1. เตรียมการก่อนใช้สื่อ
โดยศึกษารายละเอียดจากสื่อที่จะนำไปใช้กับผู้เรียนก่อนล่วงหน้า ซึ่งได้แก่การศึกษาเนื้อหาของสื่อว่าถูกต้อง เนื้อหาครบถ้วนตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ เนื้อหาสามารถที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงในชีวิตจริงของผู้เรียนได้มากน้อยเพียงใด ตลอดจนศึกษาวิธีการถ่ายทอด วิธีการใช้งานและองค์ประกอบทั้งหมดก่อนทำการใช้จริงๆ
2. จัดสภาพแวดล้อมในการใช้สื่อ
โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆอาทิ สถานที่จัดตั้ง หรือวางสื่อ ผลกระทบด้านแสงสว่าง ผลของเสียง ที่มีต่อผู้เรียน นอกจากนี้ หากต้องใช้ร่วมกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี ครูผู้สอนต้องเตรียมความพร้อมในด้านอุปกรณ์ ระบบ และวิธีการใช้สื่อให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการสอนจริง
3. เตรียมความพร้อมของผู้เรียน
ครูผู้สอนต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสื่อและเครื่องมือที่ใช้ร่วม ควรชี้แนะถึงสิ่งที่ผู้เรียนกำลังจะได้เรียนรู้ ตลอดจนบอก หรือกำหนดกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องทำ จึงจะเป็นส่วนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้
4. ใช้สื่อการเรียนรู้ตามวิธีการที่กำหนดไว้
ในขณะที่ดำเนินการใช้สื่อการเรียนรู้ ครูผู้สอนต้องสังเกตปฎิกริยาของผู้เรียน ว่าผู้เรียนมีการตอบสนองต่อการใช้สื่อนี้ อย่างไร อาทิ ความสนใจ ความตื่นตัวตั้งใจ การตรึงพฤติกรรมการเรียนรู้ ปฎิกริยาของผู้เรียนในเวลานั้น จะเป็นส่วนชี้วัดว่า สื่อการเรียนรู้และวิธีการนั้นมีความเหมาะสมกับผู้เรียนมากน้อยเพียงใด
5. ประเมินการใช้สื่อการเรียนรู้
ครูผู้สอนจะต้องเก็บผลการใช้สื่อ ต่อสภาพของการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีต่อวิธีการใช้สื่อการเรียนรู้ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ ว่ามีความเหมาะสมกับผุ้เรียนหรือไม่ อย่างไร โดยพิจารณาลักษณะทางกายภาพของสื่อและสาระเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามเป้าหมาย การประเมินจะช่วยในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดกาเรียนรู้ในครั้งต่อไปให้มีความเหมาะสม และสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป