แต่ในโลกของสังคมที่แวดล้อมไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นำมาซึ่งความสะดวกสบาย เกิดพัฒนาการทางความคิด จากมวลความรู้ ที่มากมายมหาศาลบนโลกเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว กว้างไกล แต่ในความก้าวหน้าของสังคมที่เกิดขึ้น สังคมร้ายที่แอบแฝง มีพัฒนาการในการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคล สิทธิขององค์กรในหลายลักษณะโดยเฉพาะการลุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรง สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง นับมูลค่ามหาศาล ดังนั้น ในทุกๆประเทศรวมทั้งประเทศไทย จึงต้องมีกฎหมายให้การคุ้มครองสิทธิพื้นฐานต่างๆ กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสังคม
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศมิได้มีเฉพาะในด้านดี แต่ยังนำมาซึ่งปัญหาใหม่ๆที่เรียกว่า อาชญากรรมบนเครือข่าย ตัวอย่างเช่น
- อาชญากรรมการขโมยข้อมูล
อาชญากรรมประเภทนี้อยู่ ในรูปของการเข้าถึงระบบเพื่อขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ - แพร่ข้อมูลหลอกลวง
เป็นการส่งข้อมูลถึงผู้บริโภคด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือข้อมูลหลอกลวง ซึ่งบางเรื่องเกิดการลุกลามแพร่กระจายไปอย่างมาก และรวดเร็ว จนระบบเมล์ขององค์กรหรือหน่วยงานในบางแห่งไม่สามารถที่จะรองรับข้อมูลเมล์ได้ เป็นผลทำให้ระบบล่มทันที - การเผยแพร่ข้อมูลที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยการเผยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วน บุคคล เช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง - การบุกรุกและทำลายข้อมูล
การเข้าถึงระบบฐานข้อมูลส่วนบุคคลหรือองค์กรโดยที่ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรง ปัจจุบันพบว่ามีเว็บไซต์หลายแห่งทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน ถูกบุกรุกเข้าดู ค้นหา แก้ไข ทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ ทำให้เกิดความเสียหายโดยรวม - การโจมตีเผยแพร่ไวรัส
ปัจจุบันพบว่า การโจมตีการเผยแพร่ไวรัสไปยังเวปไซต์ ไปยังอีเมล์ต่างๆ นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขี้น สร้างผลร้ายโดยรวม เป็นอันมาก ยิ่งเทคโนโลยีการใช้สื่อพกพาประเภท Flash drive ที่นิยมกันอย่างมาก ก็ยิ่งเป็นส่วนนำพาแพร่กระจายไวรัสได้มากยิ่งขึ้น - การใช้ช่องทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการประกอบอาชญากรรมหรือสิ่งผิดกฎหมาย
หน่วยงาน สถานศึกษา สถานที่ราชการหลายแห่ง ได้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาน (WiFi) ซึ่งบางแห่งเป็นบริการสาธารณะเปิดใช้โดยไม่มีระบบการเข้ารหัสการใช้งาน ซึ่งอาจจะมีผู้ใช้ช่องทางนี้ นำไปประกอบอาชญากรรม หรือกระทำความผิด ในลักษณะต่างๆอาทิ การซั่งซื้อของผิดกฎหมาย การก่ออาชญากรรมทางการเงิน การส่งข่าวสารที่เป็นภัยต่อบุคคล ต่อองค์กร ต่อความมั่นคง และในด้านอื่นๆ อีก
นอกจากนี้ยังมีกฎหมายสำคัญอีกฉบับคือ พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พศ. 2550 ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลายต้องรับทราบและเข้าใจ เพราะนอกจากคำว่า “กฎหมาย” จะเป็นเหมือนข้อบังคับสำหรับทุกบุคคล ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมายต้อง รับรู้รับทราบแล้ว รายละเอียดในกฎหมายฉบับนี้ยังเกี่ยวข้องกับสิทธิที่ควรทราบ และบทลงโทษ ที่คนทั่วไปที่ใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศทั่วๆไปอาจละเมิดได้
การวิเคราะห์ปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหาสิทธิและข้อกฎหมายในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มทวีความรุนแรง และไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่นอย่างรวดเร็วหรือเฉียบพลันได้ การกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิดจึงเป็นสิ่งจำเป็น ผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับบทลงโทษ หรือสัญญา ที่จะต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันปัญหาสังคมที่จะมากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ (Copyright) ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น จะเริ่มจากการแก้ปัญหาที่ตัวบุคคล จากนั้นจะพิจารณาแก้ปัญหาด้วยวิธีการในการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคม ก่อนที่จะใช้วิธีการบังคับด้วยกฎหมาย ซึ่งจะใช้กับปัญหาที่รุนแรง อย่างไรก็ตามวิธีการแก้ปัญหาด้วยการบังคับใช้กฎหมายนั้นจะไม่ยั่งยืน ผิดกับแนวทางในการสร้างจริยธรรมในหมู่ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง ซึ่งในตอนถัดไปจะกล่าวถึงจริยธรรม และกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
การแก้ปัญหาโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการแก้ไขปัญหาสังคมโดยทั่วไปนั้น การเสริมสร้างจริยธรรมในหมู่สมาชิกในสังคมเป็นทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนที่สุด แต่ความเป็นจริงนั้นเราไม่สามารถสร้างจริยธรรมให้กับปัจเจกบุคคลโดยทั่วถึงได้ ดังนั้นสังคมจึงได้สร้างกลไกใหม่ขึ้นไว้บังคับใช้ในรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม อย่างไรก็ตามเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น รูปแบบของปัญหาสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นจะต้องตราเป็นกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ในลักษณะต่างๆ รวมถึงกฎหมายด้วย ในกรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต ทำให้รูปแบบของปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความหลากหลายและยุ่งยากมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีกลไกในรูปของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ใช้บังคับ
สำหรับในประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยได้มีการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ระบุว่า “รัฐจะต้องพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ”
กฎหมายด้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหลายฉบับ โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ Computer Relate Crime) : เพื่อคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอันถือเป็นทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง (Intangible Object) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ไปแล้ว
- กฎหมายพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Commerce) : เพื่อคุ้มครองการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ในด้านต่างปัจจุบันมีกฎหมายที่ประกาศใช้แล้ว คือ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ภายใน พรบ. ฉบับนี้ จะมีส่วนสำคัญในเรื่องของการใช้ลายมืออิเล็กทรอนิกส์ รวมอยู่ด้วย เพื่อให้การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในอันที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยี เพื่อการลงลายมือชื่อ เช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อแบบธรรมดา สามารถระบุตัวบุคคลผู้ลงลายมือชื่อ สามารถแสดงได้ว่าบุคคลนั้นเห็นด้วยกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์กำกับอยู่
- กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) : เพื่อวางกลไกในการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีประมิทธิภาพ ทั้งสร้างหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง (Universal Service) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ
- พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543
- พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
- พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๙
- พรบ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498
- พรบ.โทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ.2477
- พรบ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497
- พรบ.โทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ.2517
- พรบ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498
- พรบ.คุ้มครองการดำเนินงานขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก พ.ศ.2522
- พรบ.คุ้มครองการดำเนินงานขององค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ
- พรบ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519
- พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ฯ
- พรบ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับ ที่รอการดำเนินการ อาทิ
- กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Funds Tranfer) :เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างหลักประกันที่มั่นคง
- กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) : เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวจากการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ
- กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI ) : เพื่อที่จะเอื้อให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็คทรอนิกส์ได้
- กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
เห็นด้วย
g2gcash เว็บ สล็อต หมายคือเว็บไซต์ให้บริการเกมสล็อตชั้นยอดของโลกและเกมสล็อตแบบใหม่ จากหลากหลายแบรนด์เกมที่มีชื่อ pg slot เพื่อนำมาสร้างความสนุกสนานและทำเงินให้กับผู้ที่พึงพอใจ