วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

3.7 บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษา

0 comments
 


จาก Domain of Education Technology ด้านบนจะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายนั้น ประกอบด้วย
1. การจัดการทางการศึกษา (Educational Management Functions)
2. การพัฒนาทางการศึกษา (Educational Development)
3. ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)
4. ผู้เรียน (Learner)



1.การจัดการทางการศึกษา (Educational Management Functions)
เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมหรือกำกับการพัฒนาการศึกษา/การสอน หรือการจัดการทางการศึกษา/การสอน (การวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมนผล การให้ความช่วยเหลือการใช้) เพื่อเป็นหลักประกันประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
  1. การจัดการหรือบริหารด้านหน่วยงานหรือองค์การ (Organization Management) เพื่อให้ดำเนินงานตามวิธีระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ จะเกี่ยวข้องกับงานสำคัญ ๆ ดังนี้คือ1.1) การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย เกี่ยวกับบทบาท วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน ผู้เรียน ทรัพยากรการเรียน ฯลฯ จะต้องให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน
    1.2) การให้การสนับสนุน จะต้องมีการวางแผน การจัดหาข้อมูล ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการพิจารณาและตัดสินใจ และการวางแผนปฏิบัติงานและการประเมินผลงานที่ดี1.3) การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ1.4) การสร้างความประสานสัมพันธ์ ให้มีการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารเพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์
  2. การจัดหรือบริหารงานด้านบคคล (Personal Management) เป็นการจัดงานทางด้านการจัดบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่การงาน และความสามารถเฉพาะงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ อันได้แก่การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานทั้งการบรรจุใหม่ หรือการว่าจ้าง การฝึกอบรมหรือพัฒนากำลังคน การนิเทศงาน การบำรุงขวัญการทำงาน สวัสดิการ และ การประเมินผลการประกอบกิจการของบุคคล
2. การพัฒนาทางการศึกษา (Educational Development)
ป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดค้น การปรับใช้ และการประเมินผล ข้อแก้ไขปัญหา ทรัพยาการเรียน ด้วยการวิจัย (Researci-tneory) การออกแบบ (Desing) การผลิต (Production) การประเมินผล (Evaluation) การใช้ (Utilizsiton) ทั้งหมดนี้ต่างก็มีวิธีการดำเนินการที่มีส่วนสัมพันธ์กับทรัพยากรการเรียน เช่น ในด้านการวิจัยนั้น เราก็วิจัยทรัพยากรการเรียนนั่นเอง ซึ่งก็ได้แก่การวิจัย ข่าวสารข้อมูล บุคลากร วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่ ดังนี้เป็นต้น นอกจากนี้ เนื่องจากว่าเทคโนโลยีการศึกษามีส่วนในการพัฒนา และเอื้ออำนวยต่อกระบวนการสอนต่าง ในระบบการสอน จึงจะต้องมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการพัฒนาระบบการสอนและระบบการศึกษาด้วย

2.1 การวิจัย ในการพัฒนาทรัพยากรการเรียนเป็นการสำรวจศึกษาค้นคว้า และทดสอบเกี่ยวกับความรู้ ทฤษฎี (ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัย) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรการเรียน องค์ประกอบระบบการสอนและผู้เรียน การวิจัยเป็นการพัฒนาโครงสร้างของความรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐาน การตัดสินใจในการดำเนินการผลของการวิจัยคือ ได้ความรู้ ซึ่งจะนำไปใช้ ศึกษาค้นคว้าข้อมูล อ่านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ทดสอบข้อมูล วิเคราะห์และทดสอบผลลัพธ์ที่ได้
2.2 การออกแบบ เป็นการแปลความหมาย ความรู้ในหลักการทฤษฎีออกมาในรายละเอียด เฉพาะสำหรับเกี่ยวกับทรัพยาการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน ผลลัพธ์ของการออกแบบ ได้แก ่รายละเอียดเฉพาะสำหรับผลิตผลของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนในเรื่องเกี่ยวกับ รูปแบบหรือแหล่ง หรือทรัพยากรกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนวัตถุประสงค์ ศึกษาลักษณะผู้เรียน วิเคราะห์งาน กำหนดเงื่อนไขการเรียนกำหนดสภาวการเรียน กำหนดรายละเอียดทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน
2.3 การผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลความหมาย ข้อกำหนดรายละเอียดสำหรับ ทรัพยาการการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนให้เป็นแบบลักษณะเฉพาะ หรือเป็นรายการที่จะปฏิบัติได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผลิตผลลักษณะเฉพาะในรูปแบบ ข้อทดสอบ แบบจำลอง กิจกรรมที่ดำเนินงาน ได้แก่ การใช้เครื่องมือสำหรับการผลิต การเขียนแบบ การร่างแบบ การเขียนเรื่องหรือเค้าโครง สร้างแบบจำลอง
2.4 การประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประเมินผลการดำเนินงานของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอน และเพื่อพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ทดสอบ ผลลัพธ์ที่ได้ การประเมินผลการออกแบบ ประสิทธิผลของทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอนที่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด การประเมินผลที่ได้ ทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบการเรียนที่เชื่อถือยอมรับได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน การประเมินผลเพื่อการประเมินผล เช่น ประเมินผลแบบจำลอง การประเมินผลเพื่อการเลือกประเมินผลเพื่อการใช้ ทรัพยากรการเรียนที่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด กิจกรรมในการดำเนินงานใช้วิธีการวิเคราะห์คุณภาพ มีเกณฑ์มาตรฐานเป็นเครื่องกำหนด
2.5 การให้ความช่วยเหลือ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอน เอื้ออำนวยต่อองค์ประกอบหน้าที่อื่น ๆ ผลลัพธ์ที่ได้คือการสั่งจอง การจัดหาการแยกประเภทจัดหมวดหมู่ การทำแคตตาลอก การกำหนดตารางเรียน ตารางการใช้ การจำหน่ายจ่ายแจก การใช้เครื่องมือ การบำรุงรักษา และการซ่อมแซมเกี่ยวกับทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบการสอน กิจกรรมที่ดำเนินการคือ การสั่ง การจัดคลังอุปกรณ์ การจัดหมวดหมู่ การทำแคตตาลอก การทำตารางสอน การจำหน่ายแจกจ่าย การใช้เครื่อง การซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพยากรการเรียน
2.6 การใช้ เป็นเรื่องของการใช้วัสดุ เครื่องมือ เทคนิคการวิจัยและการประเมินผล เพื่อให้การจัดการศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิผล ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียนมีการเลือก เช่น การเลือกวัตถุประสงค์การสอน การเลือกทรัพยากรการเรียน การกำหนดขนาดกลุ่ม-กลุ่มใหญ่-กลุ่มเล็ก หรือการเรียนแบบรายบุคคล มีการเตรียมการ เช่น เตรียมทรัพยากรการเรียนเตรียมผู้เรียน เตรียมชั้นเรียน มีการนำเสนอ และการประเมินผลการเรียน อันเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งการสอนซ่อมเสริมสำหรับผู้เรียนที่มีปัญหาในการเรียนไม่ได้มาตรฐานเท่าระดับชั้น หรือผู้เรียนที่มีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับส่วนบุคคล เป็นต้น


3.ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)


ทรัพยากรการเรียน ได้แก่ ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยว หรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ข้อสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่
  1. ข้อสนเทศ/ข่าวสาร (Message) คือ ข้อสนเทศที่ถ่ายทอดโดยองค์ประกอบอื่น ๆ ในรูปแบบของความจริง ความหมาย และข้อมูล
  2. บุคคล (People) ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อสนเทศและข่าวสาร เป็นคณะบุคคลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ได้แก่ ครู นักการศึกษา นักวิชาการ
  3. ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเตรียมงาน ปรับปรุง ผลิต ดำเนินการประเมินผลและพัฒนา เพื่อให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ
  4. วัสดุ(Material) ได้แก่สิ่งของ นิยมเรียนว่า software มี 2 ประเภท คือก ประเภทที่ที่บรรจุหรือบันทึกข่าวสารที่จะต้องถ่ายทอดด้วยเครื่องมือ เช่น แผ่นเสียง ฟิลม์สตริป สไลด์ ภาพยนตร์ วิดิโอเทป ไมโครฟิลม์ ไมโครพิช ฯลฯข ประเภทที่ตัวของมันเองใช้ได้ และไม่ต้องพึ่งเครื่องมือ เช่น แผนที่ ลูกโลกหนังสือ ของจริง ของจำลอง ฯลฯ เป็นต้น
  5. เครื่องมือ (Devices) เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นตัวถ่ายทอดข่าวสารที่บรรจุหรือบันทึกไว้ในวัสดุ (นิยมเรียกว่า Hardware) ส่วนมากจะเป็นเครื่องกลไก ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิค บางอย่างก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องกลไกที่ใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องอิเลคทรอนิค ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพ เครื่องฉายภาพทึบแสง กล้องถ่ายรูป-ถ่ายภาพยนตร์-โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ และอ่านไมโครฟิล์ม/ไมโครพิช กระดานดำ ป้ายนิเทศ
  6. เทคนิค (Techniques) เป็นกลวิธีในการถ่ายทอดข่าวสารหรือเสนอเนื้อหาวิชา-ความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้แก่ก. เทคนิคทั่วไป (Gerneral Technique) ได้แก่ เทคนิคการสอนแบบต่างๆ เช่น การสาธิต การสังเกต การอภิปราย การแสดงนาฎการ การบรรยาย การสาธิต การฝึกปฏิบัติการเรียน แบบแก้ปัญหา หรือแบบค้นพบและแบบสอบสวน และสืบสวน การเรียนการสอนแบบโปรแกรม สถานการจำลอง เกมต่างๆ การเรียนการสอนแบบโครงการ ฯลฯข. เทคนิคการใช้ทรัพยากร (Resource-based Techniques) ได้แก่ การศึกษานอกสถานที่ การใช้ทรัพยากรชุมชน การจัดห้องเรียนค. เทคนิคการใช้วัสดุและเครื่องมือ (Material/devices-based Techniques) เป็นเทคนิคของการใช้วัสดุและเครื่องมือในการจัดการศึกษา และการเรียนการสอนเช่น ใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการเรียนการสอนใช้บทเรียนแบบโปรแกรมตลอดจน เทคนิคการเสนอเนื้อหาวิชาด้วยวิธีการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ด้วยวิธีการเสนอที่ดีเช่น ใช้วิธีบังภาพบางส่วนที่ยังไม่ใช้ก่อนเมื่อใช้จึงเปิดส่วนนั้นออกมา หรือเทคนิคการใช้สื่อประสมเพื่อให้ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดที่กระจ่างจากตัวอย่าง หรือการแสดงด้วยสื่อหลายชนิดง. เทคนิคการใช้บุคคล (People-based Technique) ได้แก่ เทคนิคในการจัดบุคคลให้เหมาะสมกับงาน เช่น การสอนเป็นคณะ เทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ หรือพลวัตรของกลุ่ม การสอนแบบซ่อมเสริม ตัวต่อตัว หรือการสัมมนา ฯลฯ เป็นต้น


สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งแวดล้อมในการเรียนอย่างหนึ่ง ควรจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน เพื่อที่จะประกอบการศึกษา ค้นคว้า หรือการเรียนในรูปแบบต่างๆ


4.ผู้เรียน (Learner)


จุดหมายปลายทางรวมของเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ที่ผู้เรียนและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นสิ่รงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจลักษณะของผู้เรียนซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะ ความแตกต่างระหว่างบุคคลของแต่ละคน อันจะทำให้เราสามารถที่จะออกแบบระบบการเรียนการสอน ตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอน หรือสนองวัตถุประสงค์ผู้เรียน ได้ให้บรรลุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีสิ่งที่จะต้องเข้าใจในตัวผู้เรียนหลายประการ เช่น เกี่ยวกับอายุ เพศ ระดับไอคิว ประสบการณ์เดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติระดับความสามารถในการอ่าน คะแนนการทดสอบสุขภาพทางด้านการฟัง การพูดมีความบกพร่อง ทางด้านกายภาพอื่น ๆ บ้างหรือไม่ สุขภาพจิต สุขภาพทางร่างกายโดยทั่วไป ความสนใจพิเศษ งานอดิเรก ความคล่องแคล่วในภาษา ข้อมูลเกี่ยวกับสังคม สัมพันธ์ของผู้เรียน สภาพทางครอบครัวอยู่ในชนบทหรือเมือง ความเจริญก้าวหน้าของการเรียนในวิชาต่างๆ แบบวิธีการเรียน เรียนเร็วช้า ความตั้งใจ เป็นแบบเป็นแผน หรือแบบยืดหยุ่น แบบแนะแนว หรือแบบเรียนได้ด้วยตนเอง ลักษณะงานและการประกอบกิจที่เหมาะสม ความสนใจในวิชาชีพ ทักษะการอ่านภาพ และการฟังความ ฯลฯ เป็นต้น




Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand