วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

7.6 องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

0 comments
 
ในส่วนขององค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้หากพิจารณาได้ใน 2 ลักษณะ คือ
1. องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงเทคโนโลยี
2. องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงระบบ

1.องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงเทคโนโลยี
จะประกอบด้วยเทคโนโลยี 2 สาขาหลัก คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

  1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  2. คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)
  3. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
  4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อ สื่อสาร รับ-ส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น


2.องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงระบบ
จะพบว่าระบบสารสนเทศจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่างที่จะนำพาให้ระบบสารสนเทศทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มี 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคคลากร ระเบียบปฏิบัติการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึงเครื่อง(ระบบ)คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

  1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input)
  2. เป็นส่วนสำหรับสร้างข้อมูลอักขระ(ตัวเลข ตัวอักษร คำสั่ง) ผ่านแป้นพิมพ์หรือ Keyboard กำหนดคำสั่งสำเร็จรูปผ่านเมาส์ หรือประมวลแปลผลจากภาพเป็นข้อมูลด้วย Scanner หรือการอ่านรหัสข้อมูลแถบเส้นด้วย Bar Code Reader เป็นต้น
  3. อุปกรณ์แสดงข้อมูล (Output)
    เป็นส่วนแสดงผลข้อมูล ที่จะปรากฎในรูปที่มองเห็นผ่านจอภาพ (Monitor) หรือในรูปของเอกสารผ่านเครื่องพิมพ์ (Printer) หรือถูกส่งผ่านอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ อาทิ เครื่อง projector
  4. หน่วยประมวลผลกลาง
    หรือที่เรียกว่า CPU (Central Processing Units) มีหน้าที่รับข้อมูลจากส่วนอินพุตเข้ามาประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การย้าย การปรับปรุงข้อมูลตามคำสั่ง แลัวส่งผลที่ได้ออกไปยังส่วนของเอาท์พุตตามที่กำหนดไว้
  5. หน่วยความจำหลัก
    มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่ใช้ในการทำงาน ข้อมูลนี้ มีทั้งข้อมูลที่ถูกติดตั้งเป็นข้อมูลระบบ ข้อมูลแลำคำสั่งโปรแกรมทำงานด้านต่างๆ และข้อมูลผลลัพธ์จากการประมวลผล จากการคำนวน ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกนำเข้าจากอุปกรณ์รับข้อมูลภายนอก หรือจากการทำงานประมวลผลจากโปรแกรมภายในเครื่อง หน่วยความจำหลักที่รู้จักกันดี จะรู้จักในชื่อของ harddisk
  6. หน่วยความจำสำรอง
    หรือที่รู้จักในชื่อของ RAM ซึ่งย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลซึ่ง RAM นี้ จะต้องมีไฟเข้าเลี้ยงภายใน Module ของ RAM ตลอดเวลา ลักษณะจะเป็นแผงวงจร หรือ Circuit Board ขนาดเล็กที่เรียกว่า IC
    ปัจจุบันเทคโนโลยีของหน่วยความจำมี 2 แบบ คือ
    5.1) หน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM
    5.2) หน่วยความจำแบบ Rambus

2.2 ซอฟต์แวร์ (Software)

หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นับได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงาน การกำหนดคำสั่งให้ชิ้นส่วน อุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
  1. Operating System
    หรือจะเรียกรวมว่า ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows ระบบปฏิบัติการ UNIX ระบบปฏิบัติการ Linux เป็นต้น
  2. Application
    หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้ และเพื่อใช้สนับสนุนการจัดการทั่วไป (Word Processing, Spreadsheet.) ด้านการเชื่อมโยงการสื่อสาร (web browser หรือ Messenger หรือ e-mail) หรือเป็นโปรแกรมพิเศษที่ถูกเขียนหรือพัฒนาขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านหนึ่งๆ ตามลักษณะความต้องการ(โปรแกรมจัดการร้านค้า โปรแกรมควบคุมสินค้า หรือ โปรแกรม Karaoke)

  
2.3 ข้อมูล(Data)
คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงาน และการปฏิบัติการทึ่ต้องเก็บรวบรวมไว้เพื่อใช้ประกอบการอ้างอิง การตัดสินใจและการปฏิบัติงาน ข้อมูลจะมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบมีแบบแผนมาตรฐาน เพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
ข้อมูล (DATA) คือข้อมูลต่าง ๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลคำนวณ หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้กลายเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ปัจจุบันเราถือกันว่าข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์
ชนิดของข้อมูล (Types of Data)
เราสามารถแบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้ (Alter 1996 : 151-152, Stair and Reynolds 2001 : 5)
  1. ข้อมูลที่เป็นอักขระ (Alphanumeric Data)
    ได้แก่ ตัวเลข (Numbers) ตัวอักษร (Letters) เครื่องหมาย (Sign) และ สัญลักษณ์ (Symbol)
  2. ข้อมูลที่เป็นภาพ (Image Data)
    ได้แก่ ภาพกราฟิก (Graphic Images) และรูปภาพ (Pictures)
  3. ข้อมูลที่เป็นเสียง (Audio Data)
    ได้แก่ เสียง (Sounds) เสียงรบกวน/เสียงแทรก (Noise) และเสียงที่มีระดับ (Tones) ต่างๆ เช่น เสียงสูง เสียงต่ำ เป็นต้น
  4. ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
    ได้แก่ ภาพยนตร์ (Moving Images or Pictures) และ วีดิทัศน์ (Video)
    นอกจากนั้นยังพบว่ามีข้อมูลในลักษณะของกลิ่น (Scent) และข้อมูลในลักษณะที่มีการประสมประสานกัน เช่น มีการนำเอาข้อมูลทั้ง 4 ชนิดมารวมกันเรียกว่า สื่อประสม (Multimedia) แต่ถ้ามีการประสมข้อมูลที่เป็นกลิ่นเข้าไปด้วย เราเรียกว่า Multi-scented
  
2.4 บุคลากร (People)
ก็คือ กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด มีตั้งแต่ระดับผู้ใช้งานทั่วไป ผู้บริหารองค์กร หน่วยงาน ผู้พัฒนาและวิเคราะห์ระบบ ผู้ควบคุมระบบ และนักเขียนโปรแกรม ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ ซึ่งสามารถจำแนกคร่าว ๆ ได้ 3 กลุ่มดังนี้
  1. Analysis
    หรือ นักวิเคราะห์ระบบ ทำหน้าที่วิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของระบบในองค์กรเพื่อนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  2. Programmer
    หรือนักพัฒนาโปรแกรม ( คนเขียนโปรแกรม ) ทำหน้าที่สร้าง พัฒนาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์
  3. User
    หรือเรียกว่าผู้ใช้งานโปรแกรม
ในแต่ละองค์กรหากบุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะเข้าถึง เพื่อการใช้งานระบบ สารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคล ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงาน ได้เองตามต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์การที่มีความซับซ้อนมากอาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขา คอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน
2.5 ระเบียบปฎิบัติการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน(Procedure)
เป็นระเบียบวิธีการเข้าถึงข้อมูลของเครื่อง ข้อมูลส่วนรวม การใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติงานในแต่ละโปรแกรม) การใช้งาน(ข้อมูล)เครือข่าย การดูแลรักษา การปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วย พรบ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องมีความรู้ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อพัฒนาการความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คำอธิบายคำว่า ระบบ หมายถึง ส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นโดยองค์ประกอบเหล่านั้น สามารถทำงานได้อย่างอิสระ แต่มีปฏิสัมพันธ์ในการดำเนินงาน เพื่อแก้ปัญหาหรือช่วยให้การทำงานนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สารสนเทศ สามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคน ซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน (wiki)

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand