แต่ในแวดวงราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานและสถานศึกษา ดูเหมือนว่ายังก้าวเดินไปอย่างเชื่องช้า แม้จะมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนเช่นเดียวกันกับภาคเอกชน มีกรอบนโยบายที่ชัดเจน แต่ภาพรวมก็ยังไม่สามารถบรรลุให้เป็นไปตามมาตรฐานการบริหารการจัดการ การให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้การจัดการศึกษาโดยตรง การสนับสนุนการจัดการศึกษาทั้งในด้านบริหาร ด้านวิชาการ งบประมาณ ด้านบริการยังดำเนินการไม่เต็มที่ บางสถานศึกษาไม่มีช่องทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายใน หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่มีเว็บไซต์หน่วยงาน สถานศึกษา ทำให้สถานศึกษาขาดโอกาส การใช้ช่องทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสร้างองค์ความรู้ เป็นประตูเชื่อมโยงความรู้สู่โลกภายนอก ส่งผลให้ครูผู้สอนในสถานศึกษายังมีอัตราการเข้าใช้งานทั้งในส่วนผู้ผลิต และผู้แสวงหาความรู้ในอัตราค่อนข้างต่ำ ผู้เรียนก็ขาดโอกาส หรือไม่มีช่องทางการเข้าถึง องค์ความรู้นอกห้องเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ปัญหาในเชิงบริหารและการบริการ
ปัญหาในเชิงบริหารและการบริการ พอสรุป ปัญหาได้ ดังนี้
- ขาดข้อกำหนดวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ นโยบายและมาตรฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สถานศึกษาขาดการวางแผนแม่บท
- ขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณ หรือหากสนับสนุนก็ไม่เพียงพอ
- ขาดการติดตามผลการใช้งาน ทั้งในเชิงระบบและมาตรฐานของบุคลากรด้านไอที
- ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารอย่างจริงจัง
- ไม่มีระบบการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายเป็นของสถานศึกษาเอง
- ขาดกลไกการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอย่างถูกระบบ
- มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยครั้ง
- ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาขาดคุณภาพ ขาดมาตรฐาน
- เวลา โอกาสการเข้าถึงช่องทางการเรียนรู้ของผู้เรียนยังมีน้อย
- ระบบ และอุปกรณ์ที่มี มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการให้บริการในการจัดการศึกษา
- ระบบ และอุปกรณ์ที่มี มีมาตรฐานต่ำไม่สอดคล้องกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนไป
- การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
- ผู้บริหารและครูผู้สอนขาดความรู้พื้นฐานในการใช้งานและการพัฒนางานในหน้าที่ (บริหารและการศึกษา)
- และอื่นๆ
การวิเคราะห์ปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหาการบริหารและการบริการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศปัจจัยหลักที่พบในสถานศึกษาส่วนใหญ่ ขาดการกำหนดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชัดเจน แม้จะมีมาตรการทางภาครัฐ ที่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ นโยบายและมาตรฐาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา แล้วก็ตาม หรือหากบางที่ได้กำหนดไว้ในแผนงานมีก็ขาดการดำเนินการอย่างจริงจัง และให้ความสำคัญน้อยลง ส่งผลให้ ขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณ ด้านความรู้ ช่องทางการเข้าถึง รวมถึงการสนับสนุนในการปฎิบัติงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกๆด้าน
หน่วยงานทางการศึกษา โดยเฉพาะครูและบุคลากรทางดารศึกษาในสถานศึกษา ต้องร่วมกันศึกษา วางแผน นำกรอบนโยบายในระดับกระทรวง(สำนัก) นำมากำหนดวิสัยทัศน์ วางวัตถุประสงค์ นโยบายและมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนการบริหาร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน การให้บริการ รวมถึงเพิ่ม(ปรับปรุง)ช่องทางการเข้าถึง การเชื่อมโยงเครือข่าย การจัดระบบการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายที่เข้มแข็ง โดยวางขั้นตอนการพัฒนาเป็นแผนแม่บททั้ง ระยะยาว ระยะเร่งด่วน รวมถึงเร่งระดมการให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอน กับครูผู้สอน รวมถึงผู้เรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วนและต้องกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทั้งระบบ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีความสำคัญเป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนานวัตกรรมและสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจในบริหารจัดการศึกษา
เป็นสิ่งที่ดีมากครับ
เป็นประโยชน์มากครับ