วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

6.1 รูปแบบและระบบการศึกษา

0 comments
 

การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด นับตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน พัฒนาการดังกล่าวมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน ทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง หากเรามามองในส่วนของปัจจัยภายในนั้นเกิดจากความต้องการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญและทันสมัย ส่วนปัจจัยภายนอกเกิดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงการเมือง ตลอดจนกระแสความเจริญเติบโตทางเทคโนโลยี ในเกือบทุกแขนง ทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้ทันสมัย เพื่อความอยู่รอดและประเทศได้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการเรื่อยมา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชาติให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้า นอกจากนี้การจัดการศึกษาของประเทศไทย ยังกำหนดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นเป้าหมายระดับชาติ
จากใจความพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ในมาตราที่ 4 ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้
"การศึกษา" หมายความว่า
กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงาม ของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

นอกจากนี้ในมาตราที่ 15 ยังได้ให้ความหมายของการจัดการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบไว้ว่า
มาตรา15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกัน หรือต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน

และจากการที่มีพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 ได้ประกาศใช้ ทำให้มีการอธิบายความของการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยขึ้นใหม่ ดังปรากฎในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ดังนี้

การศึกษานอกระบบ” หมายความว่า กิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย ตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้น และมีวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐาน เพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้

การศึกษาตามอัธยาศัย” หมายความว่า กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคลซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

จากสาระสำคัญในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 มาตราที่ 15 และจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 มาตราที่ 4 ได้ระบุชี้ชัดถึงรูปแบบการจัดการศึกษาของประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบนี้ จะต้องมีความลื่นไหลต่อเนื่องกัน สามารถถ่ายโอนผลการเรียนระหว่างกันได้ ครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบพฤติกรรม เทคนิควิธีการ การสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน และการประเมิน เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การผลิต การใช้การพัฒนาสื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ( คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่นๆ)และจากปัจจัยที่สำคัญในช่วงอีก 30 ปีข้างหน้า ประชากรวัยเรียนมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจาก การมีครอบครัวช้า การเกิดของประชากรลดน้อยลง ทำให้การศึกษาในสถานศึกษาจะค่อยๆลดลง การศึกษานอกสถานศึกษา โดยเฉพาะรูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัยที่หลากหลายประสมประสานกันและกัน เพื่อเติม เสริมความรู้ในการดำรงชีวิต จึงเป็นสิ่งจำเป็น ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือทักษะในการทำงาน รวมถึงการส่งเสริมการดำรงชีวิต นำไปสู่สังคมของการศึกษาตลอดชีวิต (Life long education) ที่ยั่งยืนสืบไป

ประชากรวัยเรียนในอนาคต พ.ศ. 2553 – 2583
หน่วยเป็น ล้านคน...
ระดับการศึกษา
2553
2558
2563
2568
2573
2578
2583
ต่ำกว่า 3 ปี 2.3 2.2 2.1 1.9 1.8 1.7 1.6
ก่อนประถม (3-5 ปี)
2.6
2.3
2.2
2.0
1.9
1.8
1.6
ประถม (6-11 ปี)
5.5
5.1
4.5
4.3
4.0
3.7
3.5
ม.ต้น (12-14 ปี)
2.8
2.7
2.4
2.2
2.1
2.0
1.8
ม.ปลาย (15-17 ปี)
3.0
2.7
2.8
2.3
2.2
2.1
1.9
อุดมศึกษา (18-24 ปี)
7.0
6.8
6.3
6.2
5.4
5.1
4.8
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
Institute for Population and Social Research, Mahidol University

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand