วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

6.9 ลักษณะสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต

0 comments
 
การศึกษา (Education)ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นิยาม ความหมายของการศึกษา มีความหมายว่า "กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต" และมาตรา 15 ได้กำหนดระบบการศึกษา ในการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย


ลักษณะสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต
การศึกษาตลอดชีวิตจึงเป็นสิ่งที่มีควบคู่กับสังคมมนุษย์ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิตได้ดังนี้
  1. การศึกษาตลอดชีวิต เป็นการศึกษาของทุกคนตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจากเด็กถึงวัยชรา โดยมีจุดหมายเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงต่าง ๆ ของชีวิต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ทุกคนต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อปรับตนเองให้ก้าวทันในยุคของโลกาภิวัฒน์
  2. กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำเป็นต้องบูรณาการการเรียนรู้ทั้ง ในระบบโรงเรียน   นอกระบบโรงเรียน และ การเรียนรู้ตามอัธยาศัย กล่าวคือ มนุษย์เรียนรู้จากกระบวนการสังคมประกิต (Socialization) นั่นคือ เรียนรู้จากครอบครัว จนมาถึงการเรียนรู้จากสถาบันการ
  3. ทุกหน่วยงานในสังคม จะเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา อาทิ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ วัด สถานประกอบการ ที่ทำงาน ชุมชน ตลอดจนสถาบันทางการศึกษา องค์กรต่าง ๆ อาสาสมัคร ฯลฯ ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมการศึกษาของแต่ละสถาบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ศักยภาพของมนุษย์ ตลอดจนสนองความต้องการเรียนรู้ของบุคคลวัยต่าง ๆ
  4. รูปแบบกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต ต้องยึดหลักแห่งความเสมอภาค ยืดหยุ่นหลากหลาย ปรับเปลี่ยน ได้ตามสถานการณ์ ความเหมาะสม และสามารถสนองความต้องการของผู้เรียนทุกระดับ ยุทธศาสตร์ในการจัดกิจกรรมนั้นสามารถทำได้หลาย ๆ วิธี หรือผสมผสานบูรณาการ โดยใช้สื่อประเภทต่าง ๆ หรือสื่อประสม เช่น เรียนรู้จากครูผู้สอน วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ แบบเรียนสำเร็จรูป หนังสือพิมพ์ การประชุม การอบรม ฯลฯ ทั้งนี้จะต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของบุคคลนั้น ๆ
  5. ระบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิต จะต้องดำเนินการตั้งแต่ระดับชาติ ระดับภาค และระดับท้องถิ่น โดยมีกรอบแนวคิดและโครงสร้างในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกัน ตั้งแต่นโยบาย จุดมุ่งหมาย กลุ่มเป้าหมาย รูปแบบการจัด การวางแผน โครงสร้างการจัดองค์กร การบริหารงาน และการจัดการ ตลอดจนการจัดกิจกรรมที่ต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ หลักสูตร ยุทธศาสตร์ในการเรียนรู้ สื่อการวัดผล ประเมินผล เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand