ลักษณะสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต
การศึกษาตลอดชีวิตจึงเป็นสิ่งที่มีควบคู่กับสังคมมนุษย์ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิตได้ดังนี้
- การศึกษาตลอดชีวิต เป็นการศึกษาของทุกคนตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจากเด็กถึงวัยชรา โดยมีจุดหมายเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงต่าง ๆ ของชีวิต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ทุกคนต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อปรับตนเองให้ก้าวทันในยุคของโลกาภิวัฒน์
- กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำเป็นต้องบูรณาการการเรียนรู้ทั้ง ในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และ การเรียนรู้ตามอัธยาศัย กล่าวคือ มนุษย์เรียนรู้จากกระบวนการสังคมประกิต (Socialization) นั่นคือ เรียนรู้จากครอบครัว จนมาถึงการเรียนรู้จากสถาบันการ
- ทุกหน่วยงานในสังคม จะเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา อาทิ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ วัด สถานประกอบการ ที่ทำงาน ชุมชน ตลอดจนสถาบันทางการศึกษา องค์กรต่าง ๆ อาสาสมัคร ฯลฯ ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมการศึกษาของแต่ละสถาบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ศักยภาพของมนุษย์ ตลอดจนสนองความต้องการเรียนรู้ของบุคคลวัยต่าง ๆ
- รูปแบบกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต ต้องยึดหลักแห่งความเสมอภาค ยืดหยุ่นหลากหลาย ปรับเปลี่ยน ได้ตามสถานการณ์ ความเหมาะสม และสามารถสนองความต้องการของผู้เรียนทุกระดับ ยุทธศาสตร์ในการจัดกิจกรรมนั้นสามารถทำได้หลาย ๆ วิธี หรือผสมผสานบูรณาการ โดยใช้สื่อประเภทต่าง ๆ หรือสื่อประสม เช่น เรียนรู้จากครูผู้สอน วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ แบบเรียนสำเร็จรูป หนังสือพิมพ์ การประชุม การอบรม ฯลฯ ทั้งนี้จะต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของบุคคลนั้น ๆ
- ระบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิต จะต้องดำเนินการตั้งแต่ระดับชาติ ระดับภาค และระดับท้องถิ่น โดยมีกรอบแนวคิดและโครงสร้างในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกัน ตั้งแต่นโยบาย จุดมุ่งหมาย กลุ่มเป้าหมาย รูปแบบการจัด การวางแผน โครงสร้างการจัดองค์กร การบริหารงาน และการจัดการ ตลอดจนการจัดกิจกรรมที่ต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ หลักสูตร ยุทธศาสตร์ในการเรียนรู้ สื่อการวัดผล ประเมินผล เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ