วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

9.5 แนวทางการผลิตและพัฒนาสื่อวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา

0 comments
 
แนวทางการผลิตและพัฒนาสื่อวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา

ขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์เป็นการรับผิดชอบของผู้ผลิตรายการหรือ  ซึ่งมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน(4 P) ดังนี้ 1.ขั้นวางแผนและเตรียมการผลิต(Planning)
2.ขั้นการเตรียมอุปกรณ์และการฝึกซ้อม (Preparation)
3.ขั้นการผลิตรายการ (Production)
4.ขั้นการตรวจสอบและนำเสนอ (Presentation)



ขั้นวางแผนก่อนการผลิต
1. ขั้นวางแผนก่อนการผลิต (Pre production Planning) ในขั้นนี้อาจจะใช้เวลาเป็นวันสัปดาห์เดือนหรือปีสุดแล้วแต่รายการว่ามีความยุ่งยาก ซับซ้อนเพียงใดซึ่งในขั้นนี้จะเป็นการปรึกษาหารือกันระหว่าง ผู้ผลิตรายการผู้กำกับรายการ และผู้เขียนบทโทรทัศน์เพื่อหาหนทางในการจัดทำรายการและรูปแบบที่มีประสิทธิภาพน่าสนใจและเป็นช่วงเวลาที่ทุก ๆฝ่ายที่รับผิดชอบหลักจะร่วมปรึกษาหารือกันด้วย เช่น ผู้ผลิต ผู้กำกับผู้กำ กับเทคนิค ผู้ควบคุมเสียงผู้ควบคุมแสง และผู้ออกแบบฉาก ถ้าหากมีการวางแผนและเตรียมการที่รอบคอบแล้วงานที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนก็ดูเหมือนง่ายต่อการปฏิบัติและปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นก็ลดน้อยลงไปได้ดังกฎที่เมอร์ฟี่ (Murphy's Law) ได้กล่าวเอาไว้ว่า "อะไรที่จะผิดพลาดมันก็ย่อมจะผิดพลาดได้ ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะมีการวางแผนที่ดีแล้วก็ตามแต่การที่ไม่ได้วางแผนที่รอบคอบอย่าง เพียงพอจะนำมาซึ่งความหายนะ"
ขั้นเตรียมการและฝึกซ้อม
2. ขั้นเตรียมการและฝึกซ้อม (Setup and Rehearsal)การเตรียมการ หรือการจัดเตรียม (Setup) จะกระทำก่อน การเริ่มต้นผลิตรายการเวลาที่ใช้ในการ เตรียมการนี้จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจใน ขั้นวางแผนงบประมาณ และความยุ่งยากสลับซับซ้อนของรายการเพื่อมิให้เกิดการสูญเปล่าของเวลาในการจัด เตรียมการนี้ผู้มีหน้าที่หลักทุกตำแหน่งต้องทราบและเข้าใจว่าจะทำอะไรอย่างชัดเจน และให้คำแนะนำแก่กลุ่มของตนอย่างเพียงพอ และการทำงานจะต้องทำพร้อม ๆ กันเพื่อสำรวจดูความเรียบร้อยไปพร้อมกันด้วย ถ้ามัวรอคอยซึ่งกันและกันอยู่จะทำให้งานไม่เดินเท่าที่ควรและเสียเวลามาก การจัดการเตรียมการที่เรียบร้อยเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะทำให้รายการประสบผลสเร็จ หรือไม่ ถ้ารายละเอียดบางอย่างถูกเมินเฉยในขั้นนี้จะต้องแก้ไขทันทีเมื่อเริ่มฝึกซ้อม
การฝึกซ้อม (Rehearsal) เมื่อทุก อย่างได้ถูกเตรียมการจัดการเรียบร้อยแล้ว การฝึกซ้อมก็จะเริ่มขึ้นการใช้เวลาในการฝึกซ้อมของรายการโทรทัศน์ ปกติจะถูกกำหนด ในเวลาจำกัด ดังนั้นผู้กำกับรายการจำเป็นต้องเตรียมการและวางแผนการฝึกซ้อมให้ รอบคอบด้วย ในขั้นฝึกซ้อมนี้ผู้ผลิตจะเฝ้าดูและชมรายการจากเครื่องตรวจเช็ค (Monitor) เสมือนหนึ่งว่าตัวเองเป็นผู้ชมรายการคนหนึ่งแต่จะจดบันทึกถึงข้อดีข้อเสียและสิ่งที่ควร แก้ไขทั้งทางด้านเทคนิค และด้านคุณค่าทาง ศิลป และสิ่งเหล่านั้นจะนำมาถกเถียงหา ทางแก้ไขต่อไป
ขั้นการผลิต
3. ขั้นการผลิต (Production) การผลิตรายการโทรทัศน์สมัยก่อน ก่อนที่จะมีวิดีโอเทปหรือเครื่องบันทึกภาพนั้นรายการทุกรายการจะแสดงสด หรือออกรายการสด นั่นคือการแสดงเริ่มต้นและจบลงตามเวลาที่กำหนดโดยมิได้หยุดเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการแสดงเลย แต่ต่อมาวิวัฒนาการด้านเทคนิค และเครื่องมือต่าง ๆเจริญก้าว หน้าขึ้นมีการนำเครื่องบันทึกภาพ และเครื่องตัดต่อมาใช้ทำให้รายการ และวิธีการผลิตเปลี่ยนแปลงไปดังนั้นการผลิตรายการจึงน่า จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
รายการสด (Live) สำหรับรายการสดนี้ ขั้นตอนการผลิตนี้จะเป็นขั้นสุดท้าย ของกระบวนการรายการต่าง ๆ ที่ผลิตในลักษณะนี้ เช่น รายการข่าวโทรทัศน์ รายการ ถ่ายทอดกีฬา และรายการอื่น ๆ ที่ต้องการเสนอต่อผู้ชมทันทีทันใดยังมีรายการอีก ลักษณะหนึ่งที่จัดอยู่ในลักษณะรายการสด เรียกว่ารายการสดที่บันทึกเอาไว้ (Live on tape) หมายความว่ารายการนั้นๆได้ผลิตขึ้นมาจากเวลาจริงเหมือนกันกับรายการสด ทุกประการ หากแต่ว่าได้บันทึกไว้ในเทปบันทึกภาพเพื่อนำมาออกอากาศในเวลาต่อมา ทั้งนี้อาจเป็น เพราะในเวลาช่วงที่แสดงสดนั้นอาจมีรายการประจำอื่น ๆ อยู่แล้วก็ได้ จึงไม่สามารถออกอากาศได้เหมือนรายการสด ซึ่งเทปบันทึกภาพนี้เป็นเพียงสื่อใน
การเก็บ (Storage medium)เท่านั้น รายการต่าง ๆ ที่อยู่ในลักษณะนี้ เช่น รายการ ละครรายการละครพูดรายการสนทนา และรายการเกมส์กีฬาต่าง ๆ
ขั้นหลังการผลิต
4. ขั้นหลังการผลิต (Postproduction) รายการที่ผลิตโดยวิธีการบันทึกลงในเครื่องบันทึกภาพและนำมาตัดต่อทีหลังจะต้องมีขั้นนี้อยู่ในกระบวนการด้วยในขั้นนี้ ผู้กำกับรายการจะให้คำแนะนำกับผู้ตัดต่อภาพในการเลือกภาพต่างๆมาปะติดปะต่อ สัมพันธ์กันเป็นเรื่องราวตามที่วางแผนเอาไว้ ขั้นนี้อาจจะมีความยุ่งยากหรือง่ายดายนั้นขึ้นอยู่กับรายการ ว่าสลับซับซ้อนเพียงใด เพราะบางรายการเพียงแต่นำภาพมาตัดต่อกัน ตามเนื้อเรื่องก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่บางรายการต้องพิถีพิถันนำเอาเครื่อง คอมพิวเตอร์มาช่วยตัดต่อให้เกิดภาพพิเศษอื่น ๆ อีกมากดังได้กล่าวมาแล้วว่าวิธีการตัดต่อภาพนี้ จะช่วยให้ผู้กำกับได้ใช้ความสามารถของตนเอง ในการสร้างภาพพิเศษตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเองได้มากสามารถ เลือกมุมถ่ายที่สวย ๆ คนแสดงที่มีความชำนาญ สถานที่ ๆ เหมาะสมกับรายการ นำภาพประกอบจาก กราฟิคภาพยนตร์ เทปบันทึกภาพและภาพจากแหล่งอื่น ๆ และเสียงที่ต้องการมาช่วยเสริมเติมแต่งให้รายการมีคุณค่าน่าสนใจได้มาก



ในการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ต้องมีกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับทีมหลาย ๆ ฝ่าย และต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งแต่ละฝ่ายก็มีความชำนาญเฉพาะด้านในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบอยู่ และต่างก็มีความสำคัญต่อการผลิตรายการโทรทัศน์เท่าเทียมกัน ซึ่งการทำงานถ้าขาดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไปจะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ อาจเป็นเหตุให้รายการโทรทัศน์ที่ผลิตขึ้นไม่มีคุณภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ดังนั้นสิ่งสำคัญในการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์คือการทำงานเป็นทีมที่ต้องใช้ความรู้ และความสามารถทั้งในด้านการสร้างสรรค์ และการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ในการผลิตให้ผสมผสานกันออกมาเป็นรายการโทรทัศน์ได้อย่างมีคุณภาพ โดยทีมงานในแต่ละฝ่ายจะต้องรู้หน้าที่ของตัวเองและต้องร่วมมือประสานงานกันอย่างดี จึงจะสามารถผลิตรายการโทรทัศน์ออกมาได้ ดังนั้นการผลิตรายการโทรทัศน์จะประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้

การเตรียมการก่อนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ (Pre-Production)
การเตรียมการก่อนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ควรมีขั้นตอนการเตรียมการที่ดี เพื่อให้รายการวิทยุโทรทัศน์เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ดังที่ อรนุช เลิศจรรยารักษ์ (2539 ) และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (2531 ) กล่าวถึง การเตรียมการก่อนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์สามารถสรุปได้ดังนี้
1. การวางแนวคิด
ภายหลังจากได้รับมอบหมายงานการผลิตรายการมาแล้ว ผู้ผลิตก็จะเริ่มวางแนว ความคิดในการผลิต แนวความคิดในการผลิตทำได้ 2 วิธี
1.1 เริ่มจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากนั้นก็แปลความคิดให้เป็นจริงเป็นจัง โดยจัดงบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เข้ากับความคิด วิธีนี้มีส่วนดี คือช่วยให้เกิดงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะมาก แต่มีข้อเสียในแง่ที่ว่าการยึดเอาความคิดสร้างสรรค์มากเกินไป อาจจะไม่ส่งผลสำเร็จในช่วงการแปลงความคิดให้เป็นจริงเป็นจัง ซึ่งอาจเกิดความยุ่งยากปรากฏอยู่เบื้องหน้าที่จะตามมามากมายและเวลาที่จะใช้ดำเนินการก็เพิ่มมากขึ้น
1.2 เป็นการพัฒนาแนวคิดในการผลิตโดยใช้วิธีมองข้อจำกัดต่าง ๆ ที่มี นับแต่เครื่องมือ บุคลากร สถานที่ ภาวะเศรษฐกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ จากนั้นจึงคิดว่าจะทำรายการอะไรและทำอย่างไร วิธีนี้มีส่วนดีคือสามารถทำให้การแปลงความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นจริง
เป็นจังทำได้สำเร็จตามกำหนดเวลา ข้อเสียคือการทำงานแบบนี้อาจจะไม่ช่วยสร้างสรรค์งานทาง ด้านศิลปะเท่าใดนัก
อย่างไรก็ตามสำหรับสื่อที่ซับซ้อนอย่างวิทยุโทรทัศน์ นักวางแผนที่ดีจะได้เปรียบทุกเวลาเพราะวิทยุโทรทัศน์ต้องการความร่วมมือจากการทำงานเป็นทีมอย่างมาก
และสิ่งเหล่านี้ได้มาจากการวางแผนที่ถูกต้อง
2. วิเคราะห์เนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย
2.1 รวบรวมเอกสารและงานวิจัย (Research) ในขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้ผลิตต้องรวบรวมตำรา เอกสาร รายงานการวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยยืมมาจากห้องสมุดหรือซื้อมาจากร้านจำหน่ายหนังสือ เอกสารต่าง ๆ
2.2 วิเคราะห์เนื้อหา เอกสาร รายงานการวิจัยต่าง ๆ ตลอดจนภาพยนตร์และสไลด์ที่รวบรวมได้มาจากขั้นที่แล้วนั้น ในขั้นนี้จะเป็นขั้นนำเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวมาวิเคราะห์และคัดเลือกเอาเฉพาะที่เกี่ยวข้องและจำเป็นจะต้องใช้ในการเขียนบท
2.3 กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาที่จะผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ได้แล้ว ก็ควรจะต้องจัดทำรายการวิทยุโทรทัศน์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
3. กำหนดจุดเน้น/ จุดประสงค์
การกำหนดจุดเน้นและจุดประสงค์ในการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ ต้องกำหนดให้แจ่มแจ้งแน่ชัดลงไปว่ามี จุดเน้น จุดประสงค์ ในการผลิตรายการอย่างไรบ้าง และควรมีการประชุมร่วมกันของผู้รับผิดชอบฝ่ายต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันว่าจุดเน้นของรายการอยู่ที่ใด มีจุดประสงค์ของรายการอย่างไร และขอบข่ายของรายการมีมากน้อยเพียงใด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกระบวนการผลิตรายการและให้สอดคล้องกับความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
4. กำหนดรูปแบบและสร้างสรรค์รายการ
กำหนดรูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เป็นการกำหนดรูปแบบของรายการว่า เป็นรูปแบบใด เช่น รูปแบบสารคดี การสัมภาษณ์ บรรยาย ละคร ฯลฯ เพื่อให้การนำเสนอมีความน่าสนใจเหมาะสมกับเนื้อหารายการ จุดเน้นและจุดประสงค์ของรายการและสอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้
5. เขียนบทโทรทัศน์และตรวจสอบความถูกต้อง
ในการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ทุกรายการ บทวิทยุโทรทัศน์นับเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของรายการ ดังมีผู้กล่าวว่าบทดีมีชัยไปครึ่ง หมายความว่า ความคิดที่ดีของผู้ผลิตรายการ เมื่อได้นักเขียนบทผู้ซึ่งสามารถสร้างสรรค์รายการออกมาจากแนวคิดเบื้องต้น และวัตถุประสงค์ของรายการได้อย่างมีศิลปะในการเขียนและการนำเสนอ (Presentation) ที่ดี ช่วยให้รายการน่าสนใจไปครึ่งหนึ่งแล้ว ผู้ผลิตรายการมองเห็นความสำคัญของบทซึ่งเป็นพื้นฐานของรายการทุกรายการ จึง
นำเรื่องการพิจารณาผู้เขียนบทวิทยุโทรทัศน์เข้าสู่ที่ประชุมการผลิตเพื่อคัดเลือกผู้เขียนบท ซึ่งอาจจะเป็นนักเขียนประจำของทีมงานผลิต ผู้เขียนอิสระซึ่งรับจ้างเขียนบท ซึ่งการผลิตรายการบางรายการมีปลายตอนอาจจะต้องจ้างนักเขียนบทหลายคนก็ได้ และบางครั้งถ้าเรื่องที่จะผลิตเป็นเรื่องเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งซึ่งต้องอาศัยข้อมูลพิเศษ ผู้ผลิตรายการอาจจะต้องจ้างผู้มีความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ มาเป็นที่ปรึกษาให้นักเขียนบทหรือทั้งทีมงานวิจัยก่อนการเขียนบทก็ได้
ด้วยเหตุที่ผู้ผลิตรายการหลายท่านเห็นว่า บทวิทยุโทรทัศน์นั้นเป็นพื้นฐานสำคัญในการผลิตรายการ ผู้ผลิตรายการหลายท่านจึงมักจะเป็นผู้เขียนบทวิทยุโทรทัศน์เองด้วย
6. กำหนดสถานที่ถ่ายทำ/ ศิลปกรรม/ จัดเตรียมอุปกรณ์
ในขั้นนี้เป็นขั้นที่เราต้องตระเตรียมเพื่อการบันทึกภาพตามตารางเวลา (Schedule) ที่กำหนดไว้ วัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้มีอะไรบ้าง และใครเป็นผู้ที่รับผิดชอบบ้าง การถ่ายทำนั้นจะถ่ายทำที่ไหน ในห้องบันทึกภาพ (Studio) หรือเป็นการถ่ายทำนอกสถานที่ (Outside Studio หรือ Outdoor Recording) หากจะมีการถ่ายทำนอกสถานที่ ก็ควรจะมีผู้ที่ไปดูสถานที่จะถ่ายทำ และทำการนัดแนะกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการแสดงประกอบฉาก หรือมีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานให้การบันทึกเป็นไปอย่างสำเร็จ
7. การคัดเลือกผู้ร่วมรายการ
งานสำคัญของฝ่ายผลิตรายการอีกงานหนึ่งคือ งานคัดเลือกผู้ร่วมรายการ ผู้ร่วมรายการ หมายถึง พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ นักร้อง นักดนตรี ผู้อ่านข่าว ผู้บรรยาย ผู้สัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์ ครู อาจารย์ผู้สอนผ่านสื่อโทรทัศน์ สิ่งเหล่านี้ผู้ผลิตรายการจะต้องประชุมกับกรรมการผลิตรายการ เพื่อตัดสินใจก่อนการผลิตรายการจะเริ่มขึ้น ทั้งนี้จะต้องดูความเหมาะสม ทางเลือก และงบประมาณประกอบด้วย
8. การเตรียมตารางการผลิตรายการ
การเตรียมตารางการผลิตรายการจะเริ่มขึ้นภายหลังจากเมื่อได้บทสังเขปมา ผู้ผลิตรายการได้มอบหมายงานในหน้าที่ต่าง ๆ ให้กับผู้กำกับรายการ ผู้กำกับการผลิตฝ่ายศิลปกรรม หัวหน้าฝ่ายห้องส่ง ผู้กำกับรายการฝ่ายเทคนิค ผู้ประสานงานติดต่อผู้แสดงและบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านอื่น ๆ จนครบถ้วน ผู้ผลิตรายการจึงเริ่มจัดเตรียมตารางการผลิต
ประโยชน์ของตารางการผลิตรายการ คือทำให้ผู้ผลิตรายการได้รู้ว่ากิจกรรมอะไรทำในช่วงไหน เสร็จเมื่อใด ใครรับผิดชอบกิจกรรมนั้น ๆ ผู้ผลิตรายการก็จะเห็นภาพรวมของการผลิตรายการทั้งหมดอย่างคร่าว ๆ และสามารถควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามตารางการผลิตรายการ นอกจากนี้ตารางรายการยังช่วยให้ผู้ผลิตรายการตรวจสอบความคืบหน้าในรายการและแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ก่อนที่ปัญหาเหล่านั้นจะเป็นอุปสรรคในการผลิตรายการต่อไป
Nextในตารางการผลิตรายการจะประกอบด้วยกิจกรรมในด้านการผลิตรายการดังนี้ บทวิทยุโทรทัศน์ ผู้ร่วมรายการ ฉาก แสง เสียง กราฟิก เครื่องแต่งตัว อุปกรณ์เทคนิค อุปกรณ์และวัสดุประกอบฉาก การตัดต่อ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น ๆ กำหนดวันเสร็จ วันออกอากาศ และผู้รับผิดชอบ เป็นต้น
การปฏิบัติงานระหว่างการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ (Production)
การปฏิบัติงานระหว่างการผลิต เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้ผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ ต้องปฏิบัติเพื่อให้รายการที่ผลิตเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่ง อรนุช เลิศจรรยารักษ์ (2539 ) และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (2531 ) ได้กล่าวถึงการปฏิบัติงานระหว่างการผลิต รายการวิทยุโทรทัศน์ สามารถสรุป ได้ดังนี้
1. การเตรียมความพร้อมก่อนถ่ายทำ

ในขั้นการปฏิบัติงานระหว่างผลิต การเตรียมความพร้อมเป็นงานสำคัญอีกงานหนึ่งในการผลิตรายการ ผู้ผลิตรายการจะต้องตรวจสอบความพร้อมทุกด้าน โดยดูจากกระดาษบันทึก ซึ่งเรียกว่า Fax Sheet หรือ Facility Sheet ผู้ผลิตรายการจะจดรายละเอียดและข้อความที่จำเป็นด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ บุคลากร ด้านเทคนิค ด้านการแสดง คนงาน และอื่น ๆ ที่ต้องการไว้ ซึ่งผู้ผลิตรายการจะจดไว้ตรวจสอบเอง หรือจะจัด Fax Sheet เป็นรูปฟอร์มเพื่อแจกจ่ายให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการผลิตรายการให้ทราบโดยทั่วกัน
นอกจากนี้ผู้ผลิตรายการต้องตรวจสอบตารางปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยตารางเวลาที่กำหนดในการปฏิบัติงานเรียงตามลำดับและกำหนดเวลาที่บุคลากรฝ่ายต่าง ๆ จะเข้าประจำหน้าที่ทั้งหมดเป็นกำหนดการที่จะต้องปฏิบัติในห้องส่งตามเวลาช่วงต่าง ๆ
อย่างไรก็ตามงานอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ผลิตรายการจะต้องตรวจสอบ คือ ตารางการถ่ายทำว่าในวันที่ถ่ายทำ ถ่ายทำในหรือนอกห้องส่ง สดหรือบันทึกเทป และมีใครต้องมาเข้าฉากบ้าง ช่วงเช้าหรือบ่าย เวลาเท่าใด ตารางถ่ายทำ (Shooting Schedule) มีไว้เพื่อจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาผู้แสดง ประหยัดคนงานและอุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ เพราะการถ่ายทำบางทีตลอดวันผู้แสดงที่ยังไม่เข้าฉากตอนเช้า จะได้ไม่ต้องมาแกร่วคอยเสียเวลา
2. การกำกับและถ่ายทำรายการ
2.1 การฝึกซ้อม ผู้ผลิตรายการจะกำหนดตารางฝึกซ้อมไว้ล่วงหน้า โดยระบุวัน เวลา สถานที่ ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมาซ้อม ส่วนใครที่ไม่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ต้องมา สำหรับรายการยากจะมีการซ้อมก่อนวันผลิตรายการและบุคลากรสำคัญ ๆ ผู้กำกับรายการ ผู้ช่วยผู้กำกับ ผู้กำกับเวที และฝ่ายเสียงจะต้องมาดูเพื่อให้เข้าใจตรงกันโดยตลอด

2.2 การถ่ายทำรายการ ขั้นนี้เป็นขั้นที่บันทึกภาพเมื่อทุกอย่างได้เตรียมกันเรียบร้อยก็ถึงเวลาที่รอคอย นั่นก็คือการบันทึกภาพต่าง ๆ ตามเนื้อหาในบทเทปโทรทัศน์ แต่ก่อนที่จะถึงเวลาที่บันทึกภาพผู้กำกับรายการควรจะตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ ว่าเรียบร้อย และพร้อมที่จะถ่ายทำหรือไม่
เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างตระเตรียมเรียบร้อยแล้ว ก็พร้อมที่จะถ่ายทำได้ และในขณะที่ถ่ายทำรายการนั้นผู้กำกับจะต้องตรวจสอบสี ความคมชัด และความถูกต้องของภาพตามบทจาก TV Monitor นอกจาก นั้นก็ควบคุมดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ อีกด้วย และเมื่อบันทึกภาพเสร็จแล้วควรจะมีการ Rewind เทปเพื่อดูภาพที่บันทึกไปนั้นคมชัดและถูกต้องหรือไม่ และมีอะไรบกพร่องหรือไม่ หากพบสิ่งบกพร่องก็จะได้ถ่ายซ่อมใหม่ ซึ่งเทปโทรทัศน์นั้นมีคุณสมบัติที่ดีกว่าภาพยนตร์ เพราะไม่ต้องเสียเวลาล้างฟิล์ม (Develop) และทำแล้วผู้กำกับสามารถตรวจสอบภาพในเทปโทรทัศน์ได้ในขณะที่บันทึกภาพ และตรวจสอบอีกครั้งเพื่อความแน่นอนใจ หลังจากการบันทึกภาพแล้ว ซึ่งหากพบข้อบกพร่องก็ควรบันทึกใหม่ได้ทันที ไม่เสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการกลับไปถ่ายภาพอีกครั้งหนึ่ง
การดำเนินงานหลังการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ (Post Production)
การดำเนินงานหลังการผลิตเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการหลังจากการผลิต เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและปรับปรุงแก้ไขพร้อมทั้งการประเมินผลรายการ ซึ่งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (2545 ) อรนุช เลิศจรรยารักษ์ (2539 ) และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (2531 ) ได้กล่าวถึงการดำเนินงานหลังการผลิต รายการวิทยุโทรทัศน์ สามารถสรุป ได้ดังนี้
1. การตัดต่อลำดับภาพและผสมเสียง
ภายหลังจากการปฏิบัติการผลิตและบันทึกเทปทั้งในห้องส่ง และนอกห้องส่งแล้ว ทีมตัดต่อก็จะนำภาพที่บันทึกมาลำดับเรียงตามที่ Continuity ได้จดบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าช่วงไหน ตอนไหน จะตัดต่อด้วยตอนไหน บางรายการจะนำเทคนิคพิเศษ เช่น การหมุนภาพ พลิกภาพมาใส่ในช่วงไตเติ้ลรายการ บางครั้งผู้ผลิตรายการก็จะจ้างบริษัทผลิตไตเติ้ลทำไตเติ้ลมา 30 วินาที แล้วตัดใส่หัวเรื่องของรายการทุก ๆ ครั้ง
1.1 การตัดต่อลำดับภาพมีการตัดต่อแบบต่อชนคือแต่ละตอนแต่ละช่วงของรายการ ถ่ายทำมาสมบูรณ์แล้ว เพียงนำมาเชื่อมรายการเท่านั้นการตัดต่อแบบนี้ทำได้ง่าย บางรายการจะเป็นการลำดับภาพใหม่ มีการเลือกภาพใหม่ว่าส่วนใดควรใส่ภาพสอดแทรก ช่วงใดควรเป็นภาพมุมที่สวยกว่า ช่วงใดควรใส่ภาพใกล้ ภาพไกล ภาพกลาง ภาพ Cut Away การตัดต่อและลำดับภาพแบบนี้ต้องอาศัยศิลปะในการตัดต่อและลำดับภาพอย่างมาก จึงจะได้ภาพที่รวบรวม และแต่ละภาพจะสื่อความหมายได้อย่างสมบูรณ์ได้ตามจินตนาการที่ทีมงานการผลิตได้วางแนวโครงเรื่องไว้

ในส่วนของผู้ผลิตรายการแล้วจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้กำกับรายการ ผู้ตัดต่อลำดับภาพรับผิดชอบ ผู้ผลิตรายการจะดูอย่างผิวเผิน บางครั้งอาจจะดูหลังจากการตัดต่อครั้งแรก และให้คำแนะนำก่อนที่จะตัดต่อเสร็จครั้งสุดท้าย อย่างไรก็ตามการใส่ภาพพิเศษ กราฟิก การซ้อนตัวหนังสือ และการใส่ภาพพิเศษอื่น ๆ บางครั้งอาจจะสิ้นเปลืองงบประมาณสูง แต่ถ้าตัดต่อใส่ภาพพิเศษแล้วทำให้รายการดีขึ้นอย่างมาก ผู้กำกับรายการอาจขอความเห็นจากผู้ผลิตรายการในการตัดสินใจเพิ่มงบประมาณส่วนนี้เข้าไป
1.2 การผสมเสียง หมายรวมถึงการใส่เสียงเพลง เสียงคนบรรยาย เสียงประกอบและเสียงจริงลงไปในรายการ เพื่อให้รายการสมบูรณ์ เสียงเป็นส่วนสำคัญเช่นกัน ถ้ารายการดี ภาพดี เรื่องดี แต่การผสมเสียงลงในแถบเสียงไม่ดีผิดพลาดหรือผู้บรรยายเสียงไม่ดี จะทำให้รายการทั้งรายการเสียไปด้วย ดังนั้นผู้ผลิตรายการในช่วงวางแผนจะต้องเลือกตัวผู้บรรยาย ซึ่งถ้าเสียงดีเหมาะกับรายการและมีความชำนาญจะทำให้รายการทั้งรายการดีแต่ต้องใช้งบประมาณสูงในการจ้าง

2. ตรวจสอบความถูกต้อง/ แก้ไข

เมื่อเทปโทรทัศน์ดังกล่าวได้ถูกตัดต่อและบันทึกเสียงต่าง ๆ ตามบทที่ได้กำหนดไว้แล้ว เราก็นำเอาเทปโทรทัศน์ดังกล่าวออกฉายให้ผู้ร่วมงานฝ่ายต่าง ๆ ได้ชมกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบและวิจารณ์อีกครั้งหนึ่งว่ามีอะไรขาดตกบกพร่องบ้าง หากเรียบร้อยแล้วก็ทำ Master Tape ดังกล่าวไปสำเนาลงบนเทปที่ต้องการแล้วจึงนำไปใช้ฉายกับกลุ่มเป้าหมายได้เลย แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเทปโทรทัศน์ดังกล่าว เราก็ควรจะนำไปฉายทดลองให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยสุ่มตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย เมื่อฉายให้กลุ่มตัวอย่างชมแล้วก็แก้ไขให้เรียบร้อย จากนั้นจึงนำไปบันทึกลงเทปแล้วนำไปฉายต่อไป
การที่ต้องนำมาฉายให้กลุ่มตัวอย่างชมอีกครั้งหนึ่ง เพราะต้องการตรวจสอบความแน่นอนของเนื้อหาและความสมจริงสมจังของภาพจากทัศนะของกลุ่มเป้าหมาย เพราะหากจะเอาแต่ทัศนะของกลุ่มผู้ผลิตอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ เพราะต่างมีภูมิหลัง (Background) ที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการที่เรานำเอาเทปโทรทัศน์ไปฉายในกลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย เราจะได้ข้อคิดเห็นที่เป็นจริงทำให้การผลิตเทปโทรทัศน์ดังกล่าวประสบความสำเร็จ
3. การออกอากาศ
การออกอากาศเป็นการนำเทปรายการโทรทัศน์ที่จัดทำเสร็จแล้วไปออกอากาศ ซึ่งต้องมีการวางแผนล่วงหน้า และจัดเวลาการออกอากาศให้เหมาะสมกับสภาพการรับชมรายการของกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย
4. การประเมินผลรายการ
การประเมินผลรายการเพื่อให้ได้ข้อมูลมาปรับปรุงรายการให้เหมาะสม ทันสมัย ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่อไป
การวางแผนนับเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตรายการเทปโทรทัศน์ ทั้งนี้เนื่องจากรายการวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อสารมวลชนที่มีราคาค่อนข้างแพง แพงทั้งวัสดุอุปกรณ์และการผลิต ตลอดจนการผลิตต้องอาศัยเทคนิคการผลิตที่สูง ฉะนั้นหากมีการวางแผนในการผลิตอย่างรอบคอบในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตเทปโทรทัศน์แล้ว ย่อมจะทำให้การผลิตรายการเทปโทรทัศน์ดำเนินไปอย่างราบรื่น และสำเร็จลุล่วงไปตามกำหนดเวลา และได้ผลตามความมุ่งหมายที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ สิ่งที่จะย้ำเตือนในการผลิตรายการเทปโทรทัศน์ก็คือ เทปโทรทัศน์เป็นงานที่เกิดจากการทำงานของผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ฝ่ายร่วมกัน ฉะนั้นการทำงานเป็นกลุ่ม (Term Work) จึงเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการผลิตเทปโทรทัศน์ ความสำเร็จของรายการเทปโทรทัศน์เกิดการร่วมความคิด ร่วมแรงร่วมพลังของบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย ทุก ๆ คนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และต่างก็มีความชำนาญกันในคนละเรื่อง



Format File Description
AVI .avi รูปแบบ AVI (Audio Video Interleave) ถูกพัฒนาโดย Microsoftรูปแบบ AVI ได้รับการสนับสนุนโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใช้ Windows และโดยทั้งหมดเป็นที่นิยมที่สุดเว็บเบราเซอร์ มันเป็นรูปแบบที่พบมากบนอินเทอร์เน็ต แต่ก็ไม่เสมอไปได้ที่จะเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่ Windows
WMV .wmv รูปแบบ Windows Media มีการพัฒนาโดยไมโครซอฟท์ Windows Media เป็นรูปแบบที่พบโดยทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต แต่ภาพยนตร์ Windows Media จะไม่สามารถเล่นบนคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่ของ Windows โดยไม่ต้องเป็นองค์ประกอบ (ฟรี) พิเศษติดตั้ง ต่อมาภาพยนตร์ Windows Media ไม่สามารถเล่นที่ทุกคนบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่ Windows เพราะผู้เล่นไม่สามารถใช้ได้
MPEG .mpg
.mpeg
รูปแบบ MPEG (Moving Pictures Expert Group) เป็นรูปแบบที่นิยมมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต มันเป็นข้ามแพลตฟอร์ม และการสนับสนุนจากทุกที่นิยมมากที่สุดเว็บเบราเซอร์
QuickTime .mov รูปแบบ QuickTime คือการพัฒนาโดยแอปเปิ้ล QuickTime เป็นรูปแบบทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต แต่ภาพยนตร์ QuickTime ไม่สามารถเล่นได้บนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows โดยไม่ต้องเป็นองค์ประกอบ (ฟรี) พิเศษติดตั้ง
RealVideo .rm
.ram
รูปแบบ RealVideo ได้รับการพัฒนาสำหรับอินเทอร์เน็ตโดยสื่อจริง รูปแบบจะช่วยให้สตรีมมิ่งวิดีโอ (on - line วิดีโอ, อินเทอร์เน็ตทีวี) ที่มีแบนด์วิดท์ต่ำ เนื่องจากการจัดลำดับความสำคัญแบนด์วิดธ์ต่ำคุณภาพจะลดลงมักจะ
Flash .swf
.flv
รูปแบบ Flash (Shockwave) ถูกพัฒนาโดย Macromedia รูปแบบ Shockwave ต้องใช้เป็นส่วนประกอบเสริมในการเล่น แต่ส่วนนี้มาติดตั้งกับเว็บเบราเซอร์เช่น Firefox และ Internet Explorer
Mpeg-4 .mp4 MPEG - 4 (มีการบีบอัดวิดีโอ H.264) เป็นรูปแบบใหม่สำหรับอินเทอร์เน็ต ในความเป็นจริง, YouTube MP4 แนะนำให้ใช้ YouTube ยอมรับหลายรูปแบบแล้วแปลงพวกเขาทั้งหมดไป. MP4 FLV หรือ. สำหรับการจัดจำหน่าย มากขึ้นและออนไลน์มากขึ้นเผยแพร่วิดีโอกำลังจะย้ายไป MP4 เป็นรูปแบบการแชร์อินเทอร์เน็ตสำหรับทั้งผู้เล่นแฟลชและ HTML5

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand