วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

12.5 ปัญหาและผลกระทบด้านสังคม

1 comments
 
ปัจจุบันมนุษย์เราได้รับประโยชน์มหาศาลจากการใช้ช่องทาง เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง การติดต่อสื่อสาร ซึ่งเทคโนโลยีเครือข่ายได้ผสมผสานกลไกการเชื่อมโยงไม่ว่าจะคอมพิวเตอร์ สื่อพกพาต่างๆ ระบบโทรศัพท์ ต่างเชื่อมโยงเข้าถึงกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งสื่อต่างๆเหล่านี้มีผลต่อวิถีของชีวิตมนุษย์ หากใช้สื่อต่างๆเหล่านี้ไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นได้

 
การเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจในปัญหาสังคมที่เกิดจากการใช้สื่อสารสนเทศเหล่านี้จึงมีความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อที่มนุษย์สามารถดำรงอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่นี้ได้อย่างชาญฉลาด ในสังคมปกติการติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปนั้นจะมีเรื่องของ มารยาทและจริยธรรม เป็นแนวทางในการกำหนดให้สมาชิกในสังคมนั้นปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะสม แต่ไม่มีการลงโทษอย่างเป็นทางการหากเกิดการละเมิดหรือกระทำผิดหลักมารยาทหรือจริยธรรม ดังนั้นรัฐจึงตรากฎหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามเป็นมาตรการสูงสุดในการควบคุมและลงโทษ ดังนั้น การศึกษาหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม ที่เกิดจากสื่อสารสนเทศจะต้องทำควบคู่กันไปกับการใช้ประโยชน์ การตระหนักในเรื่องมารยาทและจริยธรรมของผู้ใช้สื่อสารสนเทศ เป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น การสร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคม จะสามารถช่วยแก้ปัญหาสังคมเหล่านี้ได้ในเบื้องต้น แต่หากเมื่อปัญหามีความรุนแรงก็ต้องใช้กฎหมายมาควบคุม โดยในบทนี้จะกล่าวถึงมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พึงรู้ ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เราสามารถพิจารณาปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จากการวิเคราะห์ทัศนคติต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในมุมมองที่แตกต่างกัน

 

 
 ปัญหาทางสังคมที่พบมากที่สุด
ปัญหาทางสังคมในการใช้เทคโนดลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันที่พบมากที่สุด พอสรุป ปัญหาได้ ดังนี้
  1. มีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์
  2. ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ที่มีพัฒนาการที่ดีและรวดเร็วขึ้น
  3. เกิดการแพร่กระจายของข้อมูลที่เป็นเท็จมากขึ้น
  4. เกิดข้อมูลหลอกลวง
  5. สะดวกสบายมากขึ้นแต่ก็มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
  6. เกิดการบุกรุก โจมตีข้อมูลองค์กรและส่วนราชการ
  7. มีผลกระทบต่อการศึกษา ผู้เรียน เด็ก ติดเกม มากขึ้น
  8. เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์
  9. นำเทคโนโลยีมาใช้ในทางที่ผิด
  10. เป็นช่องทางในการเกิดอาชญากรรม
  11. เกิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

 
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
  1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น
  2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
    ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควร
  3. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
    แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีนั้นสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้ การดำรงอยู่และส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีและ
  4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน
    ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคม พึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และหาการป้องกัน
  5. ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ
  6. ใช้แนวทางการบังคับให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิด เป็นสิ่งจำเป็น ผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ

 
 กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ :  ไม่มีใครปฏิเสธว่า อินเทอร์เน็ตมีบทบาทต่อชีวิตคนทุกเพศทุกวัย ไม่เลือกเด็ก หรือผู้ใหญ่ และแน่นอนว่า ภัยออนไลน์ที่แฝงตัวอยู่กับโลกดิจิทัลก็ไม่เลือกปฏิบัติการร้ายต่อคนใดคนหนึ่ง ทุกคนกลายเป็นเป้าหมายได้เท่าเทียมกัน หากเด็ก หรือเยาวชน อาจเป็นเป้าหมายที่หลอกล่อง่ายหน่อย เพราะความระมัดระวังยังน้อยอยู่ ฉะนั้น ผู้ปกครองจึงต้องช่วยกันปกป้อง สร้างภูมิคุ้มกันให้เขาเหล่านั้น

 
เอฟเฟนดี้ อิบราฮิม หัวหน้าฝ่ายธุรกิจคอนซูเมอร์ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น จำกัด บอกว่า ภัยออนไลน์ มีหลายรูปแบบ ทั้งการฉ้อโกง หลอกลวง ภาพโป๊ลามกอนาจาร การส่งต่อคลิปฉาว ข่าวลือ การข่มขู่คุกคาม รวมถึงเกม ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของเยาวชน ภัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนแพร่กระจายสู่คนหมู่มากได้อย่างรวดเร็ว ยากต่อการยับยั้ง จากการที่ประตูสู่โลกกว้างถูกเปิดออกอย่างง่ายดาย ทั้งเพื่อศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ การบันเทิง การพูดคุยกับเพื่อน หรือการรู้จักเพื่อนใหม่ ที่กลายเป็นสิ่งใกล้ชิดเยาวชนมากขึ้นทุกวัน

 
พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเรียนรู้ที่จะสังเกตสอดส่องพฤติกรรมของบุตรหลาน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์ อิบราฮิม บอกวิธีการสังเกตกรณีเด็กๆ เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อว่า ให้สังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของบุตรหลานว่ามีอาคารซึมเศร้า โกรธ สับสน ภายหลังการใช้โทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์หรือไม่ มีพฤติกรรมชอบปลีกตัวออกจากกลุ่มเพื่อนหรือกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ คะแนนการเรียนต่ำลง หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด หากพบเห็นการณ์เช่นนั้น เขามีวิธีแก้ไขว่า ให้คุยอย่างเปิดใจและให้ความมั่นใจว่าจะไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการใช้ชีวิตของเขา เช่น ห้ามใช้มือถือ เล่นเน็ต ฯลฯ เพราะนั่นเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้เขายิ่งถลำลึกมากขึ้น เหมือนยิ่งพูดยิ่งยุ ในกรณีที่เด็กถูกข่มขู่ พยายามให้เขาเปิดเผยข้อมูลให้มากที่สุด พร้อมกับทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ คือ เก็บหลักฐานเท่าที่จะหาได้ แจ้งหน่วยงานปราบปรามหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ แจ้งไปยังผู้ให้บริการมือถือ หรือไอเอสพีให้ตรวจสอบถึงต้นตอหรือที่มาของเวบไซต์ล่อลวงเหล่านั้น

 
กรณีที่เหตุการณ์มีที่มาจากสถานศึกษาให้ติดต่อครูหรือผู้ดูแลสถานศึกษาเพื่อช่วยเป็นหูเป็นตาให้อีกแรง รวมทั้งคอยป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เดียวกันกับเด็กกลุ่มอื่นๆ และหากเข้าข่ายเป็นการข่มขู่เกี่ยวกับการประทุษร้าย หรือการล่วงละเมิดทางเพศ ให้แจ้งตำรวจทันที ส่วนจะรู้ได้อย่างไรว่าบุตรหลานของเราตกเป็นเหยื่อภัยคุกคามทางออนไลน์หรือไม่ เขาแนะนำให้ตรวจสอบเวบไซต์ที่บุตรหลานเข้าไปดู และสืบค้นดูว่ามีชื่อของบุตรหลานเราอยู่ใน Social Networking นั้นๆ หรือไม่ ตรวจสอบมือถือ หมายเลขโทรเข้า-ออก และข้อความหรือภาพที่เก็บไว้บนเครื่อง หากบุตรหลานรู้สึกว่าเป็นการบุกรุกสิทธิส่วนตัวเขา จะต้องทำความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องคอยดูแลและรับผิดชอบในสิ่งที่เขาทำลงไป และหากบุตรหลานยังคงมีพฤติกรรมการเล่นเน็ตที่ล่อแหลมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ปกครองอาจใช้วิธีขอร้องแกมบังคับการลดการใช้มือถือและคอมพิวเตอร์ลงเพื่อยับยั้งภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เทคโนโลยีมีประโยชน์กับชีวิตเรามากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านข้อมูลข่าวสารที่สะดวกรวดเร็ว แม่นยำ หรือเป็นช่องทางการสื่อสาร เป็นประตูให้เราเปิดไปสู่โลกที่ไร้ขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็มีด้านลบที่อันตราย ถ้าเลือกใช้ไม่ถูกทาง ฉะนั้นเราจึงต้องสอนให้เขาได้รู้จักและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านั้นให้ถูกต้อง

 
อิบราฮิม ยังฝากทิปการเล่นไอเอ็ม (Instant Message) ให้ปลอดภัย โดยบล็อกคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่ต้องการติดต่อด้วย อย่าส่งข้อมูลส่วนตัวผ่านไอเอ็ม อย่าตอบกลับคนแปลกหน้า อย่าคลิกเวบลิงค์หรือเปิดไฟล์ที่ไม่ทราบที่มาที่ไปหรือน่าสงสัยว่าอาจมีไวรัสแฝงเข้ามา อย่านัดพบเพื่อนทางเน็ต สอดส่องดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิดให้ห่างไกลจากการถูกล่อลวง

One Response so far.

  1. Charles says:

    กำลังมองหาคาสิโนออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบเพื่อเล่นอยู่ใช่ไหม? ตอนนี้คุณสามารถค้นหาคาสิโนออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบของคุณได้พร้อมคำวิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ https://www.gclub-lnwasia99.com/baccarat/ แนวทางที่เข้มงวดและพิถีพิถันในการเขียนรีวิวคาสิโนออนไลน์ที่ดีที่สุดนั้นแตกต่างจากเว็บไซต์ทบทวนคาสิโนออนไลน์อื่นๆ มากมาย เริ่มต้นด้วยการสร้างบัญชีกับเว็บไซต์ที่มีปัญหา ผู้ตรวจสอบลงทะเบียนบนเว็บไซต์และฝากเงินของตนเอง รับโบนัสต้อนรับ เล่นสล็อตออนไลน์ด้วยเงินจริงและเกมอื่น ๆ ศึกษา "ข้อกำหนดและเงื่อนไข" ทำการขอถอนเงินและอื่น ๆ จนกว่าพวกเขาจะวิเคราะห์ทุกด้านของเว็บไซต์ . หลังจากนั้นพวกเขาจะทำการประเมินคุณภาพ ในตอนท้าย - เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์สองสามข้อ ไม่ใช่ทุกคาสิโนออนไลน์จะใจกว้างเท่ากัน เรียกดูเว็บไซต์และค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมสะสมคะแนน หากคุณต้องการรับรางวัลจากการใช้เวลาและเงินที่คาสิโน

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand