เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล รวมถึงการเผยแพร่สารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ IT
เทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากการรวมตัวของ2 องค์ประกอบหลัก คือ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร(เทคโนโลยีเครือข่าย และเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล) เข้าด้วยกัน
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะเทคโนโลยีในระบบดิจิตอลซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการเริ่มต้นมาจากทรานซิสเตอร์ (Transistor) สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) จนถึงวงจรรวมสารกึ่งตัวนำขนาดใหญ่มาก (Very large scale integration (VLSI) semiconductors) หรือที่รู้จักในชื่อของ IC(integrated circuit) หรือ microcircuit หรือ microchip หรือ silicon chip หรือ chip
พัฒนาการนั้นส่งผลให้มีการเพิ่มอัตราส่วนของราคา และคุณภาพรวมทั้งขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงแต่มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น โดยอัตราส่วนของราคาและคุณภาพ (Performance and Price Ratio) ดังกล่าวโดยเฉลี่ยแล้วจะมีการเพิ่มขึ้นทุกๆ 18 เดือน ส่งผลให้สถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture) เปลี่ยนจาก host-based time sharing ไปยัง networked client-server systems เช่นเดียวกับที่ข้อจำกัดในการเก็บ (Storage) และการส่งผ่านข้อมูล (Transmission) ลดลงไปทุกขณะ
เทคโนโลยีการสื่อสาร
- เทคโนโลยีเครือข่าย โดยเฉพาะเครือข่าย Integrated services digital network : ISDN ที่วางมาตรฐานสำหรับการรวมเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายข้อมูลที่เคยแยกกัน บริการเสียงและข้อมูลจะถูกรวม (Integrated) บนเครือข่าย ISDN เนื่องจากทั้งเสียงและข้อมูลจะได้รับการแปลงเป็นดิจิตอลบิต (Digital Bit) เช่นเดียวกัน ส่งผลให้ข้อจำกัดในการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์หมดไป ผู้ใช้สามารถพูดคุยและส่งข้อมูลจำนวนมากบนสายเดียวกัน ประกอบกับการที่เครือข่ายดังกล่าวใช้เทคนิคการส่งผ่านข้อมูลและการสลับสายที่ก้าวหน้าที่เรียกว่า Asynchronous Transfer Mode : ATM จะส่งผลให้บริการสื่อมัลติมีเดียในระบบดิจิตอล (Digitized multi-media) ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล (Telecommunications Transmission Technology) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาให้สามารถรองรับการส่งผ่านข้อมูลทั้ง ปริมาณของข้อมูล ความเร็ว การผนวกรวมช่องสัญญาณร่วมกัน เป็นพัฒนาการมาตั้งแต่เทคโนโลยีสัญญาณคลื่นความถี่ เทคโนโลยีไมโครเวฟ เทคโนโลยีดาวเทียม จนมาถึงเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้วนำแสง ล้วนแต่ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเคเบิลใยแก้วนำแสงหนึ่งใยแก้ว สามารถส่งผ่านสัญญานคู่การสื่อสารโทรศัพท์จำนวน 30,000คู่สัญญาณได้พร้อมกันในเวลาเพียงแค่ 0.1 mm in diameter ซึ่งในสายเคเบิลเส้นหนึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยแก้วมากมาย
โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่ทันสมัยจะประกอบไปด้วยเครือข่ายหลัก 6 เครือข่าย ดังต่อไปนี้
- เครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน (Public Telephone Network)
- เครือข่ายการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular and other mobile communications networks)
- การแพร่สัญญาณโทรทัศน์ (Terrestrial broadcast television)
- เครือข่ายเคเบิลทีวี (Cable television networks)
- บริการดาวเทียมส่งตรงถึงบ้าน (Direct to home (DTH) satellite services)
- เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)
นักวิชาการ ในสหรัฐฯ ได้ให้ความหมายของคำว่า “โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ” ใน “The National Information Infrastructure, Agenda for Action” (1993) ไว้ว่า
- เครือข่ายโทรคมนาคมนับพันที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ (Interconnected) และใช้ร่วมกันได้ (Interoperable)
- ระบบคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ โทรสาร โทรศัพท์ และเครื่องมือการสื่อสารอื่นๆ
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บริการสารสนเทศ (Information Services) และฐานข้อมูล (Databases) เช่น ห้องสมุด เป็นต้น
- บุคลากรที่ได้รับการอบรมที่สามารถสร้าง บำรุงรักษาและสามารถใช้ระบบที่กล่าวมาได้ โครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐจะเปรียบเสมือนรังผึ้ง ซึ่งถือเป็นต้นแบบของสังคมสารสนเทศในอนาคต
- เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพ, กล้องถ่ายภาพดิจิตอล, กล้องวีดีทัศน์ เป็นต้น
- เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะอยู่ในรูปสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น บัตรเอทีเอ็ม แผ่น CD / DVD, ม้วนเทปบันทึก, Flash memory , Harddisk เป็นต้น
- เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
- เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
- เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม เครื่องอัดสำเนาดิจิตอล
- เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีนั้นมีความสำคัญมากกว่าเทคโนโลยีอื่นใดที่มนุษย์ เคยคิดค้นขึ้น แม้โดยพื้นฐานแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศจะไม่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงอย่างเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ไม่ทำให้โลกร่ำรวยด้วยอาหารเหมือนเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร และไม่อาจทำให้มนุษย์มีชีวิตยืนยาวไม่เจ็บป่วยเหมือนเทคโนโลยีการแพทย์ แต่เทคโนโลยีทั้งหลายที่ระบุมานี้ล้วนแล้วแต่พัฒนาก้าวหน้ามาถึงระดับนี้ได้ เพราะมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นรากฐาน หากขาดซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว เทคโนโลยีต่าง ๆ จะไม่มีความก้าวหน้ามากดังที่เป็นในปัจจุบัน (ครรชิต มาลัยวงศ์: 4-5)