแปลง ปรับปรุง เผยแพร่ แบ่งปัน ได้ไกล และรวดเร็ว การสร้าง web document จึงเป็นรูปแบบแรกที่ผู้พัฒนาสื่อการเรียนรู้นิยมใช้มากที่สุด ภายใต้ภาษา html พื้นฐาน (ซึ่งจะมีแบบ text ล้วน หรือ text ปนภาพ หรือ text ปนมัลติมีเดียรูปแบบอื่นๆ)
 

 
ฐานการเรียนรู้มีระบบบริหารการเรียนรู้ หรือ LMS ( Learning Management System)
 เป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการการเรียนรู้ผ่านเว็บประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่อำนวยความสะดวกให้ครูผู้สอน สามารถนำเนื้อหาและสื่อการสอนนำเข้าสู่ระบบได้โดยง่าย ซึ่งระบบจะกำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียนส่งผ่านเครือข่าย ไปยังผู้เรียน ระบบจะติดตาม บันทึกผลความก้าวหน้าผู้เรียนได้อย่างละเอียด ตั้งแต่การเข้าใช้งาน การเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้ สถิติเวลาเข้าใช้งาน รวมถึงมีการเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ในระบบซึ่งข้อมูลเหล่านี้ครูผู้สอนสามารถ นำข้อมูลไปวิเคราะห์ประเมินผลหลักสูตร รวมถึงสภาพของการเรียนการสอนในรายวิชานั้นๆได้ นอกจากนี้ ผู้เรียน ครูผู้สอน และผู้ดูแลระบบ ยังสามารถใช้เครื่องมือสื่อสารที่ในระบบมีติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้
ระบบ LMS ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยๆหลายส่วน คือ
  1. ส่วนเนื้อหาในบทเรียน (Lecture and Presentation)
  2. ส่วนของการทดสอบในบทเรียน (Testing)
  3. ส่วนของการพูดคุยในห้องสนทนา (Chat)
  4. กระดานข่าว (Webboard)
  5. ส่วนของการติดต่อผ่าน E-mal
  6. ส่วนสนับสนุนการเรียนการสอน
    - การลงทะเบียนของผู้เรียน
    - การบันทึกคะแนนของผู้เรียน
    - การรับ-ส่งงานของผู้เรียน
    - การเรียกดูสถิติของการเข้าเรียน

 

 
ฐานการเรียนรู้มีระบบบริหารเนื้อหา/หลักสูตร หรือ CMS (Content Management System)
 เป็นระบบที่มีหน้าที่ในการจัดการเนื้อหาหรือข้อมูลเป็นหลัก ตามลักษณะงานของเว็บไซต์นั้นๆ CMS จึงถูกออกแบบมาเพื่อช่วยประหยัดทรัพยากรในการพัฒนาและบริหารเว็บไซต์ ทั้งเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา เพื่อช่วยลดเวลา อำนวยความสะดวกในการบริหารเว็บไซต์นั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะเฉพาะจะคล้ายกับ LMS ที่ให้ผู้ดูแลระบบหรือ ครูผู้สอนนั้น สามารถจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว เพียงแต่จะขาดส่วนของผู้เรียนรู้ ไม่มีการติดตาม ประเมินผลผู้เรียน เน้นการจัดการระบบผ่านเว็บ รูปแบบจะเน้นการจัดการนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลบทเรียน, การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ

 

 
นอกจากฐานการเรียนรู้แล้ว ในการดำเนินกิจกรรมจัดการศึกษาออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนี้ จะมีรูปแบบการนำเสนอสาระการเรียนรู้ ที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายผู้เรียน กลุ่มสาระเนื้อหา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เลือกใช้ ในบางแห่งอาจมีลักษณะแสดงสาระข้อมูลหรือบทเรียน ที่ให้ผู้เรียนเข้าเรียนรู้โดยอิสระ ไม่ต้องการระบบสมาชิก แต่บาง website ต้องมีการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ ต้องมีการบันทึกประวัติ หรือลงทะเบียนเรียนกันก่อนจึงจะเข้าศึกษาเนื้อหาได้
ในการจัดการศึกษาออนไลน์วัฒนาการได้ก้าวไกลไปสู่ธุรกิจทางการศึกษาออนไลน์ ที่ผู้เรียนจะต้องลงทะเบียนในการซื้อคอร์สเพื่อเข้าศึกษาเรียนรู้ ระบบจะสนับสนุนสาระการเรียนรู้ สื่อ กิจกรรมต่างๆ รวมถึงระบบครูที่ปรึกษาอย่างพร้อมมูล ติดตามการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเข้า จนจบหลักสูตร
Readmore...

11.8 ปัจจัยหลักในการจัดการฐานความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรูปแบบ e-learning

0 comments
 
ในการจัดฐานการเรียนรู้ออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรูปแบบ web-based learning หรือ e-learning ซึ่งปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นรูปแบบการศึกษาด้วยตัวเองที่มีความพร้อมและสมบูรณ์อีกวิธีการหนึ่ง แต่การจัดการศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และเพิ่มทางเลือกใหม่ในรูปแบบดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่สามารถที่จะกระทำได้ง่าย หากองค์กรหรือสถาบันการศึกษานั้นยังขาดปัจจัยหลักที่นำมาเกื้อหนุนกลไกของ web-based learning หรือ e-learning ให้ขับเคลื่อนไปได้อย่างสมบูรณ์ ปัจจัยหลักดังกล่าวอัน ได้แก่
  1. นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการจัดการศึกษาของชาติ
  2. วิสัยทัศน์ผู้บริหารการศึกษาทั้งในระดับเขตพื้นที่และสถานศึกษา
  3. ความรู้ความสามารถด้านการพัฒนาสื่อและ ITของครู/อาจารย์ที่มีผลต่อการเรียนรู้
  4. ความพร้อมด้านอุปกรณ์หลักและเครื่องมือสนับสนุน
  5. ความพร้อมและประสิทธิภาพที่ดีในด้านเทคโนโลยีเครือข่าย
  6. ความพร้อมด้านระบบปฎิบัติการ โปรแกรมที่ใช้สร้าง e-learning
  7. ความพร้อมของวิธีการบริหารและการจัดการเรียนรู้ e-learning ที่มีคุณภาพ
  8. การสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
 
e-learning มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำมาใช้ในทางธุรกิจการศึกษาเพิ่มคุณภาพส่งเสริมให้การ พัฒนาคนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เปิดโอกาสให้คนได้เรียนรู้มากขึ้น การใช้หลักสูตรและกระบวนการสอนที่เป็นมาตรฐาน มีวิชาหลากหลายให้เลือกและสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถเรียนได้ทุกทีทุกเวลา ในยุคปัจจุบันจะมีการใช้ทั้งในลักษณะของการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต หรือการใช้ในลักษณะ Stand Alone โดยมีเป้าหมายมในการค้นหาข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูล สารสนเทศ ซึ่ง E-Learning จะเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
  1. สื่อการเรียนการสอนแบบสื่อประสม (Multimedia)
    ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั้งคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้วิวัฒนาการขยายขีดความ สามารถที่จะนำเสนอเนื้อหาทั้งภาพและเสียงไปยังผู้เรียนได้รวดเร็วมากขึ้น ทำให้การเรียนแบบ e-learning บังเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สูงกว่าแต่เดิม เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจาก นั้นยังช่วยลดความซ้ำซ้อนเมื่อเนื้อหาของวิชาบางครั้งซับซ้อน และยุ่งยาก การใช้ E-Learning จึงทำให้ผู้เรียนสามารถทบทวนได้
  2. การใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน (Education Resource Sharing)
    เพื่อแบ่งปันข้อมูลและแลกเปลี่ยนความรู้ ทางวิชาการทุกแขนง ผู้เรียนสามารถ Download หรือ สั่งพิมพ์ได้ด้วย
  3. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning)
    ประเทศไทยได้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ครอบคลุมไปสู่ผู้ เรียนหรือกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นกว่าอดีต ดังจะเห็นได้จาก การมีระบบการเรียนการสอนผ่านทาง ไปรษณีย์ ผ่านทางวิทยุกระจายเสียง หรือผ่านทางโทรทัศน์ หรือแม้กระทั้งการเรียนการสอนผ่าน ทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบการเรียนการสอนในรูปแบบ E-Learning เป็นอีกทางเลือกที่ถือว่ามีส่วนในการสนับสนุน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ที่เหมาะสำหรับ "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"
Readmore...

11.7 การจัดการศึกษาออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

0 comments
 
การจัดการศึกษาออนไลน์ หรือที่นักการศึกษาเรียกว่า “Web-Based Instruction” เป็นรูปแบบการสอน โดยใช้เว็บเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้   วิธีการมีทั้งแบบใช้เว็บเป็นฐานหลัก โดยครูผู้สอน หรือ สถานศึกษา บรรจุเนื้อหาวิชาทั้งหมดวางไว้ในระบบการจัดการเรียนรู้ หรือบางแห่งใช้เว็บเป็นเครื่องมือ หรือส่วนในการเสริมการเรียนรู้

การสอนบนเว็บจึงเป็นรูปแบบของการประยุกต์วิธีการสอนทั้งในแบบชั้นเรียน หรือการสอนด้วยวิธีการอื่นๆมาผสมผสานเข้าด้วยกัน   การสอนบนเว็บใช้ได้ทั้งการสอนในระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย หรือการศึกษาต่อเนื่องในลักษณะการศึกษาทางไกล ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
การนำระบบการจัดการศึกษาออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการสอนสูงสุดนั้น ครูผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบการจัดการศึกษาออนไลน์นี้ แตกต่างจากระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน ที่เรียกกันว่า face-to-face อย่างไร และจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนา ปรับปรุง วิธีการอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านการปรับปรุงเรื่องเนื้อหา เทคโนโลยี เทคนิคการนำเสนอ รวมถึงการวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพของระบบการจัดการศึกษาออนไลน์ในภาพรวม การนำระบบการจัดการศึกษารูปแบบออนไลน์เข้ามาใช้นั้น ต้องระลึกไว้อยู่เสมอว่า เมื่อพร้อมที่จะดำเนินการจัดการศึกษาออนไลน์ ต้องไม่ทำให้คุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนขาดคุณภาพไปจากระบบการเรียนรู้ในชั้นเรียนด้วย แม้ว่าการจัดการศึกษาออนไลน์ดูเหมือนจะในรูปแบบที่ขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ด้วยเวลาในการศึกษาเล่าเรียนไม่ตรงกัน จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อสร้างกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนระยะไกล หรือเพื่อปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอน หรือผู้เรียนอื่น โดยไม่จำเป็นต้องออนไลน์ ณ เวลาเดียวกัน โดยการใช้กระดานสนทนาอิเล็กทรอนิกส์ (webboard) หรือการใช้อีเมล์

การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีต้นทุนในการจัดการศึกษา ที่ต่ำกว่าการศึกษาในชั้นเรียน ถึงแม้ว่าเงินทุนในช่วงแรกหรือต้นทุนคงที่ (fixed cost) ของการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะค่อนข้างสูง แต่อี-เลิร์นนิ่ง จะสามารถตอบสนองต่อผู้เรียน ได้มากกว่าการจัดการศึกษาในห้องเรียน โดยที่ผู้จัดการศึกษามีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหน่วยสุดท้าย (marginal cost) เกือบเป็นศูนย์ แม้ว่าจะมีการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนจำนวนมากขึ้นก็ตาม ทั้งนี้หากเปรียบเทียบต้นทุนทั้งหมด (total cost) การจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการเรียนรู้ในชั้นเรียน ถึงร้อยละ 40 นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถเรียนรู้ ได้ทุกที่ ทุกเวลาและทุกคน (anywhere anytime anyone) และไม่ว่าจะทำการศึกษา ณ สถานที่ใด การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะยังคงมีเนื้อหาเหมือนกันและมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน และยังสามารถวัดผลของการเรียนรู้ได้ดีกว่า การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้โอกาสในการศึกษาของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ไปสู่เศรษฐกิจที่ต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีเข้มข้นมากขึ้น
Readmore...

11.6 ขั้นตอนการออกแบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์

0 comments
 
ในการออกแบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์นั้น มีหลากหลายรูปแบบหรือวิธีการ ซึ่งในแต่ละรูปแบบหรือวิธีการก็มีขั้นตอนที่อาจจะคล้ายกัน หรือแตกต่างกันในบางส่วน แต่ในภาพรวมนั้นไม่ได้หนีไปจากกันมานัก เราลองมาศึกษาขั้นตอนการออกแบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ในรูปแบบตัวอย่างต่อไปนี้กัน  ซึ่งจะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ 6 ขั้นตอน
1. ขั้นตอนการเตรียมข้อมูลสาระเนื้อหา (Preparation)
2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design web-page Instruction)
3. ขั้นตอนวางกรอบเนื้อหาและเขียนผังงาน (Flowchart Lesson)
4. ขั้นตอนการสร้างหน้าเอกสารเว็บ (Create Web-page)
5. ขั้นตอนการเผยแพร่ทดสอบ (Publish)
6. ขั้นตอนการประเมินหรือปรับปรุง (Evaluate and Revise)

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการเตรียมข้อมูลสาระเนื้อหา (Preparation)
ขั้นแรกในการออกแบบบทเรียนเป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่จะทำการออกแบบบทเรียน ผู้ออกแบบต้องเตรียมพร้อมในเนื้อหาข้อมูลให้ชัดเจน การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลเนื้อหาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการสร้างหรือระดมความคิดในที่สุด ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญและใช้เวลามาก จะทำงานตามขั้นตอน ดังนี้
  1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Determine Goals and Objectives)
    ใน การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบทเรียน คือการตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนสามารถใช้บทเรียน เพื่อศึกษาในเรื่องใดและลักษณะใด เมื่อเรียนจบแล้วสามารถทำอะไรได้บ้าง การกำหนดเป้าหมายยังรวมถึงการเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานของผู้เรียนด้วย เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนด
  2. รวบรวมข้อมูล (Collect Resources)
    การรวบรวมข้อมูล หมายถึงการเตรียม พร้อมทางด้านของทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในส่วนของเนื้อหา (Materials) การพัฒนาและการออกแบบ (Instructional Development) และสื่อในการนำเสนอบทเรียน (Instructional Delivery System)
  3. เรียนรู้เนื้อหา (Learn Content)
    ผู้ออกแบบบทเรียนต้องรู้และมีความเข้าใจในเนื้อหาและความรู้ด้านการออกแบบบทเรียน หรือจะทำงานเป็นทีม เพื่อให้การออกแบบและเนื้อหาจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. สร้างความคิด (Generate Ideas)
    การสร้างความคิดคือการระดมสมองเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ อันจะนำมาซึ่งแนวคิดที่ดีและน่าสนใจที่สุด
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction)
ในขั้นนี้จะเป็นการทอนความคิด การวิเคราะห์งานและแนวคิดการออกแบบบทเรียนขั้นแรก การประเมินผลและการแก้ไขการออกแบบ จะทำงานดังนี้
  1. ทอนความคิด (Elimination of Ideas)
    หลังจากการระดมสมองแล้ว ต้องนำ ความคิดทั้งหมดมาประเมินเพื่อดูข้อคิดที่น่าสนใจ การตัดความคิดที่ทำไม่ได้ออก
  2. วิเคราะห์งานและแนวคิด (Task and Concept Analysis )
    การวิเคราะห์เป็น การพยายามวิเคราะห์ขั้นตอนเนื้อหาที่ผู้เรียนต้องศึกษาจนทำให้เกิดการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาต้องทำอย่างละเอียด ส่วนใดที่ไม่เกี่ยวข้องหรือส่วนที่อาจก่อให้เกิดความสับสนก็ให้ตัดออก
  3. การออกแบบบทเรียน (Preliminary Lesson Description)
    หลังจากได้มีการวิเคราะห์งานและแนวคิด ผู้สร้าง/ผู้ออกแบบต้องนำงานและแนวคิดทั้งหลายมาผสมผสาน ทำการแบ่งแยกเนื้อหาออกมาให้เป็นบทเรียนที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบต้องจัดการให้เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละประเภท การจัดรูปร่างให้ออกมาอย่างไรบ้าง ถึงจะให้เกิดความน่าสนใจในการเรียน โดยการสร้างสรรค์งานหรือจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้มีความน่าสนใจ ซึ่งเนื้อาที่แสดงในแต่ละหน้า ไม่ควรให้ยาวจนเกินไป แม้ว่าหน้าเอกสารเว็บสามารถที่จะ scroll ลงมาได้ก็ตาม
  4. ประเมินและแก้ไขการออกแบบ (Evaluation and Revision of the Design)
    การประเมินและแก้ไขการออกแบบเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการออกแแบบทเรียนอย่างมีระบบ การประเมินต้องมีการทำอยู่เป็นระยะ ๆ ระหว่างการออกแบบ ไม่ใช่หลังจากที่ออกแบบโปรแกรมเสร็จแล้วเท่านั้น การประเมินผลรวมถึงการทดสอบผู้เรียนว่าสามารถดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ บรรลุเป้าหมายหรือไม่ การรวบรวมทรัพยากรด้านข้อมูลต่างๆให้มากขึ้น การเพิ่มเติมเนื้อหา ทั้งในส่วนของบทเรียน ส่วนอ้างอิง ส่วนเชื่อมโยงไปสู่แหล่งความรู้ในเว็บไซต์ต่างๆ นำทุกส่วนมาพิจารณาอีกครั้ง หากพบส่วนที่จะเป็นอุปสรรคก็ปรับแก้วิเคราะห์งานหรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนการวางกรอบเนื้อหาและเขียนผังงาน (Flowchart Lesson)
ผังงานก็คือ ส่วนโครงสร้างของสาระเนื้อหาที่กำลังจะพัฒนาซึ่งจะแสดงขั้นตอนการสร้างงาน การเขียนผังงานจะช่วยให้เข้าใจลำดับการสร้างบทเรียนที่ชัดเจนและง่ายต่อการตรวจสอบ แก้ไขได้อย่างรวดเร็วในภายหลัง การเขียนผังงานมีหลายระดับแตกต่างกันไปแล้วแต่ความละเอียดของแต่ละเนื้อหาบทเรียน นอกจากนี้ ยังสามารถนำผังงานมาพิจารณาความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ การเข้าถึงเนื้อหา เพราะหากบทเรียนมีความลึกมาก ก็อาจจะเป็นอุปสรรคและปัญหาของการควบคุมลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ได้

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนการสร้างหน้าเอกสารบทเรียน ( web document Lesson)
ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการเปลี่ยนต้นฉบับหรือโครงร่างให้เป็นหน้าเอกสารเว็บ ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบบทเรียนจะต้องรู้จักเลือกใช้โปรแกรมการเขียนเอกสารเว็บที่ถนัดและเหมาะสมกับตนเอง ซึ่งมีอยู่หลากหลาย อาทิ Adobe Dreamweaver , Namo Editor, Edit Plus นอกจากนี้ยังจะต้องมีความรู้ในการใช้โปรแกรมประเภท Image editor หรือโปรแกรมสำหรับตกแต่ภาพ โปรแกรมสร้าง animation รวมถึงต้องเข้าใจภาษา html ภาษาสคริป (Script) เป็นต้น
เสน่ห์สำคัญของบทเรียนออนไลน์ ที่ไม่มีในสื่อการเรียนรู้ประเภทอื่นๆก็คือ ผู้สร้างสามารถที่จะปรับแต่ง เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ลดทอนสาระเนื้อหาได้โดยง่าย
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนการเผยแพร่ทดสอบบทเรียน ( Publish)
ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการนำเอาสาระการเรียนรู้ที่ได้สร้างขึ้น นำเข้าสู่ระบบ ซึ่งกลไกการเข้าสู่ระบบ มีหลายวิธีการ ได้ทั้งการ upload ผ่านโปรแกรมประเภท file transfer ต่างๆ หรือ ผ่านระบบของ web-based learning ที่ได้ออกแบบไว้

ขั้นตอนที่ 6 ขั้นตอนการประเมินหรือแก้ไขบทเรียน(Evaluate and Revise)
ในช่วงสุดท้าย บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมด ควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินในส่วนของการนำเสนอและการทำงานของบทเรียน ในช่วงการนำเสนอนั้นผู้ที่ควรจะทำการนำเสนอก็คือผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อน ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น ผู้ออกแบบควรที่จะทำการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ในขณะที่ใช้บทเรียนหรือสัมภาษณ์ผู้เรียนหลังการใช้บทเรียน โดยผู้เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจครอบคลุมการทดสอบนำร่องและการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญได้
Readmore...
วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

11.4 องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา

0 comments
 
องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
  1. บุคลากร(ครู)
    หมายถึง ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน ภูมิปัญญา หรือผู้ที่มีส่วนในการจัดกิจกรรมทางการศึกษา เป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการจัดการศึกษา
  2. ข้อมูล/ความรู้
    หมายถึงข้อมูล ความรู้ หรือประสบการณ์ต่างๆที่อยู่ในบุคลากร(ครู) สาระเนื้อหาการเรียนรู้ (ตาม)หลักสูตร สื่อ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้ ถูกนำมาบูรณาการเพื่อการเรียนรู้ และการเข้าถึง นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เทคโนโลยีและการสื่อสาร
    เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น การจัดการความรู้ มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสนับสนุนและเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง คือระบบสารสนเทศ ระบบการเรียนรู้ ระบบการสื่อสาร และระบบสนับสนุน กระบวนการ กระบวนการประกอบด้วยขั้นตอน การแสวงหา การสร้าง การเก็บและเรียกใช้ การถ่ายโอน
  4. วิธีการและกระบวนการ
    หมายถึงวิธีการบริหารและจัดการเพื่อนำมวลความรู้ จากแหล่งความรู้นำไปเผยแพร่ในระบบอย่างมีระบบและประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้สูงสุด

ประโยชน์ของการจัดการความรู้
เป้าหมายของการจัดการความรู้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นการจัดการเพื่อให้ ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนในการจัดกิจกรรมทางการศึกษาได้รับความรู้ความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน การจัดกิจกรรมทางการศึกาาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล สิ่งทำสำคัญอีกประการหนึ่งก็ คือ เป็นฐานองค์ความรู้หลักในการ พัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่โดยการถ่ายโอนความรู้ ประสบการณ์ในการทำงานของคนรุ่นเดิมไปสู่คนรุ่นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อประสิทธิภาพโดยรวมในการดำเนินกิจกรรมการศึกษาอย่างต่อเนื่อง


ในการดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กรและสถานศึกษา มุ่งเน้นที่จะรวบรวมมวลสรรพสิ่งที่มีอยู่รอบตัว อยู่ในตัวของบุคลากรที่เป็นทั้งความรู้ ทั้งประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลหรือประสบการณ์ของกลุ่ม นำมาจัดสรร จัดลำดับเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ นำไปเผยแพร่ เพื่อสร้างประโยชน์โดยรวมในภาพลักษณ์ต่างๆดังนี้

  1. ปรับปรุงแนวคิด วิธีการในการดำเนินกิจกรรมการศึกษาให้มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. เพิ่มองค์ความรู้ นำไปสู่การพัฒนาสาระการเรียนรู้ ให้กับระบบการเรียนการสอน
  3. สร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้ ส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้อย่างเต็มที่
  4. เพิ่มคุณภาพและลดช่วงเวลาในการให้พัฒนาหลักสูตร สาระการเรียนรู้
  5. ลดค่าใช้จ่าย โดยตัดทอนขั้นตอนหรือกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน
  6. ให้ความสำคัญกับความรู้ของครู บุคลากรทางการศึกษา
  7. สร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้ ทักษะประสบการณ์และข้อมูล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
Knowledge resides in the users and not in the collection. ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้
(Y. Maholtra)

KM is a Journey, not a destination.

การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง
(Warick Holder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai)

A little knowledge that acts is worth more than much knowledge that is idle.

ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉย ๆ
(Kahlil Gibran)

Knowledge is a key asset, but it is often tacit and private.
ความรู้เป็นสินทรัพย์สำคัญ แต่บ่อยครั้งความรู้เป็นสิ่งฝังลึกและเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล

Knowledge is not what you know, but is what you do. ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ

Successful knowledge transfer involes neither computers nor documents but rather interactions between people. การถ่ายทอดความรู้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน
(Mason & Mitroff, 1973)

Shift from error avoidance to error detection and correction จงเปลี่ยนจากการหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ไปสู่การค้นหาความผิดพลาดและแก้ไข

อ้างอิง : กรมการปกครอง
Readmore...

11.5 หลักการออกแบบสื่อเพื่อการเรียนรู้

0 comments
 
ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy – KBE) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นคำกว้างๆ ที่มีความหมายครอบคลุมถึง เทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานในองค์กร มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน ซึ่งช่องทางบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถตอบสนองในการเป็นเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปัน นำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน



ก่อนการออกแบบสื่อเพื่อการเรียนรู้ในแต่ละประเภท ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ และเงื่อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของสื่อ วิธีการนำไปใช้ จนถึงกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งาน ดังนั้น ในการออกแบบจำเป็นต้องศึกษาและเข้าใจหลักการรวมถึงขั้นตอนในการออกแบบ เพื่อนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการปฏิบัติและลงมือสร้างสาระการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อให้ได้สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อกระบวนการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
หลักการออกแบบสื่อเพื่อการเรียนรู้ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เร้าความสนใจ (Gain Attention)
ขั้นตอนที่ 2 บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objectives)
ขั้นตอนที่ 3 ทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
ขั้นตอนที่ 4 การเสนอเนื้อหา (Present New Information)
ขั้นตอนที่ 5 ชี้แนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
ขั้นตอนที่ 6 กระตุ้นการตอบสนอง (Elicit Responses)
ขั้นตอนที่ 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
ขั้นตอนที่ 8 ทดสอบความรู้ (Access Performance)
ขั้นตอนที่ 9 การจำและนำไปใช้ (Promote Retention and Transfer)
 
1. เร้าความสนใจ (Gain Attention)
สื่อการเรียนรู้ ต้องมีลักษณะที่เร้าความสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เพื่อเป็นการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเรียน ผู้ออกแบบจึงต้องกำหนดสิ่งที่จะดึงดูดความสนใจ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมและเป้าหมายตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยหน้านำเรื่อง ซึ่งควรมีรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวหรือสีสันต่าง ๆ เพื่อให้น่าสนใจ ซึ่งก็ต้องเกี่ยวข้องกับบทเรียนด้วย คือการแสดงชื่อของบทเรียน ชื่อผู้สร้างบทเรียน การแนะนำเรื่องหรือการแนะนำเนื้อหาของบทเรียน สิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียน มีดังนี้
  1. ใช้กราฟิกเกี่ยวข้องกับส่วนเนื้อหา ควรมีขนาดใหญ่ ชัดเจน ไม่ซับซ้อน
  2. ใช้ภาพเคลื่อนไหว (Animation) หรือเทคนิคอื่นๆ เพื่อแสดงการเคลื่อนไหวที่ควรสั้นและง่าย
  3. ควรใช้สีเข้าช่วยโดยเฉพาะสีเขียว น้ำเงินหรือสีเข้มอื่น ๆ ที่ตัดกับพื้นชัดเจน
  4. ใช้เสียงให้สอดคล้องกับกราฟิก
  5. กราฟิกควรจะใช้เทคนิคที่แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว
  6. กราฟิกที่ใช้ต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน

2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objectives)
การบอกวัตถุประสงค์แก่ผู้เรียน เพื่อเป็นการให้ผู้เรียนได้ทราบถึงเป้าหมายในการเรียนหรือสิ่งที่ผู้เรียนสามารถทำได้หลังจากที่เรียนจบบทเรียน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นจุดประสงค์กว้าง ๆ จนถึงจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม การบอกจุดประสงค์จะทำให้ผู้เรียนทำความเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น สิ่งที่ต้องพิจารณาในการบอกวัตถุประสงค์ มีดังนี้
  1. ใช้คำสั้น ๆ และเข้าใจได้ง่าย
  2. หลีกเลี่ยงคำที่ยังไม่เป็นที่รู้จักและเป็นที่เข้าใจ โดยทั่วไป
  3. ไม่ควรกำหนดวัตถุประสงค์หลายข้อเกินไปในเนื้อหาแต่ละส่วน
  4. ผู้เรียนควรมีโอกาสที่จะทราบว่าหลังจบบทเรียนเขาสามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
  5. หากบทเรียนนั้นยังมีบทเรียนย่อย ๆ ควรบอกจุดประสงค์กว้าง ๆ และบอกจุดประสงค์เฉพาะส่วนของบทเรียนย่อย

3. ทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)
ลักษณะของการทวนความรู้เดิมของผู้เรียน เป็นการทบทวนหรือการเชื่อมโยงระหว่างความรู้เดิม เพื่อเชื่อมกับความรู้ใหม่ ซึ่งผู้เรียนจะมีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันออกไป การรับรู้สิ่งใหม่ ก็ควรจะมีการประเมินความรู้เดิม คือการทดสอบก่อนการเรียน และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการระลึกความรู้เดิมเพื่อเตรียมพร้อมในการเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ ซึ่งการทดสอบจะทำให้ผู้เรียนได้รู้ตัวเองและกลับไปทบทวนในสิ่งที่เกี่ยวข้อง สำหรับคนที่รู้ในเนื้อหาบทเรียนดีแล้วอาจข้ามบทเรียนไปยังเนื้อหาอื่นๆ ต่อไป การจะทำแบบทดสอบก่อนเรียนหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบทเรียนเพื่อให้เกิดความเหมาะสม สิ่งที่จะต้องพิจารณาในการทบทวนความรู้เดิม มีดังนี้
  1. ไม่ควรคาดเดาเอาว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานก่อนแล้วจึงมาศึกษาเนื้อหาใหม่ ควรมีการทดสอบหรือให้ความรู้เพื่อเป็นการทบทวนให้พร้อมที่จะรับความรู้ใหม่
  2. การทดสอบหรือทบทวนควรให้กระชับและตรงตามวัตถุประสงค์
  3. ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนออกจากแบบทดสอบหรือเนื้อหาใหม่เพื่อไปทบทวนได้ตลอดเวลา
  4. หากไม่มีการทดสอบ ควรมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนกลับไปทบทวนหรือศึกษาในสิ่งที่เกี่ยวข้อง

 
4. การเสนอเนื้อหา (Present New Information)
การเสนอเนื้อหาใหม่เป็นการนำเสนอเนื้อหาโดยใช้ตัวกระตุ้นที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบการนำเสนอมีหลายลักษณะ ได้แก่ การใช้ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟ ตารางข้อมูล กราฟิก ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการใช้สื่อหลายรูปแบบที่เรียกว่าสื่อประสม เป็นการเร้าความสนใจของผู้เรียน สิ่งที่จะต้องพิจารณาในการนำเสนอเนื้อหาใหม่ มีดังนี้
  1. ใช้ภาพนิ่งประกอบการเสนอเนื้อหา โดยเฉพาะส่วนเนื้อหาที่สำคัญ
  2. พยายามใช้ภาพเคลื่อนไหวในเนื้อหาที่ยาก และที่มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับใช้แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ สัญลักษณ์หรือภาพเปรียบเทียบประกอบเนื้อหา
  3. ในเนื้อหาที่ยากและซับซ้อนให้เน้นข้อความเป็นสำคัญ ซึ่งอาจเป็นการตีกรอบ ขีดเส้นใต้ การกระพริบ การทำสีให้เด่น
  4. ไม่ควรใช้กราฟิกที่เข้าใจยากหรือไม่เกี่ยวกับเนื้อหา
  5. จัดรูปแบบของคำ ข้อความให้น่าอ่าน เนื้อหาที่ยาวให้จัดกลุ่ม แบ่งตอน
5. ชี้แนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
การชี้แนวทางการเรียนรู้ เป็นการใช้ในชั้นเรียนตามปกติ ซึ่งผู้สอนจะยกตัวอย่างหรือตั้งคำถามชี้แนะแบบกว้าง ๆ ให้แคบลง เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์เพื่อค้นหาคำตอบ สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรต้องใช้การสร้างสรรค์เทคนิคเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อเป็นตัวชี้แนวทาง สิ่งที่จะต้องพิจารณาในการชี้แนวทางการเรียนรู้ มีดังนี้
  1. แสดงให้ผู้เรียนได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเนื้อหาและช่วยให้เห็นสิ่งย่อยนั้นมีความสัมพันธ์กับสิ่งใหม่อย่างไร
  2. แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งใหม่กับสิ่งที่ผู้เรียนมีความรู้หรือประสบการณ์มาแล้ว
  3. พยายามให้ตัวอย่างที่แตกต่างกันออกไป เพื่อช่วยอธิบายความคิดใหม่ให้ชัดเจนขึ้น
  4. การเสนอเนื้อหาที่ยาก ควรให้เห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมไปสู่นามธรรม ถ้าเนื้อหาไม่ยาก ให้เสนอตัวอย่างจากนามธรรมไปสู่รูปธรรม
  5. กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดถึงความรู้และประสบการณ์เดิม
6. กระตุ้นการตอบสนอง (Elicit Responses)
การกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองจากผู้เรียน เมื่อผู้เรียนได้รับการชี้แนวทางการเรียนรู้แล้ว ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองโดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิดและ ปฏิบัติเชิงโต้ตอบ เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ในการเรียน การกระตุ้นต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสม สิ่งที่ต้องพิจารณาในการกระตุ้นการตอบสนอง มีดังนี้
  1. พยายามให้ผู้เรียนได้ตอบสนองด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งตลอดการเรียน
  2. ควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพิมพ์คำตอบหรือข้อความเพื่อเร้าความสนใจ แต่ก็ไม่ควรจะยาวเกินไป
  3. ถามคำถามเป็นช่วง ๆ ตามความเหมาะสมของเนื้อหา เพื่อเร้าความคิดและจินตนาการของผู้เรียน
  4. หลีกเลี่ยงการตอบสนองซ้ำ ๆ หลายครั้งเมื่อทำผิด ควรมีการเปลี่ยนกิจกรรมอย่างอื่นต่อไป
  5. ควรแสดงการตอบสนองของผู้เรียนบนเฟรมเดียวกันกับคำถาม รวมทั้งการแสดงคำตอบ
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
หลังจากที่ผู้เรียนได้รับการทดสอบความเข้าใจของตนในเนื้อหารวมทั้งการกระตุ้นการตอบสนองแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้อมูลย้อนกลับหรือการให้ผลกลับไปยังผู้เรียนเกี่ยวกับความถูกต้อง การให้ผลย้อนกลับถือเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถแบ่งขั้นตอนได้เป็น 4 ประเภทตามลักษณะที่ปรากฏได้ดังนี้
  1. แบบไม่เคลื่อนไหว หมายถึง การเสริมแรงด้วยการแสดงคำ หรือข้อความ บอกความ ถูก หรือผิด และรวมถึงการเฉลย
  2. แบบเคลื่อนไหว หมายถึงการเสริมแรงด้วยการแสดงกราฟิก เช่น ภาพหน้ายิ้ม หน้าเสียใจ หรือมีข้อความประกอบให้ชัดเจน
  3. แบบโต้ตอบ หมายถึง การเสริมแรงด้วยการให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมเชิงโต้ตอบกับบทเรียน เป็นกิจกรรมที่จัดเสริมหรือเพื่อเกิดการกระตุ้นแก่ผู้เรียน เช่น เกมส์
  4. แบบทำเครื่องหมาย หมายถึง การทำเครื่องหมายบนคำตอบของผู้เรียนเมื่อมีการตอบคำถาม ซึ่งอยู่ในรูปของวงกลม ขีดเส้นใต้ หรือใช้สีที่แตกต่าง
     
    สิ่งที่ต้องพิจารณาในการให้ข้อมูลย้อนกลับ มีดังนี้
    1) ให้มีการแสดงย้อนกลับทันทีหลังจากผู้เรียนโต้ตอบ
    2) ถ้าใช้ภาพย้อนกลับ ควรเป็นภาพที่ง่าย เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
    3) บอกให้ผู้เรียนทราบว่า ถูก หรือผิด โดยแสดงในเฟรมเดียวกัน
    4) ควรมีการสุ่มการ Feedback เพื่อเร้าความสนใจ
    5) มีการเฉลยคำตอบหรือการอธิบายเพิ่มเติม
8. ทดสอบความรู้ (Access Performance)
การทดสอบความรู้หลังเรียน เพื่อเป็นการประเมินผลว่าผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ตามเป้าหมายหรือไม่อย่างไร การทดสอบอาจทำหลังจากผู้เรียนได้เรียนจบวัตถุประสงค์หนึ่ง หรือหลังจากเรียนจบทั้งบทเรียนก็ได้ กำหนดเกณฑ์ในการผ่านให้ผู้เรียนได้ทราบ ผลจากการทดสอบจะทำให้ทราบว่าผู้เรียน ควรจะเรียนเนื้อหาบทเรียนใหม่หรือว่าควรต้องกลับไปทบทวน สิ่งที่ต้องพิจารณาในการออกแบบทดสอบหลังบทเรียน มีดังนี้
  1. ต้องแน่ใจว่าสิ่งที่ต้องการวัดนั้นตรงกับวัตถุประสงค์
  2. ข้อทดสอบ คำตอบและ Feedback อยู่ในเฟรมเดียวกัน
  3. หลีกเลี่ยงการให้พิมพ์คำตอบที่ยาวเกินไป
  4. ให้ผู้เรียนตอบครั้งเดียวในแต่ละคำถาม
  5. อธิบายให้ผู้เรียนทราบว่าควรจะตอบด้วยวิธีใด
  6. ควรมีรูปภาพประกอบด้วย นอกจากข้อความ
  7. คำนึงถึงความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของแบบทดสอบด้วย
9. การจำและนำไปใช้ (Promote Retention and Transfer)
สิ่งสุดท้ายสำหรับการสอน การจำและนำไปใช้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการจำข้อมูลความรู้ ต้องทำให้ผู้เรียนตระหนักว่าข้อมูลความรู้ใหม่ที่ได้เรียนรู้ไปนั้นมีความสัมพันธ์กับความรู้เดิม หรือประสบการณ์เดิม โดยการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ รวมทั้งการนำไปใช้กับสถานการณ์ สิ่งที่ควรพิจารณาในการจำและนำไปใช้ มีดังนี้
  1. ทบทวนแนวคิดที่สำคัญและเนื้อหาที่เป็นการสรุป
  2. สรุปให้ผู้เรียนได้ทราบว่าความรู้ใหม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่ผ่านมาอย่างไร
  3. เสนอแนะเนื้อหาที่เป็นความรู้ใหม่ซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ได้
  4. บอกแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาให้กับผู้เรียน
Readmore...

test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand