วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

7.5 ลักษณะเฉพาะของสารสนเทสเพื่อการเรียนรู้

0 comments
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน จัดการ และใช้ง่านร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

 
อิทธิพลของตัวแปรภายนอกจะมีผลต่อความเชื่อ ทัศนคติ และความสนใจที่จะใช้เทคโนโลยี หรือ คอมพิวเตอร์ (Davis et al. 1989, Legris et al. 2003). ความเชื่อในขั้นต้น 2 อย่างที่ส่งผลต่อการนำระบบมาใช้คือ การรับรู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับ จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นระบบที่ง่ายต่อการใช้งาน สามารถแบ่งเบาภาระงานได้ สะดวกสบายขึ้น (Davis 1989,Davis et al. 1989, Igbaria and Tan 1997).

 
แนวคิดดังกล่าวถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง เป็นแบบแผนในการตัดสินใจที่ประสบผลสำเร็จ ในการพยากรณ์การยอมรับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของแต่ละบุคคล ในเรื่องของประโยชน์ที่เขาจะได้รับ และการใช้งานที่ง่ายจะก่อให้เกิดพฤติกรรมในการสนใจที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้มีการนำมาใช้และยอมรับในเทคโนโลยี (Davis 1989, Davis et al. 1989, Adams et al. 1992, Venkatesh and Davis 1996). เพราะความมีประโยชน์จะเป็นตัวกำหนดการรับรู้ในระดับบุคคล คือ แต่ละคนก็จะรับรู้ได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของเขาได้อย่างไรบ้าง ส่วนความง่ายในการใช้ จะเป็นตัวกำหนดการรับรู้ในแง่ของปริมาณหรือความสำเร็จที่จะได้รับว่าตรงกับที่ต้องการหรือไม่ งานจะสำเร็จตรงตามที่คาดไว้หรือไม่ (Davis 1989,Davis et al.1989, Venkatesh and Davis 1996).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 ได้บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรา 81 ที่เน้นให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมให้ประชาชน เกิดความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งเป็นที่มาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ คือ (1) ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทย (2) ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อความเข้มแข็งของคนไทย (3) ปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ยุคโลกาภิวัฒน์ (4) ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคมไทย โดยเฉพาะการปฏิรูปการเรียนรู้ตามข้อ (3) และ (4) จะเป็นไปได้นั้นจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยียุคสังคมข่าวสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อหลัก

 
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี (Characteristics of Information)
สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ (Alter 1996 : 170-175, Stair and Reynolds 2001 : 6-7, จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ 2544 : 12-15, ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล 2545 : 41-42 และทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ 2545 : 12-15)

  1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
  2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตาม ความต้องการของผู้ใช้
  3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
  4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
  5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
  6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
  7. ต้องมีความยึดหยุ่น (Flexible) สามารถในไปใช้ในหลาย ๆ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
  8. สารสนเทศที่ดีต้องมีรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
  9. สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับความต้องการ (Relevant/Precision) ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
  10. สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น เป็นสารสนเทศที่ได้มาจากกรรมวิธีรวบรวมที่น่าเชื่อ ถือ หรือแหล่ง (Source) ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
  11. สารสนเทศที่ดีควรมีความปลอดภัย (Secure) ในการเข้าถึงของผู้ไม่มีสิทธิใช้สารสนเทศ
  12. สารสนเทศที่ดีควรง่าย (Simple) ไม่สลับซับซ้อน มีรายละเอียดที่เหมาะสม (ไม่มากเกินความจำเป็น)
  13. สารสนเทศที่ดีต้องมีความแตกต่าง หรือประหลาด (Surprise) จากข้อมูลชนิดอื่น ๆ
  14. สารสนเทศที่ดีต้องทันเวลา (Just in Time : JIT) หรือทันต่อความต้องการ (Timely) ของผู้ใช้ หรือสามารถส่ง ถึงผู้รับได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
  15. สารสนเทศที่ดีต้องเป็นปัจจุบัน (Up to Date) หรือมีความทันสมัย ใหม่อยู่เสมอ มิเช่นนั้นจะไม่ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
  16. สารสนเทศที่ดีต้องสามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable) หรือตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่ง ได้ว่ามีความถูกต้อง

 
นอกจากนั้นสารสนเทศมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากสินค้าประเภทอื่น ๆ 4 ประการคือ ใช้ไม่หมด ไม่สามารถ ถ่ายโอนได้ แบ่งแยกไม่ได้ และสะสมเพิ่มพูนได้ (ประภาวดี สืบสนธ์ 2543 : 12-13) หรืออาจสรุปได้ว่าสารสนเทศ ที่ดีต้องมีคุณลักษณะครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเวลา (ทันเวลา และทันสมัย) ด้านเนื้อหา (ถูกต้อง สมบูรณ์ ยึดหยุ่น น่าเชื่อถือ ตรงกับ ความต้องการ และตรวจสอบได้) ด้านรูปแบบ (ชัดเจน กะทัดรัด ง่าย รูปแบบการนำเสนอ ประหยัด แปลก) และด้าน กระบวนการ (เข้าถึงได้ และปลอดภัย)

 
เหตุผล 5 อันดับแรกของความสำเร็จ
  • ผู้ใช้มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • ได้รับการสนับสนุนการจัดการจากผู้บริหารระดับสูง
  • กำหนดความต้องการที่ชัดเจน
  • การวางแผนอย่างเหมาะสม
  • การคาดหวังที่สามารถเป็นจริงได้
เหตุผล 5 อันดับแรกของความล้มเหลว
  • ขาดบุคลากรในการให้ข้อมูล
  • กำหนดความต้องการที่ไม่สมบูรณ์
  • มีการเปลี่ยนความต้องการ
  • ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง
  • เทคโนโลยีที่ขาดประสิทธิภาพ

Leave a Reply


test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand